เรื่องเล่าครอบครัวชาว “โคก หนอง นา” (ตอน 3) การเดินทางทัวร์อีสานภายใต้การสนับสนุนของกรมการพัฒนาชุมชนของผู้เขียน เพื่อไปดูและเขียนออกมาเป็น “เรื่องเล่า” การดำเนินกิจกรรม โคก หนอง นา ของกรมการพัฒนาชุมชน ทำให้รู้ว่า คนอีสาน มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ กินง่าย อยู่ง่าย กินทุกอย่างที่อยู่ในธรรมชาติ วิถีชีวิตจึงอยู่แบบความเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องมีอะไรมาปรุงแต่งให้ชีวิตผิดธรรมชาติ และวิถีชีวิตผูกพันกับเกษตร “คนอีสาน” เป็นคนอ่อนโยน ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา พระดัง ๆ สายกรรมฐานส่วนใหญ่จึงมาจากอีสาน “จังหวัดศรีสะเกษ” เป็นจังหวัดเป้าหมายหนึ่งของผู้เขียนที่จะไปดูกิจกรรม “โคก หนอง นา” โดยเฉพาะที่อำเภอปรางค์กู่ ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ในอดีตเป็นพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งมากที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษ และมีความแห้งแล้งในลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ทั้งก่อนปี 2560 ติด 1 ใน 10 จังหวัดที่ประชากรยากจนที่สุดในประเทศไทยด้วย “จังหวัดศรีสะเกษ” แบ่งการปกครองออกเป็น 22 อำเภอ 204 ตำบล 2,633 หมู่บ้าน เดือนธันวาคม พ.ศ.2563 จังหวัดศรีสะเกษ มีประชากร รวมทั้งสิ้น 1,472,859 คน เป็นชาย 734,405 คน เป็นหญิง 738,454 คน ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เรียกว่า อีสานใต้ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 571 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย จังหวัดอุบลราชธานี และกับจังหวัดสุรินทร์ มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า “หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าวหอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี” “พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส” (รศ.ดร.) ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเว๊บไซต์ข่าวศาสนาและศิลปวัฒนธรรม “เดอะบุ๊ด” จัดให้เป็น 1 ใน 6 รูป ที่เป็นพระสงฆ์ต้นแบบ : เกษตรทฤษฎีใหม่สู่ “โคก หนอง นาโมเดล” ที่นำศาสตร์ของพระราชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือจะเรียกอะไรก็ตามที “หันกลับไปพัฒนา” บ้านเกิดถิ่นกำเนิดด้วยผลิกฟื้นนำทีมให้ชุมชนชาวบ้านหันกลับไปสู่สังคมการพึ่งพาคนเอง ไม่ยอมศิโรราบต่อ “ระบบทุนบริโภค” แบบไร้จุดหมาย ที่นับวันนอกจากทำลาย “สุขภาพ – ความเป็นอิสระในตัวมนุษย์” ทำงานระบบธรรมชาติแล้ว ยังทำลายระบบการพึ่งพาตนเอง ระบบเกื้อกูล ที่มนุษย์ควรจะเป็นระหว่างมนุษย์ด้วยกันอีกด้วย ซ้ำที่น่าสนใจยิ่งกว่า พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ในแวดวงวิชาการสงฆ์ถือว่าเป็น “พระดาวรุ่ง” มีผลงานทางวิชาการที่โดดเด่นและเส้นทางเติบโตทางหน้าที่การงานก็ก้าวหน้า อะไรคือเหตุจูงใจให้ท่าน หันกลับไปทนตากแดก ตากฝน กลับไปพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่แห้งแล้ง รวมทั้งกลับไปปรับเปลี่ยนวิถีคิด วิธีทำงานของคนในชุมชน ด้วยการทำ “โคก หนอง นา” พระคุณเจ้าเห็นโอกาสอะไรจาก โคก หนอง นา ?? จากข้อมูลของพัฒนาการชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ “โคก หนอง นา” ทั้งหมด 1,550 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 1 ไร่มีจำนวน 680 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 3 ไร่ มีจำนวน 870 ครัวเรือน อันนี้รวมทั้งงบปกติและงบเงินกู้..” อันนี้ไม่นับอีกหลายแปลงที่ทำโคก หนอง นา ที่ไม่ได้ใช้งบของกรมการพัฒนาชุมชน อย่างเช่น พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส เป็นต้น หลังจากขับรถออกจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จังหวัดสุรินทร์ ของ พระอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ ใช้เวลาไม่นานก็ถึงสถานที่เป้าหมาย “โคก หนอง นา สันติศึกษาโมเดล จังหวัดศรีสะเกษ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานกายใจ..” “เราเป็นพระบ้านนอก วิถีคิดผูกพันกับชีวิตคนบ้านนอก เวลาเราถามชาวบ้านไปไหน ไปนา ไปไร่ ไปเลี้ยงวัว ชาวบ้านเขาอยู่กับทุ่ง อยู่กับการเกษตรไร่ นา ในยุคพุทธกาลก็เหมือนกันพระพุทธเจ้า ไปเทศนาสั่งสอนชาวนา ไปถึงที่เลย จะเรียกคนให้มาฟังธรรม ให้เข้าวัดคงยาก ก็ต้องลงไปหาพวกเขาไปแสดงธรรม ยิ่งหลัง ๆ มานี้อาตมาตามดูการทำงานของ คุณโจน จันได ยิ่งสนใจเลย ความจริงอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ ส่งข้อความหาอาตมาเพื่อชวนทำโคก หนอง นา มา 5 ปีแล้ว แต่ไม่รู้ ไม่ได้อ่าน ตอนหลังเจอท่าน ๆ บอกจึงรู้ ตรงนี้ก็ได้อาจารย์สังคมมาช่วยวางแนวคิดให้ด้วย สำหรับอาตมาเอง เริ่มแรกปลูกผัก ปลูกต้นไม้ที่วิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ มจร ก่อน รู้สึกชอบ เพราะเราเป็นพระต่างจังหวัด มาจากบ้านนอก พี่น้องเราก็ทำงานแบบนี้ จริง ๆ ชอบมานานแล้ว ประจวบกับเจอการแพร่ระบาดของโควิดด้วย จึงได้มาลงมือทำโคก หนอง นาได้เต็มที่ โดยใช้ที่ดินนาของพ่อแม่ประมาณ 22 ไร่นำร่องให้กับชุมชน หลังจากเราทำก็มีบรรดาลูกศิษย์ทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ ผู้นำท้องถิ่น แถวนี้มาร่วมกันมาก ก็ถือว่าเป็นความโชคดีของอาตมา ที่พ่อแม่มอบที่ดินให้ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ชาวบ้านรอบ ๆ เรานี้ก็เอาด้วย ผู้นำชุมชนท้องถิ่นเอาหมด ตอนนี้ผลพลอยได้ราคาที่ดินบริเวณนี้พุ่งพรวดเลย..” พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส กล่าวกับผู้เขียนช่วงหนึ่งของการสนทนา พร้อมกับพาชมพื้นที่ ที่ตอนนี้มีขุดบ่อหลายบ่อ มีคลองใส้ไก่ เชื่อมต่อกับบ่อใหญ่อีกหลายบ่อซึ่งส่วนใหญ่มีน้ำผุดขึ้นทุกบ่อ มีเรือนรับรองผู้มาเรือน มีบ่อบาดาล และมีปลูกป่าไผ่ ผลไม้ ไม้เศรษฐกิจ ตามศาสตร์ของพระราชาป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง มีระบบน้ำวางไว้ทั่วทั้งพื้นที่ น้ำมันมีอยู่ทุกที่ในบ้านเรา