“อธิการบดี มจร” ชี้อดีตไทยยึดเกษตรกรรมคู่เทคโนโลยีจึงพาชาติรอด

“อธิการบดี มจร” ชี้อดีตไทยยึดเกษตรกรรมคู่เทคโนโลยีจึงพาชาติรอด ชาวมหาจุฬาต้องไม่ลืมรากเหง้า รำลึกคุณูปการล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕  เชิดชูพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ บูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่โดยพัฒนาเป็นพุทธนวัตกรรมพัฒนาทางด้านจิตใจให้เป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อรับใช้สังคม พร้อมปรับการบริหารแบบมีส่วนร่วมภาวะโลกเปลี่ยนเร็ว  รวมถึงควรพัฒนาหอบูรพาจารย์รูปแบบเสมือนจริง​    

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า วันนี้ ๑๘ก.ค.) คณาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมงานวันบุรพาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผ่านออนไลน์โปรแกรม Zoom โดยกล่าวรายงานในการจัดงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มจร ว่าสำคัญว่าเพื่อเป็นระลึกถึงบูรพาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในการทุ่มเทเสียเสียสละเพื่อการศึกษาของมหาจุฬา เป็นการให้บุคลากรของ มจร รวมถึงศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบันได้ตระหนักในคุณงามความดีของบุรพาจารย์ เป็นการระลึกผู้มีคุณูปการต่อมจร คือ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ นับว่าเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุรพาจารย์ทุกรูปท่านตั้งอดีตจนปัจจุบัน

พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานในพิธีกล่าวเปิดงานบุรพาจารย์ ความสำคัญว่า แม้ปัจจุบันจะเป็นความยากลำบากในการดำเนินชีวิตแต่ชาวมหาจุฬาฯยังมาร่วมกันผ่านออนไลน์นับว่าเป็นพลังของชาวมหาจุฬา ภายใต้คำว่า “เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคตกับการขับเคลื่อน มจร” โดยเน้นว่าชาติที่เจริญต้องไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง นอกจากไม่ลืมแล้วยังนำรากเหง้าของตนเองมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ

ในสิงคโปร์ใช้คำว่า Hear the past See the present touch the Future จึงต้องยึดศึกษาในรูปแบบแห่งความสำเร็จ ความล้มเหลว รวมถึงความกตัญญูต่อสถาบัน จะต้องไม่ลืมอดีตที่ตนเองผ่านมา ใช้รากฐานในอดีตประเทศไทยจะต้องยึดเกษตรกรรมและเทคโนโลยีควบคู่ไปด้วยกันจึงจะรอดพ้น มหาจุฬาจึงนึกถึงล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ที่ทรงสถาปนามหาจุฬาเพื่อศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง ต่อมาพระพิมลธรรมซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีคุณูปการต่อมหาจุฬาอย่างยิ่ง

จึงทำให้ถึงคำว่า “มหาจุฬางามสง่าสดชื่นกลางทะเลแห่งคลื่นลม” เป็นหนังสือของสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) หมายถึง การจัดการบริหารมหาจุฬาในอดีตที่มีความยากลำบาก ปัญหาอุปสรรคแต่สามารถดำเนินการไปได้อย่างงามสง่าสดชื่น คำว่า ทะเลแห่งคลื่นลม มองถึงวัฒนธรรมของตะวันตก จึงต้องมีความรู้ศาสตร์สมัยใหม่ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ซึ่งควรมีการบูรณาการเพื่อสอดรับการสังคมปัจจุบัน รวมถึงนโยบายของบ้านเมืองที่เป็นการบริหารบ้านเมืองไม่เป็นปกติถือว่าเป็นคลื่นลม และคณะท่าทีของคณะสงฆ์ที่มีต่อมหาจุฬาฯ ถือว่ามีความกดดันสูงมาก แต่ปัจจุบันท่าทีของคณะสงฆ์ต่อมหาจุฬาฯได้สร้างความเข้าใจอย่างดียิ่งในบทบาทหน้าที่ของมหาจุฬา

