หมายกำหนดการ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เนื่องในงาน “พิธีบำเพ็ญกุศลออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง อดีตเจ้าอาวาสพิชยญาติการาม วรวิหาร
ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ระหว่างวันที่ 2 – 4 พฤษภาคม 2563
*****************************
ชีวประวัติโดยสังเขป
(สมเด็จพระพุทธชินวงศ์)
***********************************
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ นามเดิม สมศักดิ์ ชูมาลัยวงศ์ ฉายา อุปสโม เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จังหวัดนครปฐม
ชาติภูมิ
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มีนามเดิมว่า สมศักดิ์ ชูมาลัยวงศ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 บิดา-มารดาชื่อนายเหลี่ยมและนางสำลี ชูมาลัยวงศ์ ชาติภูมิอยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 2 ต.ปากจั่น อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อุปสมบท
เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2504 ณ พัทธสีมาวัดละมุด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูนครวิหารคุณ (ฟัก) วัดบันได เป็นพระอุปัชฌาย์ ,พระอธิการเมี้ยน วัดละมุด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า อุปสโม มีความหมายว่า ผู้มีจิตใจสงบในธรรมอันลึกซึ้ง
วิทยฐานะ
แผนกนักธรรม-บาลี
พ.ศ. 2506 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
พ.ศ. 2515 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เทียบเท่าปริญญาตรี
แผนกสามัญ
พ.ศ. 2494 สำเร็จประถมศึกษาปีที่ 4
พ.ศ. 2519 สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์เอเชียโบราณ) จากมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย
พ.ศ. 2519 สำเร็จปริญญาดุษฎีบัณฑิต (ประวัติศาสตร์เอเชียโบราณ) จากมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย
ตำแหน่งการปกครอง
พ.ศ.- กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)
พ.ศ. 2554 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
พ.ศ.- เจ้าคณะภาค 1
พ.ศ.-เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม
พ.ศ.-หัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ 1
พ.ศ.-คณะกรรมการพิจารณางบประมาณศาสนสมบัติกลางประจำ (พศป.)
พ.ศ.-กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์
พ.ศ. 2556 เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ตำแหน่งการศึกษา
พ.ศ. 2527 – 2530 เป็นคณบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2536 – อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
พ.ศ. 2551 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชาภาษาบาลี ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (11 ธันวาคม 2551)
ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ. 2516 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระศรีสุทธิพงศ์
พ.ศ. 2531 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติโมลี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2536 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปริยัติโมลี ศรีปาพจนานุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี
พ.ศ. 2541 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโมลี ศรีปริยัตโยดม วิกรมธรรมธารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี
พ.ศ. 2548 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏที่ พระพรหมโมลี ศรีสังฆโสภณ วิมลสีลาจารนิวิฐ พิพิธคัมภีร์ปริวรรตธารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม
พ.ศ. 2554 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ พรหมวิหารธำรงวราธิมุต วิสุทธิศีลาจารนิวิฐ ภาวนากิจสุวิธาน ไพศาลหิตานุหิตดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี
สมณศักดิ์ต่างประเทศ
พ.ศ. 2556 สมณศักดิ์ที่ อัครมหาบัณฑิต ณ หอศาสนวิมาน กรุงเนปิดอร์ ประเทศพม่า โดยมี พลเอกเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า เป็นประธานมอบถวาย มีรองประธานาธิบดี และเจ้าหน้าของภาครัฐ ร่วมพิธี วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นพระนักวิชาการ เป็นพระสมเด็จรูปแรกที่เป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชาบาลี ของประเทศไทย ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านและได้ตีพิมพ์แล้ว อาทิ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎกา, ปริวรรตแปลปทานุกรมพระไตรปิฎกฉบับบาลี-ไทย เป็นต้น ล้วนได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์ทั้งสิ้น
*****************
Leave a Reply