หลังจากเมื่อวานนี้สื่อออนไลน์และสำนักข่าวศาสนาได้เผยแพร่ “พระราชปุจฉา” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบทูล สมเด็จพระสังฆราชและพระเถรานุเถระ ว่า “จะส่งเสริมการเรียนการสอนพระบาลีอย่างไรให้เข้าถึงพระไตรปิฎก” นั้น ได้ส่งผลให้ คณะสงฆ์และนักวิชาการชาวพุทธตื่นตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาการศึกษาพระบาลีของประเทศไทยถูกมองว่า เป็นระบบท่องจำ รักษาไว้ซึ่งเพียงภาษาบาลีศึกษาแบบผิวเผิน ไม่ถึงแก่นแท้ของพระไตรปิฎก และทัั้งยังถูกมองว่าไม่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบัน
วันนี้ (22 เม.ย.64) รองศาสตราจารย์ ดร.เวทย์ บรรณกรกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จ.นครปฐม ซึ่งเป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านบาลี พุทธศาสตร์และคัมภีร์เก่าด้านพระพุทธศาสนา ทั้งเป็นลูกศิษย์ผู้สนองงานแปลบาลีและคัมภีร์เก่าสนองงาน อดีตสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติ มาต่อเนื่อง ได้โพสต์กราบนมัสการพระมหาเถระ ดังนี้ว่า
กราบนมัสการพระมหาเถระ เกล้า ฯ ในฐานะอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม ขอถวายข้อมูลการเรียนการสอนภาษาบาลี เพื่อเข้าถึงบาลีพระไตรปิฎก เพื่อมิให้กระทบเบื้องพระยุคลบาท ในการเขียนนำเสนอข้อมูลดังกล่าวนี้ จึงไม่มีเนื้อหาส่วนใด ที่เขียนระบุพระราชปุจฉาตามที่มีเผยแผ่นั้น ข้อมูลที่เกล้า ฯ นำเสนอนี้เป็นข้อมูลหลักสูตรสาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม ตามแนวดำริของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ซึ่งเกล้า ฯ และคณาจารย์ ผู้บริหาร เชื่อว่า เป็นวิธีการศึกษาภาษาบาลีที่ควรจะจัดให้แพร่หลาย
ไม่มีหน่วยงานใดของคณะสงฆ์ รับเรื่องนี้โดยตรง จึงขอถวายผ่านหน้า Facebook Wate Bunnakornkul กราบนมัสการด้วยความเคารพ
สำหรับวิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ผ่านมามีผลงานที่ดียิ่งในการสนับสนุนการศึกษาบาลีและพระไตรปิกฎ รวมทั้งพระวิปัสสนาจารย์ ในยุคสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ยังมีชีวิตอยู่ได้ส่งพระนิสิตไปศึกษาและปฎิบัติพระกรรมฐานในพม่าอย่างน้อย 7 เดือน มีการแปลพระคัมภีร์เก่า ๆ ออกมาเผยแพร่ต่อเนื่อง
Leave a Reply