ส่วนคำว่า มหาจุฬางามสง่าสดชื่น มีความอดทนแม้ภาครัฐยังไม่ยอมรับในกฎหมายบ้านเมืองแต่ต่อมามหาจุฬาได้รับการยอมรับของบ้านเมือง มีพระมหาเถระที่ให้การสนับสนุน มหาเถรสมาคมยอมรับว่าเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปี ๒๔๙๐-๒๕๖๔ จำนวน ๗๗,๐๐๐ รูปคน รวม ๗๔ ปี โดยเริ่มจากคณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาจึงเป็นเสาร์หลักของพระพุทธศาสนาและสังคมไทยสังคมโลก ขอให้ชาวมหาจุฬาช่วยและให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่เพื่อให้เราผ่านพ้นภาวะของโรคในสถานการณ์ปัจจุบัน จึงฝากให้พวกเราจัดหลักสูตรวุฒิบัตรและประกาศนียบัตรเพื่อตอบโจทย์คนในสังคมที่มีความทุกข์ในสถานการณ์อันไม่ปกติ จากนั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อิทธิพล แก้วพิลา นายกสมาคมศิษย์เก่า มจร ท่านที่ ๑๕ ได้ประกาศรายชื่อศิษย์เกียรติคุณและศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี ๒๕๖๔ จึงชื่อแสดงมุทิตาจิตกับทุกรูปท่านในโอกาสนี้

“ดังนั้น ท่านอธิการบดีมหาจุฬาจึงเน้นย้ำถึงชาวมหาจุฬาต้องไม่ลืมรากเหง้าของตนต้องนึกถึงบุคคลผู้มีคุณูปการต่อมหาจุฬาฯ ซึ่งมหาจุฬาฯงามสง่าสดชื่นท่ามกลางทะเลแห่งคลื่นลม ในโอกาสวันบุรพาจารย์ของมหาจุฬาสถาบันการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาชั้นนำ” พระปราโมทย์ กล่าว

แนะเชิดชูพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ
ต่อจากนันช่วงบ่าย เป็นการเสวนาเรื่องบูรพาจารย์ : “เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคตกับการขับเคลื่อน มจร” ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มจร กล่าวว่า ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนามหาจุฬาให้ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง ถือว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความยิ่งใหญ่ต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ชาวมหาจุฬาจึงถือว่าความกตัญญูกตเวทีแม้เราจะอยู่ในคลื่นของทะเลแต่มีความงดงามในปัจจุบัน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเสวนาประกอบด้วย

ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ผู้ทรงวุฒิด้านพระพุทธศาสนาและผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎก กล่าวว่า มหาจุฬามีความชัดเจนมากในปัจจุบัน ไม่มีความห่วงใย แต่อดีตที่ผ่านมาเราผ่านอุปสรรคมาเยอะ ทำให้มหาจุฬามีความแข็งแกร่งมาก อนาคตจึงไม่ห่วง มหาจุฬามีความสง่างามทุกด้านในปัจจุบันและรวมถึงอนาคต อดีตเรามาจากมหาวิทยาลัยเถื่อนจนพัฒนามาสู่มหาวิทยาลัยถูกต้องตามกฎหมาย เราจึงย้อนอดีตเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เข้าใจว่ากว่าจะเป็นมหาจุฬามีลำดับขั้นตอนอย่างไร เราควรมีรูปปั้นของบุรพาจารย์แต่ละท่านว่ามีความสัมพันธ์กับมหาจุฬาอย่างไร เพื่อการศึกษาถึงบุคคลสำคัญของมหาจุฬา อดีตที่ผ่านมาต้องมีการประมวลเพื่อศึกษาค้นคว้า เราต้องไม่ลืมอดีตโดยเฉพาะบุคคลผู้มีความเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดขึ้นและพัฒนามหาจุฬา สิ่งที่สำคัญมากคือ มหาจุฬามีพระไตรปิฎกเป็นของตนเองถือว่ามีความยิ่งใหญ่มาก

คำถามว่า ทำอย่างไรเราจะเชิดชูพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาให้มีความศักดิสิทธิ์และมีความยิ่งใหญ่ เหมือนญี่ปุ่นมีพระไตรปิฎกกู้ชาติในช่วงผ่านภัยสงครามโลก โดยอาจารย์บรรจบตั้งข้อสังเกตว่า คณะครุศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะมนุษย์ศาสตร์มีความคึกคัก ส่วนคณะพุทธศาสตร์รู้สึกว่าเงียบสงบเกินไปน่าจะมีกิจกรรมสนับสนุนให้ความสำคัญพระไตรปิฎก เพราะคนสนใจมหาจุฬาเพื่อเข้ามาศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนาและพระไตรปิฎก จึงมีการแบ่งยุคของมหาจุฬาปัจจุบันเป็นยุคสืบต่อมาโดยมาถึงยุคของพระพรหมบัณฑิต เป็นยุคที่มีการพัฒนาที่เห็นได้ชัด ที่พระพรหมบัณฑิตพัฒนาสูงมากเพราะมีคนเก่งมาร่วมงาน ทำให้มหาจุฬามีความยิ่งใหญ่มากจนมหาวิทยาลัยภายนอกตกใจเพราะมีสาขาวิชากฎหมายแต่มีวิชาพระพุทธศาสนาเป็นฐาน จึงอยากให้มีหอบุรพาจารย์อย่างเป็นรูปธรรม เพราะคนโหยหาอดีตเป็นอดีตที่สร้างมูลค่า ปัจจุบันมหาจุฬามีความสง่างามอดีตจะมาสนับสนุนปัจจุบัน เพราะล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ให้มหาจุฬาศึกษาพระไตรปิฎก จึงมีพระไตรปิฎกฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