อาตมาชี้ให้ชาวบ้านดูใบไม้ ให้เขาดูต้นไม้ มันมีเขียว ทำไมมันสดแสดงว่าใต้ดินมันต้องมีน้ำ เวลาขุดต้องขุดให้ถึงน้ำ มิใช่ขุดแค่ 3-4 เมตรมันไม่ถึงน้ำ โดยทั่วไปชาวบ้านเขาจะแบ่งพื้นที่น้ำ 30 โคก 30 นาผัก 30 แต่ที่นี่อาตมาบอกไม่ได้ เพราะบ้านเรามีน้ำน้อย เราต้องการน้ำมาใช้ อาตมาเลยอัดเข้าไปถึง 45 ดันน้ำเข้าไปเลย 45 อยู่ได้เลยแหละ นี่เราก็ต้องปรับให้เข้ากับธรรมชาติให้เราได้ทั้งหมด “..อาตมาตั้งใจจะพัฒนาสถานที่ตรงนี้ภายใต้ชื่อโคก หนอง นา สันติศึกษาโมเดล จังหวัดศรีสะเกษ มีเป้าหมายอยู่ 3 ประการ คือ หนึ่ง เป็นโรงครัว เป็นตลาดสด ป้อนอาหารให้กับชุมชนและศูนย์อบรมซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่ ณ วัดท่าคอยนาง ตำบลสวาย อำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งตอนนี้กำลังสร้างอาคารพระภิกษุ ภิกษุณี เรือนอุบาสก อุบาสิกา พร้อมทั้งศาลาปฎิบัติธรรม สอง เพื่อให้ดูเป็นตัวอย่าง ธรรมะแรงบันดาลใจสำหรับคนที่อยากจะทำ มีที่ 1 ไร่ หรือ 2 ไร่ อยากจะทำก็มาศึกษาดูงานได้ที่นี่ได้เลย จะได้รู้ว่ามันเลี้ยงตัวเองได้ มันพึ่งพาตนเองได้ และ สาม คือ เป็นสถานที่ฝึกอบรมทั้งเรื่องจิตใจและเรื่องอาชีพ เป็นธรรมะรีสอร์ท ทำเอาไว้สำหรับคนที่อยากจะอยู่กับธรรมชาติจริง ๆ เป้าหมายหลัก จึงอยู่ 3 ประการนี้..” พระมหาหรรษา กล่าวจุดมุ่งหมายและแรงบันดาลใจการทำโคก หนอง นา ช่วงบ่าย ๆ มีคณะนักศึกษาระดับปริญญาเอก โครงการสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มาขอพบ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส โดยมีชาวบ้านมาร่วมประชุมด้วย พอจับใจความการประชุมว่าจะร่วมมือกับชาวบ้านตั้ง “วิสาหกิจชุมชน” เพื่อปลูกกัญชาและใช้แบรนด์ของตนเองโดยมีโคก หนอง นา สันติศึกษาโมเดล เป็นฐานต่อยอด ทำให้นึกถึงทฤษฎีบันได 9 ขั้น ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ว่า พอกิน, พอใช้,พออยู่, พอร่มเย็น, ทำบุญ, ทำทาน, เก็บรักษา, ขาย และ การสร้างเครือข่ายแบบพึ่งพาตนเอง เพราะฉะนั้นการ ทำโคก หนอง นา หากคิดต่อยอดไม่เป็น ได้ดีก็แค่ปลูกผักกินในครัวเรือนที่ปลอดสารพิษซึ่งสร้างความมั่นคงระดับครัวเรือนได้ดี แต่หากให้ดียิ่งกว่าคือกลุ่มพวกเราชาวครอบโคก หนอง นา ต้องร่วมด้วยช่วยกันต่อยอดให้ถึงทฤษฎีขั้นที่ 9 ให้ครบทุกจังหวัด ทุกอำเภอ และทุกตำบล เมื่อนั้น ครอบครัวพวกเราก็จะเข้มแข็ง พวกเราก็จะมั่นคง และจะมั่งคั่งด้านอาหารแบบยั่งยืน สถานการณ์โควิดแบบนี้ปิดประเทศ ปิดหมู่บ้าน พวกเราครอบครัวชาวโคก หนอง นา ก็จะอยู่รอด ปลอดภัยแน่นอน!!! จำนวนผู้ชม : 300 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ตม.ชลบุรีบุกจับพระปลอม!! เหิมเกริมสร้างที่พักถาวรออก “เรี่ยไรเงิน-บิณฑบาต” อุทัย มณี ธ.ค. 01, 2023 วันที่ 1 ธันวาคม 66 วานนี้ พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.สตม.… 26มี.ค.นี้! ลุ้นผลสอบบาลีทั่วประเทศ พบจำนวนผู้เข้าสอบลดลง อุทัย มณี มี.ค. 22, 2019 วันที่ 22 มี.ค.