กมธ.ศาสนาฯสภาฯ ลงพื้นที่ศึกษาพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล นายเพชรวรรตวัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายนพดลแก้วสุพัฒน์ ที่ปรึกษากรรมาธิกา นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ พระเมธีธรรมาจารย์ อนุกรรมาธิการฯ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ ว่าที่ร้อยตรี สิริชัย ตุลยสุข อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯนางสาวสิริมนโฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สภาฯ นางภิรมย์ เจริญรุ่ง นายภีม บุตรเพ็ง นายวัชรพล โรจนวัฒน์และคณะ ได้เข้าร่วมประชุมกับ ผู้แทนส่วนราชการจังหวัดขอนแก่น

สำหรับความเป็นมาโครงการ พุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2547 เห็นชอบให้ มีการจัดตั้งสถานที่ทางพระพุทธศาสนา ที่มีลักษณะเดียวกับพุทธมณฑล ในส่วนภูมิภาคให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นประกอบกับมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 21/2548 เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เห็นชอบให้โครงการจัดสร้างพุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น เป็นโครงการร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 จังหวัดขอนแก่น พร้อมกับคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น จึงได้มีแนวคิดจัดสร้าง “พุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น” เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และร่วมเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 84 พรรษา โดยพุทธมณฑลที่จะจัดสร้างขึ้นนั้น เป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่มีลักษณะเดียวกับพุทธมณฑลที่จังหวัดนครปฐม เป็นสถานที่ประชุม อบรม สัมมนา และปฏิบัติธรรมของประชาชน พระภิกษุสงฆ์ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น โดยสถานที่ก่อสร้างพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่นบริเวณหนองอีเลิง ถนนเลี่ยงเมือง พื้นที่ตำบลศิลา และ ตำบลสำราญ

ทั้งนี้วัตถุประสงค์โครงการ พุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น

1.เฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 84 พรรษา

2.เป็นศูนย์รวมในการประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา

3.เป็นศูนย์กลางการศึกษาและเรียนรู้ทางพุทธศาสนาตลอดจน

ฝึกอบรมปฏิบัติธรรม

4.เป็นสถานที่พักผ่อนกายและจิตใจ และสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด

5.เป็นแลนด์มาร์ค (Landmark) แห่งใหม่ของจังหวัดขอนแก่น

การดำเนินการก่อสร้างพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่นดำเนินการในหลายปีดังนี้

ปี 2554

1.งานขุดลอก ถมดิน ค่าก่อสร้าง 20,910,000 บาท

2.งานก่อสร้างถนน ค.ส.ล. ผิวจราจรขนาด 4 ช่องจราจร พร้อมเกาะกลางถนน ทางเท้า งานไฟฟ้าและแสงสว่าง ค่าก่อสร้าง 13,555,700 บาท

3.งานก่อสร้างพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น ค่าก่อสร้าง 30,000,000 บาท

4.งานก่อสร้างอาคารประดิษฐานองค์พระประธาน ค่าก่อสร้าง 43,000,000 บาท

ปี 2555

1.งานขยายเขตประปา งบประมาณ 1,000,000 บาท

2.งานก่อสร้างป้ายโครงการ งบประมาณ 1,500,000 บาท

3.งานตกแต่งพื้นและผนังภายในอาคารประดิษฐานองค์พระฯ

และผิวทางเดินเท้าภายนอก งบประมาณ 10,200,000 บาท

ปี 2560

1.งานขุดลอกหนองอีเลิงหน้าโครงการพุทธมณฑลอีสาน

งบประมาณ 23,843,000 บาท

2.งานเคลื่อนย้ายหม้อแปลงไฟฟ้าและติดตั้งเสาไฟฟ้า

งบประมาณ 5,040,923 บาท

3.งานก่อสร้างศาลาสังเวชนียสถานทางเดินและโคมไฟ

งบประมาณ 32,331,000 บาท

4.งานก่อสร้างแท่นหินพุทธประวัติ

งบประมาณ 6, 111,000 บาท

5. งานปรับปรุงภูมิทัศน์พร้อมระบบรดน้ำรอบฐานองค์พระ

งบประมาณ 28,500,000 บาท

6. งานก่อสร้างอาคารห้องน้ำ

งบประมาณ 1,087,000 บาท

7. งานก่อสร้างห้องน้ำพร้อมอาคารจำหน่ายสินค้าแห่งที่ 1

งบประมาณ 2,558,000 บาท

8.งานก่อสร้างห้องน้ำพร้อมอาคารจำหน่ายสินค้าแห่งที่ 2

งบประมาณ 2,558,000 บาท

ปี 2565

1. สังเวชนียสถาน งบประมาณ 24,602,477 บาท

2. ซุ้มประตู งบประมาณ 3,055,795 บาท

3. แท่นเฉลิมพระเกียรติ งบประมาณ 1,251,515 บาท

4. อาคารจำหน่ายของที่ระลึก 2 หลัง งบประมาณ 1,143,016 บาท

5. ประติมากรรมพญานาค งบประมาณ 6,844,342 บาท

6. หอไตรกลางน้ำ งบประมาณ 16,426,272 บาท

7. ลานอเนกประสงค์ งบประมาณ 1,541,692 บาท

8. ลานปฏิบัติธรรม งบประมาณ 5,511,506 บาท

9. ลานจอดรถ งบประมาณ 6,481,439 บาท

10. อาคารที่พักผู้มาปฏิบัติธรรม งบประมาณ 3,854,758 บาท

11. ลานปล่อยปลา งบประมาณ 4,422,532 บาท

12. เขื่อนป้องกันตลิ่ง งบประมาณ 40,012,193 บาท

13. ปรับปรุงผิวจราจร งบประมาณ 8,589,346 บาท

ด้าน นายเพชรวรรต กล่าวชื่นชมหลังจากได้เข้ามาศึกษาแล้ว ถือเป็นพุทธมณฑลต้นแบบ อาจนำมาเป็นโมเดลที่เป็นต้นแบบให้กับพุทธมณฑลทั่วประเทศ และอยากขอขั้นตอนในการดำเนินการตามลำดับจากทาง อบจ.ขอนแก่น ซึ่งทาง กทธ. อาจจะขอเข้ามาศึกษาในครั้งต่อไปอีกครั้ง ทั้งนี้นายธาดา พรหมสาขา ณ สกลนคร รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น ประสบความสำเร็จอาจด้วย อบจ.ขอนแก่น เข้ามามีส่วนหลักในการประสานงาน ตนอยากให้การบริหารงานพุทธมณฑลในจังหวัดอื่นๆ อบจ.ควรเข้ามาเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ

Leave a Reply