แนะมหาจุฬาต้องปรับการบริหารแบบมีส่วนร่วมภาวะโลกเปลี่ยนเร็ว

พระเมธีธรรมาจารย์, รองศาสตราจารย์ ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มจร กล่าวว่า ศึกษาประสบการณ์ในอดีตเพื่อมองอนาคตอย่างมีความเข้มแข็งและสดใส ในอดีตมองเรื่องสถาบันมหาจุฬาของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง จึงมีการพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านจิตใจ จึงมีการพัฒนาพระสงฆ์ภายใต้มหาจุฬาฝ่ายมหานิกาย ซึ่งตั้ง ณ วัดมหาธาตุ จึงมียุคของการบุกเบิกพัฒนามหาจุฬาตามยุคต่างๆ ถึงมหาจุฬาจะเริ่มต้นจากไม่มีปัจจัยเลย แต่มุ่งพัฒนาเพื่อให้กฎหมายรับรองของภาคบ้านเมือง มหาจุฬาจึงมีการเริ่มต้น บุกเบิก เจริญรุ่งเรืองมากในยุคของพระพรหมบัณฑิตซึ่งนำไปสู่ระดับโลก สิ่งสำคัญล้นเกล้ารัชกาลที่ ๑๐ ทรงให้การอุปถัมภ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ส่วนในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยสงฆ์จะปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบันท่ามกลางสถานการณ์โควิด มหาวิทยาลัยต่างๆรายได้ลดลงมีภาระเพิ่มมากขึ้น มหาจุฬาจะบริหารอย่างไรในท่ามกลางภาวะนี้ซึ่งมีความท้าทาย มหาจุฬาจะต้องบริหารแบบมีส่วนร่วม ๔ มิติ ประกอบด้วย ๑)ส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างไร ๒)ส่วนร่วมลงมือปฏิบัติอย่างไร ๓)ส่วนร่วมในผลประโยชน์อย่างไร ๔)ส่วนร่วมในการประเมินผลอย่างไร โดยยกเรื่องสามก๊กในการบริหารจัดการและการบริหารของพุทธเจ้า ในอนาคตมหาจุฬาจะอยู่อย่างไร จะต้องมีการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง เราจะต้องใช้แนวทาง “วิ่งเร็วกว่าเพื่อนแต่ไม่เป็นจำต้องวิ่งเร็วกว่าเสือ”ช่วงนี้มหาจุฬาอยู่ในช่วงแผนพัฒนามหาจุฬาแผน ๑๓ จึงตั้งคำถามว่า “เราอยากเห็นอะไร เราอยากเป็นอะไร และเราจะไปได้อย่างไร”

บูรณาการพุทธกับศาสตร์สมัยใหม่รับใช้สังคม

พระเทพเวที, รองศาสตราจารย์ ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร กล่าวว่า เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคตกับการขับเคลื่อน มจร โดยส่วนตัวมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นศิษย์มหาจุฬาที่ได้นำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสังคม ทำให้คณะสงฆ์ยอมรับเป็นผู้บริหารของคณะสงฆ์ฝ่ายผู้ปกครอง ในปี ๒๕๔๑ ได้ทำงานที่มหาจุฬา ทำให้ตระหนักว่าบุรพาจารย์ได้ผลักดันอย่างมีความเข้มข้นกว่าจะเป็นมหาจุฬา จงอย่าลืมว่า กินผลไม้อย่าลืมคนปลูกต้นไม้ ใช้เวลา ๔๐ ปี กว่าจะรับรองมหาจุฬาให้มีพระราชบัญญัติมหาจุฬาภายใต้กำกับของภายรัฐ จึงมีการขับเคลื่อนขับมาตลอดของบุรพาจารย์ ทำให้ตระหนักถึงความเป็นมาของมหาจุฬาเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์และนานาชาติ ซึ่งปัจจุบันเราทำตามพันธกิจของมหาจุฬาและกรอบของคณะสงฆ์ ด้วยการไปสร้างภาคีเครือข่ายองค์กรต่างๆภายนอกซึ่งจะมาร่วมงานกับมหาจุฬา เช่น สสส. ถือว่าเรามีการบูรณาการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาด้วยการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่เพื่อพัฒนาไปพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม มีการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติพระปริยัติธรรมอย่างจริงจังทำให้คณะสงฆ์ได้ผลประโยชน์อย่างยิ่ง

