ศรีสะเกษรวมพลังเครือข่ายเอามื้อสามัคคีปลูกพืชปลูกผัก ปลูกรักกับ พช. สร้างความมั่นคงทางอาหาร และจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อนโดยใช้จวนผู้ว่าเป็นต้นแบบนำร่อง
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.00 -18.00 น. นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นางมัลลิกา เกษกุล รองประธานแม่บ้านมหาดไทย นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เปิดจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชิญชวนชาวศรีสะเกษ ปลูกพืชผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อรณรงค์การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่สู่แผนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2 ต่อเนื่อง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้แนวคิด “จะพัฒนาใครเขา ต้องพัฒนาเราก่อน” และขับเคลื่อนโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ของกระทรวงมหาดไทย ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
ในการนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมาย นางสาวจารุวรรณ คล่องตา ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นางสาวธนพร ขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน โดยมีนายคำพอง วรรณวัติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ นายสมคิด คำเสียง พัฒนาการอำเภอเมืองศรีสะเกษ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด และอำเภอเมืองศรีสะเกษ ร่วมกับภาคีเครือข่ายการพัฒนา บูรณาการขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างพลังคนจังหวัดศรีสะเกษ อาทิ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษพร้อมบุคลากร ได้เตรียมพื้นที่แปลงปลูกผัก และพันธุ์ผัก สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมบุคลากร จัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน สำงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมบุคลากร ประสานเครือข่าย โคก หนอง นา จังหวัดศรีสะเกษ นำโดย ดร.วุฒิเดช ทองพูล ประธานเครือข่ายฯ จัดหาพันธุ์พืช กาแฟโรบัสต้า ฟางข้าว ปุ๋ยหมัก และกำลังคนโคก หนอง นา สำหรับเอามื้อสามัคคี และอำเภอเมืองศรีสะเกษ นำโดย นายนายคมป์ สังข์วงษ์ นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ นำทีมพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองศรีสะเกษ ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย
ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ได้เห็นถึงพลังเครือข่าย โคก หนอง นา จังหวัดศรีสะเกษ ปลุกพลังอุดมการณ์คน โคก หนอง นา ด้วยการเข้ารหัส “ปลูกผัก ปลูกรัก กับ พช.” และเข้าแถวเป็นการแสดงถึงความเคารพ นายสำรวย เกษกุล ประธานเปิดกิจกรรมฯ
ทั้งนี้ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป้าหมายทุกครัวเรือนปลูกผักจำนวน 10 ชนิดให้ได้ 100% เช่น ตะไคร้ ผักบุ้ง พริก คะน้า มะเขือเทศ มะเขือเปราะ กะเพรา โหระพา แมงลัก ถั่วฝักยาว มะละกอ แตงกวา เป็นต้น ซึ่งผลผลิตที่ได้จะได้นำไปประกอบอาหารบริโภคในครัวเรือน และนำไปมอบแบ่งปันต่อไป ในการนี้ได้มอบผลิตภัณฑ์จากแปลงโคก หนอง นา โมเดล จากจังหวัดศรีสะเกษ เช่น กล้วย มะละกอ ต้นพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ผักสวนครัว เพื่อมาปลูกขยายผลต่อไป เป็นการยืนยันว่าการเดินตามรอยศาสตร์พระราชา สร้างความยั่งยืนได้จริง อีกทั้งยังดำเนินการทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในบริเวณจวนผู้ว่าฯ ซึ่งมีประโยชน์คือ ช่วยเพิ่มปริมาณแร่ธาตุในดิน ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดปริมาณขยะ ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะได้อีกด้วย
จังหวัดศรีสะเกษ ได้สร้างกระแสรณรงค์ปลูกผักสวนครัวผ่าน “ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง” ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนปฏิบัติการโดยรณรงค์ให้ทุกครัวเรือน ดำเนินการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ รวมถึงพืชสมุนไพร และจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน จัดตั้งศูนย์แบ่งปันเมล็ดพันธุ์และต้นกล้า ขยายพันธุ์และขยายผลเมล็ดพันธุ์พระราชทาน สู่ทุกครัวเรือน คือ คลังอาหาร ทุกหมู่บ้าน คือ ศูนย์แบ่งปัน เกิดทักษะวิถีชีวิตใหม่ เยาวชนไทยสร้างอาหารเป็น เกิดชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองในการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดการลดรายจ่าย สร้างรายได้ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มอาชีพ รอดพ้นวิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
กรมการพัฒนาชุมชน ได้มอบนโยบายขับเคลื่อนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารตามแนวทางรอบ 2 อย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด “จะพัฒนาใครเขาต้องพัฒนาเราก่อน” สร้างกระแสรณรงค์ปลูกผักสวนครัวผ่าน “ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง” โดยใช้ทีมนักพัฒนา 3 ประสานร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนปฏิบัติการ สู่ทุกครัวเรือนคือคลังอาหาร ทุกหมู่บ้านคือศูนย์แบ่งปัน เกิดทักษะชีวิตใหม่ เยาวชนไทยสร้างอาหารเป็น เกิดชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน สร้างโมเดลต้นแบบที่มีความมั่นคงทางอาหาร 878 แห่ง จาก 878 อำเภอทั่วประเทศ เพื่อเป็นโมเดลต้นแบบในการนำไปปรับใช้ในการพัฒนาชุมชน/หมู่บ้าน ให้มีความมั่นคงทางอาหาร มีความพร้อมสู่โครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ในพระราชดำริและโครงการตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นย้ำให้ทุกจังหวัดดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้พลังชุมชนในการพัฒนาชุมชนรณรงค์ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนได้ปลูกผักสวนครัวไม่น้อยกว่า 10 ชนิด ให้ครอบคลุมเต็มพื้นที่ ครบ 100% ทั่วประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในครัวเรือน 90% ทั่วประเทศ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 พฤศจิกายน 2565 โดยท่านสามารถแชร์ภาพการปลูกผักผ่าน facebook Group “ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรักกับ พช.” หรือ Tag facebook fanpage “พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ นครแห่งความสุข”ได้
Leave a Reply