ปราชญ์โคกหนองนาโมเดลสุดปลื้ม! วิจัยดุษฎีนิพนธ์ “ป.เอกสันติศึกษา มจร” พบเป็นฐานปลดหนี้อย่างยั่งยืน วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. ผู้ดำเนินรายการสนทนากลุ่มเฉพาะ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ได้เป็นผู้ดำเนินรายการสนทนากลุ่มของนิสิตระดับปริญญาเอก รุ่น ๔ หลักสูตรสันติศึกษา มจร โดยได้รับความเมตตาจากพระครูปลัดปัญญาวัฒน์ ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวว่า นับว่าเป็นบุญอย่างยิ่งที่ผู้ทรงคุณวุฒิระดับผู้ปฏิบัติการจริงในการลงมือทำโคกหนองนาพุทธกสิกรรมอย่างจริงมาร่วมสะท้อน โดยมีพระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งมีนายณัฎฐนันธ์ สกลทัศน์ นิสิตระดับปริญญาเอกหลักสูตรสันติศึกษา มจร ทำวิจัยการพัฒนาพุทธกสิกรรมธรรมอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี โดยอาจารย์ ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อาจารย์ยักษ์) สะท้อนว่าสามารถนำทฤษฎีมาบูรณาการสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งดีใจมากที่หลักสูตรสันติศึกษาทำพุทธกสิกรรม โดยรัชกาลที่ ๙ ทรงริ่เริมทำโคกหนองนาแห่งความกตัญญูให้เป็นเรียนรู้ของประชาชน หลักธรรมในการขับเคลื่อนโคกหนองนาในการพัฒนามนุษย์คือ สัปปายะสถาน ซึ่งมีทั้งสัปปายะ ๔ และสัปปายะ ๗ หรือ รมณียสถานเป็นแหล่งเรียนรู้วิชาทางธรรมและวิชาทางโลก มีความเป็นอาวาสสัปปายะเป็นฐาน แต่ต้องมีตัวชี้วัดขึ้นมาเช่น ต้นไม้ เนินเขา สร้างบุคคลสัปปายะมีการจัดฝึกอบรมบุคคลให้มีความเข้าใจเป็นบุคคลสัปปายะ มีอาหารสัปปายะมีอาหารมียาสมุนไพรมีความมั่นคง ธรรมะสัปปายะโดยพุทธเกษตรมีความเป็นธรรมะเป็นฐาน ซึ่งการจะสำเร็จจะต้องอิทธิบาท ๔ ในทางพระพุทธศาสนา อาจารย์โจน จันใด สะท้อนว่าดีใจที่ใช้พุทธเกษตรพุทธกสิกรรม ซึ่งรวมถึงชีวิตของเราทั้งหมาย การนำพุทธเกษตรมาใช้สามารถเข้ากับคนไทยได้อย่างชัดเจน ซึ่งเราห่างจากเกษตรไม่ได้แต่จะยั่งยืนจะต้องมีความเป็นพุทธเข้าไปบูรณาการด้วย เกษตรจะต้องมีความเป็นธรรมมีความถูกต้องซึ่งเกษตรกรรมต้องไม่เป็นทุนนิยม ซึ่งเกษตรทุนนิยมต้องการผลกำไรจำนวนมาก แต่ความเป็นพุทธนิยมจะเน้นชีวิตเราจึงควรเน้นความเป็นพุทธเกษตร งานวิจัยจะต้องทำให้เป็นรูปธรรมสามารถนำไปใช้ได้จริงอย่าทำวิจัยเพียงแค่จบเท่านั้น เราต้องสามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งประชาชนที่ทำเกษตรมีทักษะลงแรงแต่ขาดทักษะทางวิชาการด้านการทำพุทธเกษตร ผศ.สุดที่รัก สายปลื้มจิตต์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการออกแบบและจัดการภูมิทัศน์เพื่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สะท้อนว่า การวางแผนทำพุทธกสิกรรมจะต้องวางแผนการปลูกเพื่อนำไปสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่า ซึ่งการพัฒนาพื้นที่จะต้องมีการออกแบบ โดยอาจารย์ปัญญา ปุลิเวคินทร์ หัวหน้าศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ สะท้อนว่า ข้าราชการพยายามเพิ่มรายได้ไม่หมดหนี้หมดสิน พยายามจะหาเงินจำนวนมากแต่มีรูรั่ว เหมือนตุ่มที่รั่ว นำน้ำใส่มากเท่าใดก็ไม่พอเพราะมีรูรั่ว แต่ชาวบ้านพยายามจะสร้างอุดรูรั่วในชีวิต ซึ่งระบบทุนนิยมไม่สามารถปัญหาได้ แต่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติได้อธิบาย ๙ ด้วย “พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น” สร้างบุญ สร้างทาน มีการแปรรูป มีการขาย และสร้างเครือข่าย จึงต้องพัฒนาบุคคลให้เกิดพละ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เชื่อมโยงสาราณียธรรม ถือว่าเป็นแนวคิดการฝึกอบรมจะต้องนำชาวบ้านที่สมัครใจเข้ามาเรียนรู้ โดยอาจารย์บุสดี ขุนศิริ ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสุรินทร์ สะท้อนว่าจะต้องมีหลักธรรมในความเป็นจริง พุทธกสิกรรมสามารถแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็นจึงเป็นฐานของการชีวิตให้มีความสุข สุดท้ายจะมีการแบ่งปันการให้คนอื่นรวมถึงต่อยอดในการแปรรูปต่างๆ สร้างเครือข่ายให้เกิดพลังโดยพระอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ ดร. ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติธรรมมาเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง สะท้อนว่า คนยังหิวอยู่ สันติภาพจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำให้เกิดคำว่า “สันติภาพลงดินสันติภาพกินได้” ถือว่าเป็นการลงมือที่ดีมาก จึงมีการบูรณาการทำพุทธกสิกรรมธรรมชาติให้เหมาะกับบริบทนั้นๆ โดยสรุปว่า พุทธเกษตรในความหมายคืออะไร ขอบเขตเพียงใด เราใช้กรอบเพียงใดจะต้องนิยามให้ชัด อะไรคือใบไม้กำมือเดียวในงานวิจัยชิ้นนี้ แล้วนำไปบูรณาการลงไปทำในพื้นที่ค้นพบอะไร นำสิ่งที่ค้นพบมานำเสนอมีขั้นตอนอย่างไร มีกระบวนการอย่างไร “นิยาม และนำสิ่งที่ทำมานำเสนอ” รวมถึงนำรูปแบบของคนอื่นทำมีกระบวนการ งานวิจัยชาวบ้านจะต้องอ่านได้อย่างเข้าใจจะต้องสร้างรูปแบบให้คนทั่วไปอ่านได้อย่างเข้าใจ จะเกิดจากความต้องการของชาวบ้านในการระเบิดจากภายใน ใช้พลังศรัทธาของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ให้คนในชุมชนเรียนรู้ฝึกอบรม ศึกษาตัวอย่างที่สำเร็จและไม่สำเร็จ มีการเรียนรู้เครือข่ายเอามื้อเอาเครือข่ายกัลยาณมิตร แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องลงมือทำลงมือปฏิบัติ สร้างอารยเกษตรโคกหนองนาซึ่งจะมีการขับเคลื่อนพัฒนาต่อไป จำนวนผู้ชม : 501 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปประจำชาติจาก 13 ประเทศ อุทัย มณี ธ.ค. 29, 2018 พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปประจำชาติจาก… อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก : สดับพระธรรมเทศนา “อุภินนมัตถจรกถา” เฉลิมพระธรรมบารมี สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง อุทัย มณี ส.ค. 20, 2022 วันที่ 20 สิงหาคม 2565 นายเอกสิฏฐ์ วิไลศิลป์ นายอำเภอวังเจ้า… คติธรรม “วันมาฆบูชา” สมเด็จพระสังฆราช อุทัย มณี ก.พ. 23, 2024 วันที่ 23 ก.พ. 67 เนื่องในวันมาฆบูชา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เจ้าพระคุณ… สำนักงานเลขาสมเด็จพระสังฆราชประกาศ “แนวทางปฎิบัติการจัดกิจกรรม” เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ “พระสังฆราช” วันที่ 26 มิ.ย.นี้ อุทัย มณี มิ.ย. 08, 2022 วันที่ 8 มิ.ย. 65 เนื่องในมงคลสมัยคล้ายวันประสูติ เจ้าพระคุณ… กองทุนสื่อ เชิญชมการ์ตูนแอนิเมชัน “สัมมาทิฏฐิ ทะลุมิติมายา” อุทัย มณี ก.ค. 29, 2022 กองทุนสื่อ เชิญชมการ์ตูนแอนิเมชัน “สัมมาทิฏฐิ ทะลุมิติมายา”… “ชวน”มอบเกียรติบัตร ผู้นำกระบวนกรต้นแบบสันติภาพตรัง อุทัย มณี มี.ค. 07, 2022 นิสิต ป.เอกสันติศึกษา "มจร" ลงพื้นที่ นำโมเดลปั้นบุคลากรของจังหวัดตรัง… “อธิการบดี มจร” เยี่ยมชมโครงการ WAT Next วัดใหม่(ยายแป้น) ย้ำบารมีเต็มทำสิ่งใดมวลชนพร้อมใจเกื้อหนุน อุทัย มณี ส.ค. 08, 2022 วันที่ 7 สิงหาคม 2565 ที่ศาลาสติริมน้ำ วัดใหม่ (ยายแป้น) แขวงบางขุนนนท์… ปลัดมหาดไทยชี้ “สังคมไทยต้องช่วยการรื้อฟื้นรากเหง้าแห่งความเป็นไทย” ปลูกฝังความรักระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ อุทัย มณี ก.ค. 21, 2023 วันที่ 21 มิ.ย. 66 ที่โรงแรมคุ้มภูคำ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่… หัวหน้าพรรคแผ่นดินธรรมแฉ!! ตัวการไม่ให้เงินพระที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 อุทัย มณี ม.ค. 28, 2021 วันนี้ (28 ม.ค.64) เฟชบุ๊ค นายกรณ์ มีดี หัวหน้าพรรคแผ่นดินธรรม… Related Articles From the same category พระพุทธเจ้ายังเสด็จโปรดให้กำลังใจ ชาวนาประสบภัยน้ำท่วม วันที่ 20 ก.ย.2562 จากเหตุการณ์ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบอุทกภัยที่หนักสุดตอนนี้คือจังหวัดอุบลราชธานี… “แก้หนี้นอกระบบ” แผลงฤทธิ์ เจอชาวต่างชาติปล่อยกู้ ปลัด มท.ย้ำเอาจริง เผยฝ่ายปกครองอำเภอเสาไห้จับกุมต่างด้าวปล่อยเงินกู้… “นิด้า” นิมนต์ “เจ้าคุณประสาร” รับโล่ศิษย์เก่าดีเด่นประปี’65 วันที่ 23 สิงหาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์… ในหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำทรง ผ้าไตร แด่ “หลวงปู่แสง ญาณวโร” วันที่ 31 สิงหาคม 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานน้ำทรง… ควันหลง..”คืนสู่เหย้า” ชาว มจร “ผู้เขียน” เป็นศิษย์เก่า รุ่นที่ 46 คณะสังคมศาสตร์ เอกบริหารรัฐกิจ…
Leave a Reply