รายงานการเงินของ “สตง.” ทำ “มจร” สะเทือน อาจกระทบคะแนน ITA (คุณธรรมและความโปร่งใส)

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีวิสาหกิจ 3 แห่ง จุฬาบรรณาคาร อาคาร 92 ปัญญานันทะ และโรงพิมพ์

จากรายงานของ สตง ประจำปี 2565 พบว่า วิสาหกิจ 2 แห่ง คือ จุฬาบรรณาคาร และอาคาร 92 ปัญญานันทะ สะอาดโปร่งใส!

แต่..ที่ทำให้ชาวประชามหาจุฬาฯ ตกใจและช็อคสุดขีด คือ  “โรงพิมพ์”
เพราะสตง. พบว่า มีความผิดปกติ ไม่โปร่งใสอย่าง “เด่นชัดสุด”
ข้อที่ สตง. พบคือ โรงพิมพ์ไม่แสดงงบดุลปี 2563 คือ หายไปทั้งดุ้น!

แต่ข้อที่น่าตกใจมากกว่า คือ สตง.ระบุว่าโรงพิมพ์ มจร เป็นทางผ่านรับช่วงงานไปให้โรงพิมพ์ข้างนอก!

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า “บิ๊กใหญ่” ประจำโรงพิมพ์คนปัจจุบันมีโรงพิมพ์ของตนเองขนาดใหญ่อยู่แถวบางใหญ่ นนทบุรี

และเป็นคนประกาศบอกกล่าวให้ใครต่อใครทราบเองว่า โรงพิมพ์ของตนใหญ่โตมโหฬาร มีกำลังผลิตที่รวดเร็ว ทันสมัย ก้าวไกลด้านเทคโนโลยี

ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ของ มจร ฟังแล้ว ก็ได้แต่ “อ้างปากค้าง” ด้วยความทึ่งในความสามารถของท่าน??

“บิ๊กใหญ่” ท่านนี้เป็นผู้บริหารโรงพิมพ์ มจร ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานสุด ในขณะเดียวกัน ท่านเป็นผู้บริหารและสร้างโรงพิมพ์ของตนเองใหญ่โตมโหฬารไปพร้อมกัน

ที่จริง!! บิ๊กโรงพิมพ์ท่านมักจะบอกใครต่อใครใน มจรว่า ท่านมีโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ และเชิญชวนทุกคนไปเที่ยวเยี่ยมโรงพิมพ์ของท่านเสมอ

ที่ผ่านมา บิ๊กใหญ่ท่านนี้จะบอกทุกคนว่า ท่านเป็นคนเดินเรื่องของบประมาณจากรัฐบาล 30 ล้าน จนสร้างโรงพิมพ์มจร วังน้อยสำเร็จ  และยังเป็นคนเดียวที่หางานทำเงินจ้างเจ้าหน้าที่โรงพิมพ์ โดยไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยเลย

โรงพิมพ์ มจร บริหารโดย “บอร์ด” แต่ระยะเวลาที่บิ๊กใหญ่คนปัจจุบันบริหาร จริงหรือไม่มี คนครหาว่า ท่านไม่เคยสนใจและใส่ใจในอำนาจของบอร์ดเลย ไม่ว่าจะจัดซื้อจัดจ้างเครื่องพิมพ์ใหม่ หรืออุปกรณ์ใหม่ ที่มีราคาแพงแสนแพงขนาดไหน หรือแม้แต่การจ้างและเลิกจ้างลูกจ้างของโรงพิมพ์ ก็ไม่ต้องเสนอบอร์ด

บอร์ดโรงพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง จึงเป็น “บอร์ดที่บอด” จริง ๆ คือ ไม่มีโอกาสแม้แต่จะรับทราบสิ่งที่ “บิ๊กใหญ่” ดำเนินงานใน “อำนาจของบอร์ด“  จริงหรือไม่ที่มีคนโจษจันว่า บิ๊กใหญ่โรงพิมพ์จึงเป็นผู้บริหารสุงสุดของโรงพิมพ์และเป็นผู้ทำหน้าที่บอร์ดแบบเบ็ดเสร็จ!

เพราะจากการบอกเล่าของกรรมการบอร์ดที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 4 ปีที่กำลังจะผ่านไป มีการประชุมบอร์ดเพียง 2 ครั้ง

เฉลี่ยปีละครั้งเท่านั้น! 1 ครั้งเมื่อต้นปีแรก และอีก 1 ครั้ง ต้นปีที่ 2
เรื่องที่ประชุม เป็นเรื่องใหญ่ คือ โรงพิมพ์ถูก “สรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง” จำนวน 32 ล้านบาท เพราะสรรพากรไม่เชื่อว่า โรงพิมพ์เป็นของมหาวิทยาลัย

เมื่อมีการฟ้องร้อง จ้างทนายมาว่าความให้ แต่บิ๊กใหญ่ประจำโรงพิมพ์กลับไม่สามารถหาเอกสารใดๆ สนับสนุนทนายได้เลย เพียงแต่ชี้แจงว่า เอกสารหายหมดตอนย้ายจากวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ มาวังน้อย
การฟ้องร้องคาราคาซังมาจนกระทั่งเกิดโควิด

ทนายบอกว่า  “รอดยาก” เพราะโรงพิมพ์ไม่มีเอกสารใดที่จะหักล้างสรรพากรได้เลย
มาปีนี้ 2565 การที่ สตง. ตรวจพบว่า โรงพิมพ์ โดยบิ๊กใหญ่ใช้โรงพิมพ์ มจร รับช่วงงานต่อไปให้โรงพิมพ์อื่น ทำให้มหาวิทยาลัยเสียหายประมาณ 34 ล้านนั้น

“อาจจะ” เกี่ยวข้องโดยตรงกับการที่บิ๊กใหญ่มีโรงพิมพ์ของตนเองที่บางใหญ่ นนทบุรี
อาจเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน!

เรื่องนี้ถ้าตรวจสอบจริงๆ คงไม่ยาก..??

นี้เท่ากับ ถ้ารวมภาษีย้อนหลัง 32 ล้าน ที่สรรพากรฟ้อง รวมกับ 34 ล้าน มหาวิทยาลัยเสียหายสุทธิชัด ๆ ในครั้งนี้ถึง 66 ล้านบาท

ประชาคม มจร ทั้งคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ได้แต่จับกลุ่มโจษจันซุบซิบกัน ณ มุมตึกที่ทำงานของตนเองเท่านั้น

ตามสไตล์ของประชาคม มจร ที่ถูกฝังชิปไม่ให้มีปากมีเสียงในเรื่องที่ไม่ดีของคนในองค์กร จากนั้นก็แยกย้ายกันไปอย่างเชื่องๆ

ทราบว่า “สำนักข่าวชื่อดัง” กำลังให้ความสนใจเรื่องนี้ ที่สร้างความเสียหายให้แก่สถาบันการศึกษาคณะสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุด มีชื่อเสียงที่สุด บริหารโดยพระสงฆ์

ถ้าผู้บริหารระดับสูงไม่รีบแก้ไข อาจเกิดสึนามิคุณธรรมและความโปร่งใสในสถาบันการศึกษาสงฆ์ขนาดใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์อีกแน่!!!

หมายเหตุ..เว๊ปไซต์ข่าว “thebuddh” ทำหน้าที่เป็นเวทีสาธารณะ เนื้อหาและท่าที อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

Leave a Reply