วันที่ 23 กรกฎาคม 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มจร เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า นิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรียนในรายวิชา “แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสันติศึกษา” ณ ห้องไอมาย ชั้น 2 อาคารวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ในหัวข้อการบรรยาย “ความขัดแย้งในบริบทของสังคมโลก ปัญหาและทางออก” ซึ่งบรรยายโดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา สะท้อนว่า
ปัจจุบันเราเป็นชาวพุทธตามรูปแบบเท่านั้นยังไม่สามารถลงลึก จึงฝากขอทุกท่านให้ลงลึกในศาสนาตนเองโดยฝึกการอยู่กับธรรมชาติเป็นวิถีชีวิต ในปัจจุบันบ้านเมืองของเรามีความขัดแย้งมายาวนาน แต่จงมีการเอาชนะที่แท้คือ “การเอาชนะโดยไม่ต้องรบกัน” แม้แต่ความขัดแย้งในรัสเซียกับยูเครนที่เห็นในปัจจุบันมีการกระทบมาถึงประเทศไทยหลายมิติ ซึ่งองค์ประกอบความขัดแย้งเกิดจากทัศนคติมีความเชื่อที่มีความต่างกัน (Attitude) มีพฤติกรรมต่างกัน (Behavior) มีประเด็นข้อขัดแย้ง (Contradiction) ผลประโยชน์ (Benefit) และแย่งชิงทรัพยากร (Fight for Natural Resources) ซึ่งมีความพยายามให้เกิดความขัดแย้งกันเพื่อปกครองง่ายขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของทรัพยากรมีความสำคัญมากเราจะต้องอยู่กับธรรมชาติให้ได้ มองมิติของสิ่งแวดล้อม โดยมองว่าผลประโยชน์สร้างความขัดแย้งอย่างมหาศาล ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติของเราแย่ลงทุกวัน เช่น อากาศไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น
สาเหตุของความขัดแย้งจึงมองว่าเกิดจาก “การเมือง สังคม เศรษฐกิจ ศาสนา” ล้วนแต่เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง จนนำไปสู่การมีหลักสูตรในการสร้างสันติในสังคมซึ่งเดินตามตะวันตก แต่แท้จริงธรรมะของพระพุทธเจ้าสุดยอดมาก เช่น ทศพิธราชธรรม จึงต้องหาคุณค่าแท้อย่าพยายามแสวงหาคุณค่าเทียมของสิ่งของที่เราใช้ ซึ่งในบางประเทศมีการใช้ความขัดแย้งอาจจะเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศพยายามไม่ให้คนในประเทศสามัคคีเพราะถ้าสามัคคีจะรวมกลุ่มมาจัดการผู้ปกครองประเทศ จึงบริหารประเทศไม่ให้เกิดความสามัคคี ถือว่าเป็นแนวคิดเครื่องมือที่น่ากลัว ภายใต้คำว่า “ใช้ความขัดแย้งให้เป็นประโยชน์ในการบริหาร” จึงสะท้อนถึงว่าทุกครั้งที่เมืองต่างๆ แตกความสามัคคีจะแตกจากภายในมากกว่าแตกจากภายนอก เพราะในสังคมเรามีทั้งคนดีและคนไม่ดี
โดยสะท้อนถึง รัชกาลที่ 5 กับ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 หากนึกถึงประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่สวยงามอบอวลไปด้วยบรรยากาศของความเป็น ‘เพื่อนรัก’ อดที่จะนึกถึงเรื่องราวระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 ของรัสเซียไม่ได้ เนื่องจากมีพระบรมฉายาลักษณ์ที่ได้ฉายร่วมกัน และพระบรมฉายาลักษณ์นี้มีนัยสำคัญยิ่ง ที่เราเชื่อว่าการที่สยามเป็นเพื่อนกับรัสเซียช่วยให้นักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสต้องเกรงใจเรา เพราะเพื่อนเราใหญ่ ด้วยคำว่า “ก่อนได้มาเจอกันของเพื่อนรัก สยามต้องเผชิญหน้ากับอังกฤษ และฝรั่งเศส” ก่อนการเปิดฉากมาเจอกันของเพื่อนรักทั้งสอง สถานการณ์ที่เพื่อนชาวสยามเผชิญอยู่นั้นคือการถูกรังแกจากสองนักเลงใหญ่อย่าง ‘อังกฤษ’ และ ‘ฝรั่งเศส’
ด้วยสถานการณ์ทำให้รัชกาลที่ 5 ต้องทำอะไรสักอย่าง จึงมีการดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเข้มข้น เพราะหากสยามต้องตกอยู่ภายใต้เจ้าอาณานิคมชาติใดชาติหนึ่งก็จะทำให้สูญเสียเอกราช ตกเป็นประเทศอาณานิคมได้ นอกจากต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เรื่องการปกครองแล้ว ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งรัชกาลที่ 5 ก็อาจจะทรงกังวลถึงการกำลังคืบคลานเข้ามาของความไม่มั่นคงต่อชีวิตและพระราชอำนาจของพระองค์เอง ด้วยเหตุนี้การเสด็จมาเยือนเอเชียของมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย (พระอิสริยยศของพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 ณ ขณะนั้น) จึงเป็นกุญแจสำคัญ
ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ สะท้อนว่า ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างในการจัดสรรทรัพยากรและความมั่นคั่ง ระหว่าง คนมี กับ คนไม่มี รวมถึงแนวคิดต่อระบอบประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการกระจุกตัวด้วยความมั่นคั่ง คนจนเป็นเกษตรและอยู่ในชนบทมากขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน เกิดผลกระทบคือคนจนและเกษตรกรไม่มีอำนาจต่อรองเหมือนชนชั้นกลาง ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากร จึงเป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่ฝังรากลึกยาวนานในการแย่งชิงทรัพยากร ประชากรประเทศไทยตอนนี้เกิดขึ้นจำนวนมากจึงมีการแย่งชิงทรัพยากร ในระดับโลกจำนวนประชากร 8,000 ล้านคน ซึ่งมีผู้อดอยากอาหารจำนวนมาก แต่ความเป็นไทยมีความอุดมการณ์สมบูรณ์อย่างมาก จึงต้องต้องระวังการแย่งชิงการใช้ทรัพยากร มีการแข่งขันแย่งชิงทรัพยากร
ดังนั้น ความขัดแย้งระหว่างประเทศ อนาคตเราจะแย่งน้ำ เราเห็นอิรักคูเวตขัดแย้งน้ำมัน เราเห็นจีนญี่ปุ่นขัดแย้งแย่งชิงหมู่เกาเซนซากุ เราเห็นไทยกัมพูชาขัดแย้งพิพาทพรมแดน เราเห็นอิสราเอลปาเลสไตน์ขัดแย้งฉนวนกาซา เราเห็นอังกฤษสเปนขัดแย้งช่องแคบยิบรอลติร์ เราเห็นอินเดียปากีสถานขัดแย้งศาสนาที่ต่างกัน เราเห็นเกาหลีเหนือเกาหลีใต้ขัดแย้งการเมืองที่ต่างกัน รวมถึงรัสเซียกับยูเครน และ จีนกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีระดับความขัดแย้งไปตามลำดับ
Leave a Reply