พัฒนาพุทธนวัตกรรมพัฒนาทางด้านจิตใจให้เป็นรูปธรรมชัดเจน

พลตรีไชยนาจ ญาติฉิมพลี นายกสมาคมศิษย์เก่า มจร คนที่ ๑๐ กล่าวว่า เติบโตได้เพราะมหาจุฬา มองเห็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาจุฬา มหาจุฬาสอนให้เรารักกันเอื้อเฟื้อกันเดินตามรอยของพระพุทธศาสนา ชาวมหาจุฬาจึงมีความรักกันเพราะเรามาจากความลำบาก แต่ปัจจุบันมหาจุฬามีความมั่นคง พระสงฆ์ได้ช่วยเหลือสังคมอย่างมาก มองอนาคตมหาจุฬาต้องมีความตั้งมั่นรักษาไว้ของสถาบันชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ ชาวมหาจุฬาต้องรักกันให้มาก มหาจุฬาจึงเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศที่คำนึงคนยากจนมากที่สุด ให้โอกาสแก่บุคคลไม่มีโอกาสได้มีที่ยืนในสังคม มหาจุฬาจะต้องพัฒนานวัตกรรมพัฒนาทางด้านจิตใจให้เป็นรูปธรรมชัดเจน

ควรพัฒนาหอบูรพาจารย์รูปแบบเสมือนจริง

พระเทพปวรเมธี, รองศาสตราจารย์ ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร ประธานกล่าวปิด กล่าวว่า เราได้ฟังบทเรียนในอดีต เรื่องราวปัจจุบันเพื่อพัฒนาอนาคต เราได้ทราบถึงบุคคลผู้มีความสำคัญในการขับเคลื่อนมหาจุฬา ปีนี้ครบ ๑๓๔ ปี แห่งการสถาปนามหาจุฬา คำว่า บุรพาจารย์คือผู้มีพระคุณต่อเรา อดีตในวันบุรพาจารย์เราจะได้ฟังวิทยากรปาฐกถาอภิปราย ณ ลานอโศก วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร อดีตนิสิตมีบทบาทในการจัดงานบุรพาจารย์แต่ปัจจุบันบทบาทลดลง ซึ่งท่านอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐเป็นผู้ริเริ่มเพื่อให้ตระหนักถึงบุรพาจารย์ผู้มีพระคุณอย่างยิ่ง ซึ่งเราอยากจะพัฒนาหอบูรพาจารย์ให้มีความสำเร็จเป็นการยกย่องเชิดชูครูบาอาจารย์ให้กับคนรุ่นหลังได้ตระหนัก เรามาเหลียวหลังแลหน้ามหาจุฬาภายใต้ “เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคตกับการขับเคลื่อน มจร” อดีตที่ทำให้สำเร็จมีอะไรบ้าง และอดีตที่ทำให้ล้มเหลวมีอะไรบ้าง เราต้องกลับมาทบทวนเพื่อการพัฒนา ส่วนคำกล่าวต่างๆ จะทำให้ชาวมหาจุฬามีแรงผลักดันในการพัฒนาตนเอง จึงมีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุคของพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. มีการพัฒนาอย่างชัดเจนมีแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พอมีกฎหมายรับรองทำให้มหาจุฬาพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจึงมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ปัจจุบันเราใช้ระบบออนไลน์ในการเรียนการสอนเต็มรูปแบบในภาวะของโควิด

พระปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า ดังนั้น จากการเสวนา “เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคตกับการขับเคลื่อน มจร” ในงานบุรพาจารย์ ว่า พระไตรปิฎกจะต้องเป็นฐานมหาจุฬาทำให้พระไตรปิฎกมีชีวิต มหาจุฬาต้องบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมให้มากที่สุดภายใต้ธรรมาภิบาล ด้วยการสร้างเครือข่ายทำงานร่วมสังคมภายในอย่างเข้มแข็ง ภายใต้คำว่า “จงวิ่งเร็วกว่าเพื่อนแต่ไม่เป็นจำต้องวิ่งเร็วกว่าเสือ” เป็นการเรียนรู้อดีตเข้าใจปัจจุบันรู้ทันอนาคตกับการขับเคลื่อนมหาจุฬาในยุคไม่ปกติ เราจึงเชื่อมั่นว่ามหาจุฬามหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศที่คำนึงคนยากจนมากที่สุด มหาจุฬาจะต้องพัฒนานวัตกรรมพัฒนาทางด้านจิตใจให้เป็นรูปธรรมชัดเจน ด้วยการหาวิธีการและเครื่องมืออย่างชัดเจน

Leave a Reply