ปลัดมท. ติวเข้มผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงระดับอำเภอ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชูบทบาท “คณะกรรมการหมู่บ้าน” ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อ Change for Good ให้กับประชาชนและประเทศไทย (คลิป) วันที่ 20 มิ.ย. 65 เวลา 15.00 น. ที่ห้อง war room ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ : ผู้นำนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง ระดับอำเภอ กรมการปกครอง รุ่นที่ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบรรยายพิเศษ “ทำไมต้อง “C A S T” (Change Agents for Strategic Transformation (CAST))” หลักสูตร “ผู้นำนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลงระดับอำเภอ” ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting โดยมี รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายบุญลือ ธรรมธรานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง นางสาวอรอุมา วรแสน ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันดำรงราชานุภาพ นายอำเภอ และภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 200 คน ร่วมรับฟัง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นับเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2435 ถึงปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 130 ปี ที่กระทรวงมหาดไทยได้ทำหน้าที่เพื่อพี่น้องประชาชนมาอย่างยาวนานด้วยเกียรติภูมิของบรรพบุรุษมหาดไทยที่ยึดถือปณิธานแห่งการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ด้วยจิตวิญญาณความเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่หลอมรวมความรู้รักสามัคคีของคนในชาติที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ประเพณี วัฒนธรรม วางระบบระเบียบการปกครองในส่วนภูมิภาคให้มีเอกภาพ (Unity) จนสามารถรักษาความเป็นเอกราชอยู่รอดจนถึงยุคปัจจุบัน สร้างเกียรติศักดิ์ศรี ความเชื่อมั่น ศรัทธา ให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งจากเกียรติภูมิดังกล่าว ทำให้ชาวมหาดไทยทุกคนได้ประจักษ์แล้วว่า สิ่งสำคัญที่เป็นความท้าทายหรือโอกาสในการพิสูจน์ความศรัทธาของสังคมไทยต่อสถาบันกระทรวงมหาดไทย นั่นคือ “ความตระหนักถึงภารกิจหน้าที่” ทำสิ่งที่เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อพี่น้องประชาชน ต่อหมู่บ้าน/ชุมชน อำเภอ จังหวัด และประเทศไทย ให้เป็นที่เชื่อถือของประชาชน “โครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการและสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย” เป็นโครงการสำคัญ (Flagship Project) ที่ขับเคลื่อนโดยกรมการปกครอง ในการเฟ้นหาอำเภอต้นแบบการบูรณาการฯ จังหวัดละ 1 อำเภอ อำเภอละ 10 คน โดยประกอบด้วย นายอำเภอ และภาคีเครือข่ายหรือทีมงานในอำเภอ ทั้งภาครัฐ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อมวลชน มาร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ใช้ชีวิตร่วมกันในการศึกษาบ่มเบาะแนวทางการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ซึ่งเป็นการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดการสร้างความมั่นคงและเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชนตามภูมิสังคม คือ หน้าฝนน้ำไม่ท่วม หน้าแล้งมีน้ำใช้ สามารถที่จะทำให้ชีวิตอยู่รอดปลอดภัยได้ โดยการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนการทำงานในพื้นที่ ที่ในระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเสมือนนายกรัฐมนตรีในจังหวัดนำทุกภาคส่วนบริหารจัดการงานทุกเรื่องของทุกกระทรวง ทบวง กรม และ “ในระดับอำเภอ” มีนายอำเภอเป็นนายกรัฐมนตรีของอำเภอและต้องบริหารจัดการงานของทุกกระทรวง