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างวันที่ 22-26 มี.ค. มีการตรวจข้อสอบบาลีสนามหลวงทุกชั้นประโยคที่ศาลาอบรมสงฆ์… รายงานพิเศษ: เปิดใจ สองนักธุรกิจสามีภรรยา “บัญชา ราษีมิน – กาญจนี ละศรีจันทร์” นักจิตอาสา โคก หนอง นา อุทัย มณี เม.ย. 22, 2021 “ผมเชื่อว่า โคก หนอง นา มันคือ ทางรอด ของโลกยุคปัจจุบัน… เลขาฯ “สมศักดิ์” แนะสร้างเครือข่าย พิธีเปิดฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลางรุ่นที่_๑๗ อุทัย มณี ธ.ค. 14, 2021 เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา… “เพชรวรรต” อธิฐานหลวงพ่อทันใจเชียงใหม่ เพื่อไทยแลนด์สไลด์ หนุนพระอยู่กับป่าใช้งบ 0 บาทปลูกป่า 1.5 แสนไร่ อุทัย มณี พ.ค. 06, 2023 “เพชรวรรต” มาเหนือเมฆ ปลูกป่า 1.5 แสนไร่ ใช้งบ 0 บาท ด้วยกลยุทธ… “พาณิชย์” ลงพื้นที่ตรวจเข้ม“ชุดสังฆทาน”ช่วงก่อน ‘วันวิสาขบูชา’ ย้ำต้องได้มาตรฐาน อย่าฉวยโอกาสปรับขึ้นราคา หากฝ่าฝืน เจอปรับ-ติดคุก อุทัย มณี มิ.ย. 01, 2023 วันที่ 1 มิถุนายน 2566 นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน… ชาว “มจร” ร่วมงานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ คับคั่ง ยกเป็น “ปูชนียบุคคล” ของมหาจุฬา? อุทัย มณี พ.ค. 02, 2024 วันที่ 2 พ.ค. 67 ณ ศาลาการเปรียญ "อุไรศรี คนึงสุขเกษม" วัดมหาจุฬาลงกรณราชาชูทิศ… มท.1 ประชุมหารือร่วมสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย และผู้ว่าฯ สระบุรี ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการจังหวัดต้นแบบ “PPP – สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ : เมืองคาร์บอนต่ำ” อุทัย มณี ต.ค. 18, 2023 วันนี้18 ต.ค. 66 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย… โหด!! ซ้อมคนตายภายในเขตวัด อุทัย มณี เม.ย. 19, 2020 จากกรณีนายยุทธนา ซ้ายซา หรือด่อน อายุ 33 ปี และน้องชาย… Related Articles From the same category “หงุดหงิด” งานวิสาขบูชาโลก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ที่ผ่านมาเห็นคณะสงฆ์และชาวพุทธหลายประเทศเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชากันอย่างยิ่งใหญ่ไม่เว้นแม้กระทั้งประเทศมาเลเซีย … ปลัดวธ.ห่วงกลุ่มเด็กและเยาวชนรับข่าวสารเชิงลบ “กระทบต่อความมั่นคงพุทธศาสนา” พร้อมมอบรางวัล “ส่งเสริมความมั่นคงพุทธศาสนา” วันที่ 25 ธันวาคม 2565 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม… ‘ธรรมกาย-อบต.คลองสาม’ ขับเคลื่อน’วัดฯ สร้างสุข วิถี 5ส’ คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ร่วมมือวัดพระธรรมกาย อบต.คลองสาม… กต.อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ร.10 ทอดถวายครั้งแรกที่เวียดนาม กต.อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ร.10 ทอดถวายครั้งแรกที่เวียดนาม… ใครสั่ง!! ตำรวจออกหมายเรียก “อดีตพระพรหมดิลก” วันที่ 5 เมษายน 65 หลังจากศาลอุทธรณ์ ยกฟ้อง พิพากษายกฟ้อง นายเอื้อน…
Leave a Reply