ย้อนรอย “สวนฮักนาแพง” สวนเกษตรธรรมะ สุขยั่งยืน ?? “การท่องเที่ยวเชิงเกษตร” หมายถึง การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นทางด้านการเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมของชาวชนบท โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในการดำเนินกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ด้านการเกษตรและวิถีการดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดการเรียนรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชน และตัวเกษตรกร การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จะเป็นการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรม สวนเกษตร เพื่อชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จ และเพลิดเพลินในสวนเกษตร ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ใหม่ บนพื้นฐานความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น บางแห่งมีการอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่น มีธนาคารข้าว เครื่องมือทางเกษตร ดังนี้เป็นต้น “สวนฮักนาแพง” สำนักปฏิบัติธรรมป่าโมกข์ธรรมาราม ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่หนึ่งที่ สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย สมัยที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เคยเดินทางไปเปิดกิจกรรม “โคก หนอง นา” ร่วมกับคณะสงฆ์ ประชาชนและภาคีในท้องถิ่น พระครูปลัดบัณฑิต อินฺทเมธี หรือ “องค์ม่อน” หลังจบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว จึงกลับไปพัฒนาบ้านเกิด พัฒนาที่ดินอันเป็นมรดกของครอบครัวเป็นแหล่ง “ท่องเที่ยวเชิงพุทธเกษตร” บอกกับทีมงานเราว่า สวนฮักนาแพงถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธเกษตร ตั้งอยู่ภายในศูนย์ปฏิบัติธรรมป่าโมกข์ธรรมารามบนเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ผสมสานความเป็นธรรมชาติ และแฝงข้อคิดธรรมะในทุกก้าวย่าง กิจกรรมภายในสวนฮักนาแพงเน้นสอนธรรมะแบบ Active Learning ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวนาแบบดั้งเดิม เน้นการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว ผู้มาปฏิบัติธรรม ค่ายธรรมะของเยาวชน และชาวบ้านภายในชุมชน เปิดให้ทุกคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ไขปัญหา และลงมือปฏิบัติงานเกษตรแบบจริงจัง ผ่านกิจกรรมสนุกสนานในแนวทางธรรมะแบบไม่น่าเบื่อ และได้ความรู้ทางการเกษตรติดตัวกลับไปด้วย เมื่อถามว่าอะไรคือ แรงดลใจที่ตั้งใจทำตรงนี้ ท่านบอกว่า จุดเริ่มต้น ของสวนฮักนาแพง เริ่มจากการสร้างสะพานกลางทุ่งนาให้นักเรียนนักศึกษาที่มาเข้าค่ายปฏิบัติธรรมที่วัด ได้ใช้เป็นสถานที่เดินจงกรมปฏิบัติธรรม หรือ เป็นแหล่งเรียนรู้ไร่พุทธเกษตร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง นำข้าวและผัก อาหารที่ได้จากสวนมาใช้ในวัด เป็นแปลงนาสาธิต วิธีการดำนาแบบโบราณ ใช้แรงคนแรงควายเป็นหลัก โดยเราได้จัดกิจกรรมถอนกล้าดำนาบุญมาแล้ว 6 ปี มีนักเรียนนักศึกษา ชาวบ้าน ชุมชน หน่วยงานราชการ มาร่วมกันดำนา จากนั้นโรงเรียนที่นำนักเรียนมาเข้าค่ายปฏิบัติธรรมก็ บอกกันต่อ ว่าสถานที่แห่งนี้เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม นักเรียนนักศึกษาที่มาเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ก็โพสต์ในสื่อโซเชียล ทำให้คนเริ่มมาถ่ายรูป และเดินเล่น ผ่อนคลาย ส่วนคำว่า สวนเกษตรธรรมะ สุขยั่งยืน มาจาก เมื่อเราเริ่มทำนาดำประมาณปีละ10 ไร่ ปลูกผัก ปลูกมะนาววงท่อ 600 กว่าต้น ปลูกลำใย 50 กว่าต้น ปลูกชมพู่ 30 กว่าต้น ฝรั่ง 100 กว่าต้น และอีกหลายอย่าง ผลผลิตที่ได้นอกจากใช้ในวัด แจกผู้ป่วยติดเตียง มอบโครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ยังเหลือสำหรับจำหน่าย ได้เงินไว้จ่ายค่าไฟ ทำกิจกรรมในวัด จึงนำเสนอต่อโรงเรียน ชุมชน ในการทำสวนเกษตร ที่สามารถทำให้เรามีสุขยั่งยืนได้ “ความสำเร็จที่เกิดขึ้นคิดว่าประการแรกเป้าหมายที่ชัดเจนว่า เราจะสร้างแหล่งการเรียนรู้ไร่พุทธเกษตร เอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนามา เชื่อมกับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งสามารถเป็นทางรอดให้เราได้ พึ่งพาตนเองได้ ประการที่สอง ความเพียรพยายาม ความขยัน ในการทำสวนเกษตร เพราะต้องใช้เวลาในการทำ รีบเร่งไม่ได้ “เดินทีละก้าว กินข้าวทีละชาม” ถ้ารีบเร่งก็ต้องใช้เงินทุนมาก ในหลวงท่านบอกว่าทำเศรษฐกิจพอเพียงให้ทำแบบคนจน อย่าทำแบบคนรวย ประการที่สาม การแสวงหาองค์ความรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการใช้เคมี ประการที่สี่ การสร้างเครือข่าย ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนตรงนี้ และประการสุดท้ายคือการประชาสัมพันธ์ในโซเชียลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงพุทธเกษตร ตอนนี้คิดว่า เราทำได้ระดับหนึ่งแล้ว วันหยุด วันพักผ่อน จะมีผู้ปกครองพาลูก ๆ มาเดินเล่นเป็นจำนวนมาก..” “สวนฮักนาแพง” สำนักปฏิบัติธรรมป่าโมกข์ธรรมาราม สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เคยเดินทางมาร่วมจัดกิจกรรมกับชาวบ้านในการไถนา ดำนาร่วมกับคณะสงฆ์และชาวบ้านเมื่อปี 2563 “ตอนนั้นเชิญท่านเป็นอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนมาให้เป็นประธานในพิธีถอดกล้าดำนาบุญ ปี 2563 ซึ่งประชาชนแถวนี้ตื่นตัวมาก โดยเฉพาะการทำโคกหนองนา แม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้าของเราก็ตื่นตัว หันมาทำโคกหนองนากันเยอะ ทั้งภายในวัดและนอกวัด เพราะมันคือ การสร้างชุมชนให้พึ่งตนเอง ผักปลอดสารพิษ ท่านมาที่นี้ ก็เหมือนเป็นแรงเสริมให้ชาวบ้านหันมาทำ สวนเกษตร โคกหนองนากันมากขึ้น แม้คณะสงฆ์อำเภออรัญประเทศ ก็มีกิจกรรมถอนกล้าดำนาบุญ ในปีนั้น ถึง 4 แปลง เพื่อนำข้าวไปแจกผู้ป่วยติดเตียง ในพื้นที่อำเภออรัญประเทศ ท่านอธิบดีได้มาสร้างกระแสความสนใจ และแรงบันดาลใจให้ชาวบ้านได้มาก..” ภายใน “สวนฮักนาแพง” มีร้านอาหาร,ร้านกาแฟ รวมทั้งยุ้งฉางสังฆะประชาปันสุข ไว้สำหรับเป็นที่เก็บพันธุ์ข้าวเปลือกและข้าวเปลือกแจกจ่ายให้กับครัวเรือนที่เดือนร้อน เมื่อทีมงานถามว่าอะไรคือจุดเด่นของสวนฮักนาแพง “องค์ม่อน” กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า จุดเด่น ของสวนฮักนาแพง คือ อยุ่ในพื้นที่ของสำนักปฏิบัติธรรม จึงมีเอกลักษณ์ เป็นสถานที่ที่แฝงไปด้วยคติธรรม สงบ ธรรมชาติ ไม่อึกทึกครึกโครม เหมาะสำหรับคนที่ชอบบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ เงียบสงบ เหมือนกับมาที่นี่แล้ว ได้ผ่อนคลาย ได้ปฏิบัติธรรมไปในตัว อีกอย่างรายได้จากสวนฮักนาแพง ยังได้ช่วยเป็นทุนการศึกษาของเด็กๆในหมู่บ้าน และทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ “สำหรับอนาคตมีเป้าหมายอยากให้สวนฮักนาแพงประกอบด้วย หนึ่ง สามารถเพิ่มสัมมาชีพ สร้างอาชีพ ให้กับเด็กเยาวชน และ ผู้สูงอายุ ได้มากขึ้น สอง เป็นโรงทานอาหารผักปลอดสารพิษสำหรับคนยากไร้ และสาม เป็น สวนสมุนไพร ที่สามารถแปรรูปเป็นแพทย์ทางเลือกหรือการรักษาทางเลือกได้ที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาบรรพชนเราได้ และสี่ เป็นสถานที่พักผ่อนของครอบครัว ทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนในหมู่บ้านรอบ ๆ นี้ คือ พยายามให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนหมู่บ้าน เพื่อดึงบทบาทของคณะสงฆ์ดังที่เราเคยมีในอดีตกลับคืนสู่ชุมชน ตั้งใจไว้ประมาณนี้” เท่าที่เดินสังเกตสำนักปฏิบัติธรรมป่าโมกข์ธรรมารามแห่งนี้ มีสวนมะนาว ปลูกพืชผักสวนครัวแบบผสมผสาน ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้นานาชนิด เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักกายและใจเป็นอย่างยิ่ง ในส่วนของนา ตอนที่เราเดินทางไปเยือนมีต้นข้าวเขียวชอุ่ม มีน้ำอุดมสมบูรณ์เห็นลูกปลาแหวกว่ายอยู่หลายตัว มีบ่อน้ำข้าง ๆ ที่เต็มไปด้วยปลานานาชนิด ท่านใดสนใจไปดูงานหรือชมบรรยากาศติดต่อได้ที่ สำนักปฏิบัติธรรมป่าโมกข์ธรรมาราม ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โทรศัพท์ : 08 -7812 -4190 และจากข้อมูลของพัฒนาการจังหวัด การดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” จังหวัดสระแก้ว มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 102 แปลง มีทั้งขนาด 1 ไร่ ขนาด 3 ไร่ และขนาด 15 ไร่ ตอนนี้ส่วนใหญ่ขุดสระน้ำเป็นที่เรียบร้อยหมดแล้ว และรวมทั้งกำลังดำเนินการทำเป็นศูนย์เรียนรู้อีก 21 แปลง “สวนฮักนาแพง” แม้จะตั้งอยู่ภายในศาสนสถาน แต่การขับเคลื่อนดึงหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามหลัก “บวร” คือ วัด บ้าน ราชการ เป้าหมายก็คือ เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน อยู่ดี กินดี อันนำไปสู่ “สุขยั่งยืน” ตามรอยศาสตร์แห่งพระราชา อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของ โคก หนอง นา นั่นเอง!! จำนวนผู้ชม : 443 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author วัดพุทธเกียวโตสุดล้ำ! สร้างพระโพธิสัตว์กวนอิม AI เทศน์ได้ อุทัย มณี ก.พ. 25, 2019 วันที่ 25 ก.พ.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วัดพุทธในประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้… สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ฯ เสด็จเป็นองค์ประธานงานเสวนาวิชาการ “หนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย (Thai Textiles Trendbook Autumn/Winter 2022-2023)” และทอดพระเนตรการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ผลิตภัณฑ์จากโครงการศิลปาชีพและงานหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุทัย มณี ม.ค. 29, 2022 วันที่ 29 ม.ค. 65 เวลา 12:15 น. ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ… 11ล้าน!ยอดบริจาคชำระหนี้สงฆ์ อุทิศพระครูประโชติรัตนานุรักษ์ อุทัย มณี ก.พ. 02, 2019 วันที่ 2 ม.ค.2562 นายจำนัล เหมือนดำ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลได้ประชุมร่วมกับพระเทพศีลวิสุทธิ์… สปก .ชี้แจงที่พักสงฆ์ครูบาไก่อยู่ในเขต ส.ป.ก.มัญจาคีรีอยู่ระหว่างขออนุญาตใช้พื้นที่อย่างถูกต้อง อุทัย มณี ก.พ. 07, 2023 สปก .ชี้แจงที่พักสงฆ์ครูบาไก่อยู่ในเขต ส.ป.ก. อ. มัญจาคีรี จ.… “พระพรหมโมลี – บิ๊กต่อ” นิมนต์เจ้าอาวาสวัดบางคลานเข้าวัด “ยุติความขัดแย้ง” อุทัย มณี พ.ย. 15, 2023 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ… โปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อุทัย มณี ม.ค. 01, 2019 วันที่ 1 ม.ค.2562 มีประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก… สมเด็จพระมหาธีราจารย์ นำคณะลงเรือช่วยน้ำท่วมพระนครศรีอยุธยา อุทัย มณี ต.ค. 19, 2021 มหาเถรสมาคม โดยฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม… สภามจร อนุมัติหลักเกณฑ์แต่งตั้งระดับ “ผู้อำนวยการ” กำหนดอายุงาน-วาระดำรงตำแหน่ง ป้องกันเด็กเส้น-เด็กฝาก!! อุทัย มณี พ.ย. 27, 2024 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… พระดีศรีสะเกษ! พัฒนาโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล-วิถีโพลวพลือ อุทัย มณี ก.พ. 01, 2022 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา… Related Articles From the same category พระมหากษัตริย์กัมพูชา ทรงมอบเครื่องราชแด่ “ผู้บริหาร มจร” วันที่ 10 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00 น. พระองค์เจ้าฤทธีราวงศ์ ศรีสุวัสดิ์… “สิปป์บวร” สั่งย้ายข้าราชการสำนักพุทธ ฯ จำนวน 14 ราย วันที่ 30 มี.ค. 65 นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ… “ครั้งแรก” รัฐบาลไทยจับมือรัฐบาลอินเดีย อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ณ มณฑลท้องสนามหลวง รวมทั้งภูมิภาคอีก 3 จังหวัด วันที่ 16 ธันวาคม 2566 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม… กรณี:สนามบินสุวรรณภูมิ “พระสงฆ์..ต้องไม่ทน” “ผู้เขียน” พาดหัวแบบนี้ เพราะรับไม่ได้กับพฤติกรรมของผู้บริหารสนามบินสุวรรณภูมิ… ๒๕ มีนาคม ๖๒.บุญใหญ่เททองหล่อพระวัดทุ่งเสลี่ยม ‘พระธรรมสามิราชศาสดา’ พระประธานในอุโบสถ ๑๑.๑๙ น. ๒๕ มีนาคม ๖๒ วัดทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย จัดพิธีเททอง…
Leave a Reply