ทบวง กรม เฉกเช่นผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้พี่น้องประชาชนในอำเภอได้รับสิ่งที่ดี โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคีเครือข่าย ไม่ใช่การฉายเดี่ยว หรือ One-Man Show ดังนั้น “จึงต้องมีทีมงานที่เข้มแข็ง” เพื่อ Change for Good ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs 17 ข้อของสหประชาชาติ ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นและปลุกจิตใจของพี่น้องประชาชนให้ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมกับนายอำเภอ ผ่านกลไกการสื่อสารกับสังคมทั้งวงแคบและวงกว้าง สมกับการเป็น “นักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง” ดังเช่น นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ทำหน้าที่เป็นนักสื่อสารสังคม เป็นสื่อมวลชนด้วยตนเอง โดยใช้เวลาก่อนนอนทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ทำการบันทึกเสียงด้วยโทรศัพท์มือถือ เล่าให้พี่น้องจังหวัดอุบลราชธานีได้ฟังถึงภารกิจ นโยบาย แนวความคิด และเรื่องต่าง ๆ ที่ตนตั้งใจจะขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี แล้วส่งไปยังหอกระจายข่าวในทุกชุมชน/หมู่บ้าน ทำกระทั่งว่าวันไหนประชาชนไม่ได้ยินเสียงผู้ว่าฯ จะรู้สึกว่าขาดอะไรไป เป็นต้น” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวต่ออีกว่า นายอำเภอต้องระดมสรรพกำลัง 7 ภาคีเครือข่ายมาช่วยวางแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนในพื้นที่อำเภอของท่านเพื่อให้เกิดมรรคเกิดผล สร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้กับประชาชน ด้วยการมี “วัฒนธรรมการทำงานที่เปิดกว้างยอมรับคนอื่น” อันจะเป็นบันไดขั้นแรกที่ทำให้พวกเรามีมุมมองการทำงานเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขพี่น้องประชาชนที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “น้ำ” ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญของชีวิตมนุษย์ ไม่มีน้ำชีวิตก็ยากลำบาก ถ้าน้ำมากพี่น้องประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เดือดร้อน น้ำตาร่วง เพราะทำให้นาล่ม ถ้าน้ำน้อยก็เดือดร้อนเพราะแห้งแล้ง ถ้าน้ำอุดมสมบูรณ์ก็เดือดร้อน เพราะพื้นที่เป็นดินทราย ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ดีนัก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นายอำเภอต้องน้อมนำเรื่องใหญ่ที่สำคัญ คือ “ศาสตร์พระราชา” ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้รับการทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่ออำนวยประโยชน์สุขให้กับประชาชน โดยประยุกต์ทฤษฎีใหม่ที่ทรงคิด ค้นคว้า วิเคราะห์ ทดลองมากกว่า 40 ทฤษฎี หรือกว่า 4,000 โครงการ ด้วยความเข้าใจและใช้ให้เหมาะสมกับภูมิสังคม ซึ่งภายใต้บริบทการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะสภาพสังคมปัจจุบันอันส่งผลทำให้ความใกล้ชิดระหว่างข้าราชการกระทรวงมหาดไทยกับพี่น้องประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนมีช่องว่างเพิ่มขึ้น ดังนั้น เรื่องใหญ่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะส่งผลทำให้เกิด “ความสำเร็จ” หรือ Success ของงานมีองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง ได้แก่ ทัศนคติ (Attitude) ความรู้ (Knowledge) และ ความสามารถ (Ability) โดยเมื่อ Attitude x Knowledge x Ability = ความสำเร็จ แต่ทว่าแม้เราจะมีความรู้ความสามารถในการทำงานไม่เท่ากัน ก็สามารถหาคนอื่นมาช่วยเพื่อเพิ่มพูนได้ แต่ทัศนคติถ้าไม่มีเลย หรือติดลบจะส่งผลทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จทันที ดังนั้น ทุกคนต้องมีแรงปรารถนา (Passion) ที่ผลักดันขับเคลื่อน “หัวใจ” ดังสุภาษิตไทยที่ว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว และถือเป็น universal ขององค์ประกอบความสำเร็จทั้ง 3 ประการ เราจึงต้องปลุกใจให้ฮึกเหิม ให้มีใจรุกรบ ที่อยากสร้างสิ่งที่ดี Change for Good ทำให้ดีที่สุดมากกว่าที่คิดจะทำ ให้เกิดขึ้นกับประเทศชาติกับพี่น้องประชาชนให้ได้ “ทีมงานที่สำคัญและจำเป็นที่สุดที่นายอำเภอต้องมี คือ “คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.)” ที่เป็นเหมือนคณะรัฐมนตรีประจำหมู่บ้าน และมีทีม 7 ภาคีเครือข่ายเป็นส่วนเสริม เพื่อทำให้ทุกหมู่บ้าน/ตำบลในพื้นที่อำเภอ ได้ช่วยกันคิด ช่วยกันสื่อสาร ช่วยระดมทรัพยากรให้สามารถช่วยเหลือดูแลประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งปรับรูปแบบการทำงาน เช่น แพทย์ประจำตำบล เป็นผู้นำด้านพืชสมุนไพรหมู่บ้าน และต้องกำชับ ติดตาม การทำงานของปลัดอำเภอประจำตำบลให้มีความใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนในทุกหมู่บ้านผ่านการประชุมร่วมกับพี่น้องประชาชนในหมู่บ้าน พร้อมทั้งขับเคลื่อนการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข และบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่าง วัด และชุมชน ให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ทำร่วมกับคณะสงฆ์ โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ และสมเด็จพระมหาธีราจารย์ พร้อมทั้งขยายผลสู่เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ที่เป็นหน่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ตามระเบียบมหาเถรสมาคม ให้เป็นแกนนำในการเผยแพร่หลักธรรมและเป็นศูนย์กลางชุมชน เพื่อสร้างคน สร้างพลเมืองที่ดีให้กับประเทศชาติ” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเรียกร้องให้นายอำเภอทุกท่านมีจิตใจที่รุกรบ ทำหน้าที่เป็นผู้นำที่แท้จริงในการ “สร้างทีม” เพื่อที่จะนำการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในอำเภอ และต้องทุ่มเทในการค้นหาปัญหาเพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกตำบลของพื้นที่อำเภอ ด้วยการทำงานตามทฤษฎีการบริหาร หรือ RER อันได้แก่ R – Routine (งานประจำ) ต้องทำให้ดี ทำให้เรียบร้อย เสร็จให้ทันตามกำหนด ทำให้ประชาชนประทับใจ สามารถนำไปขับเคลื่อนได้จริง E – Extra Job (งานที่คิดทำเป็นพิเศษ) หรือ Flagship Project ซึ่งสะท้อนถึงวิธีการทำงานในการคิดแก้ไขปัญหาและสร้างการพัฒนาที่ดีขึ้น และสุดท้าย R – REPORT (การรายงาน) ที่ต้องมีจิตวิญญาณของภาคีเครือข่ายที่ 7 คือ “สื่อมวลชน” รอบด้านทั้ง 360 องศา คือ ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ภาคีเครือข่าย และพี่น้องประชาชน” อันจะพิสูจน์ว่า พวกเราเป็น “ราชสีห์ที่มีทีมงานจิตอาสาที่พร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่” ซึ่งนอกจากต้องลงมือทำแล้ว ต้องรายงานด้วย” เพื่อสร้างปรากฏการณ์ให้สังคมได้เห็นได้รับรู้ว่า “นายอำเภอสำคัญกับพื้นที่อย่างไร” ด้าน นายบุญลือ ธรรมธรานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง กล่าวว่า โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ : ผู้นำนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง ระดับอำเภอ กรมการปกครอง รุ่นที่ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการอบรมในห้วงแรก ระหว่างวันที่ 20-24 มิถุนายน 2565 ทำการฝึกอบรม ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี รวม 200 คน และนายอำเภออื่น ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รับฟังผ่านระบบออนไลน์ โดยการบรรยายจากวิทยากรผู้ทรงวุฒิและเชี่ยวชาญ ผ่านระบบ Online และ On-site อาทิ นายประชา เตรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และอดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งมีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่จริงได้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการสร้างผู้นำนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม เกิดการบูรณาการงานในพื้นที่ และสามารถสร้างอำเภอต้นแบบนำไปสู่การขยายผลทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ดีงามที่มีความสุขอย่างยั่งยืน http://thebuddh.com/wp-content/uploads/2022/06/61f40699-a386-4e1d-898b-dad189fe8ee9.mp4 จำนวนผู้ชม : 404 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author รายงานพิเศษ: เรื่องเล่าการเดินทางดูแปลงชาว “โคก หนอง นา” ประจวบคีรีขันธ์ อุทัย มณี พ.ค. 27, 2021 “ประจวบคีรีขันธ์” เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกหรือใต้ตอนบนของประเทศไทย… มหาดไทยขับเคลื่อนสนองแนวพระดำริ “โครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก” พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอีสาน “Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” อุทัย มณี เม.ย. 29, 2022 มหาดไทยน้อมนำแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี… “ณพลเดช” ย้อนภาพ “พระพิมลธรรม-พระพรหมสิทธิ” พระสงฆ์อีกหลายองค์ยังรอความยุติธรรม อุทัย มณี ก.ย. 09, 2024 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 ดร.ณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการการศาสนา… ปลัด มท.หารือ “แอนดรูว์ ไจลส์”รมต.ออสเตรเลีย ร่วมช่วยเหลือผู้หนีภัยสู้รบเมียนมา อุทัย มณี เม.ย. 24, 2023 ปลัด มท. ให้การต้อนรับ นายแอนดรูว์ ไจลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง… ‘มจร วิทยาเขตนครศรีฯ’เปิดศูนย์ช่วยผู้ประสบอุทกภัยปาบึก อุทัย มณี ม.ค. 03, 2019 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) วิทยาเขตนครศรีธรรมราช… ด่วน !! เจ้าคณะจังหวัดเชียงรายสั่งสอบพฤติกรรมครูบาอริยชาติ อุทัย มณี ก.พ. 23, 2019 เจ้าคณะจังหวัดเชียงสั่งสอบด่วน กรณี พระภาวนารัตนญาณ… หลวงปู่ทองขึ้นกรรมฐานแก่พระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ 25ที่แคมป์สน อุทัย มณี มี.ค. 14, 2019 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2561 ที่หอประชุมพร รัตนสุวรรณ ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน… ตั้งรองอธิการบดี มจร รก.เจ้าอาวาสวัดภาวนาภิรตาราม อุทัย มณี ก.พ. 09, 2021 วานนี้ (๘ ก.พ. ๖๔) สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก … เด็กก็อยากเข้าใจพระพุทธศาสนาเหมือนกัน อุทัย มณี ธ.ค. 13, 2018 “เด็กก็อยากเข้าใจพระพุทธศาสนาเหมือนกันนะ ก็คิดว่ายาก แต่เวลามาอธิบายเป็นนิทานแบบนี้… Related Articles From the same category ปลัดมหาดไทยลงพื้นที่จังหวัดระนอง ตรวจเยี่ยมการปรับภูมิทัศน์หาดส้มแป้น เน้นย้ำ ผู้ว่าฯ ต้องเป็นผู้นำบูรณาการ 7 ภาคีเครือข่ายแบบต่อเนื่อง วันที่ 21 ก.ย. 66 เวลา 09.00 น. ที่ลานอนุสาวรีย์พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี… “เทวัญ”ร่วมทำบุญอุทิศผู้เสียชีวิตที่วัดป่าศรัทธารวมโคราช วันที่ 16 ก.พ.2563 เวลา 07.00น. ณ วัดป่าศรัทธารวม ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา… เตรียมเสนอ “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เป็นบุคคลสำคัญของโลก วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมหริภุญชัย… ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา”มจร” เสนอแนวทางยุติสงคราม “รัสเซีย-ยูเครน” ผ่านหลักพุทธสันติวิธี วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา… “สมเด็จพระมหาธีราจารย์” มอบวุฒิบัตรแก่ ผู้สำเร็จอบรมพระธรรมทูต วันที่ 25 พ.ค. 67 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย…
Leave a Reply