พาไปรู้จัก “วัดพระธรรมกายนิวคาสเซิล” สถานที่ประชุม “พระธรรมทูตไทย” อดีตเคยเป็นโบสถ์คริสต์!!

วันที่ 22 มิถุนายน 2568  ระหว่างวันที่ 20-23  มิถุนายน 2568 มีการประชุมองค์กรพระธรรทูตไทยสในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ The Council of Thai Buddhist Monks of The United Kingdom and Ireland  (CTBMUK)ณ วัดพระธรรมกายนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ  การนี้มีพระภิกษุที่เกี่ยวข้องกับพระธรรทูตจากประเทศไทยและจากนานาชาติ เดินทางไปร่วมประชุมหลายรูป  “วัดพระธรรมกายนิวคาสเซิล” สถานที่ประชุมพระธรรมทูตไทยคร้ังนี้ อดีตเคยเป็น “โบสถ์คริสต์” มีศิลปะสวยงามก่อสร้างมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1872 หรือ พ.ศ.2415 มีการออกแบบศิลปะไทยผสมผสานกับศิลปะแบบตะวันตก

พระครูวิเทศปัญโญภาส หรือ “พระครูพิชิต ฐิตชโย”  เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย นิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เลขานุการองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายนิวคาสเซิล ไว้ว่า

“วัดพระธรรมกายทั่วโลกต้องเริ่มจากการเช่าบ้านเพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนาก่อน แล้วค่อยๆ รวบรวบศรัทธาสาธุชนให้พร้อมว่าเราสามารถสร้างวัดจริงๆจึงหาอาคารถาวร จุดเริ่มต้นของวัดพระธรรมกายทั่วโลกว่าไม่ใช่เรื่องง่ายกว่าจะมาถึงจุดนี้ เพราะในต่างประเทศการขอใช้อาคารในทางศาสนาเป็นเรื่องหินที่สุด ในบางประเทศในยุโรปถึงขั้นห้ามใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาที่นอกเหนือจากศาสนาคริสต์ ในประเทศอังกฤษค่อนข้างเปิดรับ เมื่อเราพร้อมก็เริ่มหาสถานที่ที่ขออนุญาตไม่ยาก..”

Service Building หรือ อาคารให้บริการ จึงเป็นเป้าหมายที่พระครูพิชิตตั้งไว้ ซึ่งในอังกฤษมีโบสถ์ คาทอลิก – โปรแตสแตนท์ ขายเยอะมาก ส่วนใหญ่คนที่ซื้อไปก็เอาไปทำผับบาร์ ร้านอาหาร รวมถึงที่พักอาศัย พระครู พิชิตมองว่าควรไปหาโบสถ์แบบนี้มาทำเป็นวัดเพราะไม่ต้องขออนุญาตใหม่เพราะเป็นงานทางศาสนาเหมือนกัน

“อาตมาหาในเมืองนิวคาสเซิล ไม่นานนักก็ได้โบสถ์ร้างหลังนึงและ Service Building อีกหลังนึง ซึ่งทั้งสองหลังมีอาคารติดกัน มีพื้นที่รวมกัน 0.8 เอเคอร์ หรือประมาณ 2 ไร่” หลังจากได้อาคารทั้ง 2 นี้แล้ว ต้องยอมรับว่าสภาพอาคารชำรุดต้องซ่อมแซมเยอะมาก ค่าซ่อมแซมที่ใช้ไปมากว่ามูลค่าของตัวอาคารหลายเท่า..”

ตัวอาคารก่อสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1872 ตอนนี้ก็มีอายุกว่า 153  ปี ซึ่งถือเป็นอาคารอนุรักษ์ “รู้กันดีอยู่แล้วว่าประเทศอังกฤษมีความเป็นอนุรักษ์นิยม อาคารบ้านเรือนของเขาดูแลอย่างดี โดยมีกฎว่า อาคารที่มีอายุเกิน 100 ปี ถ้าจะทำการดัดแปลง ต่อเติม หรือก่อสร้าง ต้องขออนุญาตหมด

พระครูพิชิตกล่าวต่อว่า “อาตมาขออนุญาตปรับเปลี่ยนเป็นอาคารเพื่อประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา ให้พระสามารถจำวัดได้ ทำเป็นหอฉันได้ และสำนักงาน ส่วนตัวโบสถ์ก็ขอทำกิจกรรมทางศาสนาได้”

เนื่องจากตัวอาคารเก่ามีดีไซน์แบบโกธิค และตัวโบสถ์เป็นอาคารที่มีหอสูงเด่น 58 เมตร มีความสวยงามเป็นทุนเดิม ท่านพิชิตเห็นอย่างนี้แล้วก็อยากรักษาตัวตนของโบสถ์ไว้ เลยคิดว่างานออกแบบต้องไม่ไทยจนเกินไป ในขณะเดียวกันยังรักษาตัวตนของอาคารไว้ด้วย เมื่อโจทย์เป็นอย่างนี้แล้ว งานออกแบบต้องอยู่ระหว่างตะวันตกและไทย

เริ่มจากพื้น “อาตมาเลือกใช้พื้นไม้สักกับไม้มะฮอกกานี ตั้งแต่พื้น ชั้นวางของ รวมถึงบริเวณที่ใช้ฉันข้าว” ส่วนผนังพระครูพิชิตบอกว่าดั้งเดิมเป็นผนังกรุที่ปิดด้วยวอลเปเปอร์เหมือนในพระราชวัง ก็นำดีไซน์ตรงนี้มาผสมกัน ส่วนฝ้าทำแบบโบราณคือย่อมุมไม้สิบสองขึ้นไป 3 – 4 ชั้น ผสมกับกับดาวฝ้าไทยที่นำรูปแบบดอกไม้ไทยมา Reform ให้เป็นดอกไม้แบบฝรั่ง แล้วนำขึ้นไปประดับแบบไทยที่มี รัตนชาติ ทับทิม และเพทาย เป็นวัสดุสำคัญ..

ที่มา..https://www.dooddot.com/

Leave a Reply