ตามไปดู : เมืองสามน้ำนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” หลังจากกระทรวงมหาดไทยเคลื่อนทัพร่วมกับภาคีเครือข่าย ปฎิบัติการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ซึ่งเป็นไปตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงสถาปนากระทรวงมหาดไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2435 และองค์ปฐมเสนาบดี คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่พระองค์มุ่งหวังให้พสกนิกรของพระองค์ อยู่ดี กินดี ซึ่งปณิธานนี้ ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยได้มีการสืบสานเป็นแนวปฏิบัติจนถึงปัจจุบันซึ่งแนวคิดการขับเคลื่อนอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย บอกว่า “นายอำเภอ” คือ ผู้นำที่ได้รับอำนาจตามกฎหมาย และได้รับการยกย่องจากพี่น้องประชาชนให้เป็นผู้นำ ได้รับการฝึกฝนที่ดีในการเป็นกลไกสำคัญนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติในพื้นที่และสำคัญคือกระทรวงมหาดไทยได้ให้นายอำเภอในฐานะ “นายกรัฐมนตรี” ในพื้นที่สร้างทีมนายอำเภอเลือกนักจิตอาสาจาก 7 ภาคีเครือข่ายร่วมกับพัฒนาการอำเภอเพื่อสร้างความสุขแบบยั่งยืนในพื้นที่ตามภูมิสังคมหรือตามความต้องการของประชาชนโดยการน้อมนำเอาหลักการพัฒนาอย่างพอเพียงและยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นรากฐานในการดำเนินงาน ที่ควบคู่ไปกับการอนุวัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ทั้ง 17 ข้อ ที่ขณะนี้เป็นกระแสการพัฒนาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่มีการปรับใช้กันทั่วโลก “ทุกคนในฐานะข้าราชการและพสกนิกรที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจสนองแนวพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ด้วยการทำงานตามหลัก “บวร บรม ครบ” การยึดพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง ทำงานแบบรองเท้าสึกก่อนกางเกงขาด หากเราช่วยกันทำทุกหมู่บ้านให้ยั่งยืน ตำบลยั่งยืนก็จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งพวกเราทุกคนมีภารกิจหน้าที่ต้องช่วยกันทำให้ พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำเร็จเป็นจริง ทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองสามแม่น้ำ” เป็นอำเภอซึ่งมีอัตลักษณ์ทางพื้นที่อันโดดเด่นด้วยการมีแม่น้ำที่สำคัญ 3 สายไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำนครนายก แม่น้ำปราจีนบุรี ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำบางปะกง ณ ตำบลบางแตน ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำ โดยเฉพาะการดำรงชีวิตด้วยอาชีพเกษตรกรรม ที่มีพื้นที่ทำการเกษตรถึงร้อยละ 79.75 ของพื้นที่ทั้งหมด ตลอดจนการประมง “น้ำ” จึงเป็น “ทรัพยากร” อันล้ำค่า และเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวของอำเภอบ้านสร้าง ทำให้ประชาชนในพื้นที่ต้องเผชิญกับปัญหาสามน้ำ ประกอบไปด้วย “ปัญหาน้ำแล้ง น้ำเค็ม และปัญหาน้ำท่วม” โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนน้ำที่เพียงพอสำหรับทำการเกษตร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นอย่างยิ่งซึ่งสิ่งเหล่านี้นับเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการขจัดความยากจน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน “ทีมข่าวพิเศษ” เดินทางไปยังอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อำเภอที่กระทรวงมหาดไทยคัดเลือกให้เป็นอำเภอนำร่อง เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับอำเภออีก 878 อำเภอทั่วประเทศ เพื่อไปพูดคุยกับนายอำเภอในฐานะ “นายกรัฐมนตรี” ในพื้นที่และประชาชนในพื้นที่อำเภอนำร่องแห่งนี้ โดยได้รับความอำนวยความสะดวกที่ดียิ่งเหมือนเดิมจาก “กรมการพัฒนาชุมชน” “ต้องบอกว่ารู้สึกภูมิใจอย่างมากที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นอำเภอนำร่อง เพราะจากเดิมอำเภอบ้านสร้างไม่ค่อยมีคนรู้จัก ไม่ค่อยมีชื่อเสียง พอเรามาทำโครงการที่ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นคนคิดขึ้นมา เราก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมาก แต่ทำเพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์กับประชาชน จุดเด่นของความสำเร็จนี้ก็คือ การทำงานของภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ทำให้ได้เข้ารอบมาเป็น 10 อำเภอสุดท้ายของประเทศ รางวัลที่ได้รับก็เป็นความภาคภูมิใจของคนในอำเภอบ้านสร้างทุกเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคศาสนา นักเรียนและประชาชนที่ร่วมกันทำงาน ทำทั้งที่ไม่มีงบประมาณแต่ก็ทำให้สำเร็จมาได้..” เสฎฐวุฒิ วงศ์เลอวุฒิ นายอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี บอกกับเราเมื่อเจอหน้ากันครั้งแรกโดยมีทีมพัฒนาการอำเภอ เกษตรอำเภอ ปลัดอาวุโส และ ปลัดอำเภอเพิ่งบรรจุวันแรกคอยประกบอยู่ข้างกายมาร่วมรับฟังด้วย พร้อมบอกกับทีมข่าวพิเศษ เพิ่มเติมว่า เดิมทีอำเภอบ้านสร้างไม่ติดรอบ 18 อำเภอสุดท้าย ตอนที่ตกรอบก็บอกกับน้อง ๆว่า อย่าไปเสียใจ แต่ให้เรามาตั้งใจทำงานต่อ เพราะโครงการนี้เกิดประโยชน์กับประชาชนจริง ๆ ให้ทำงานเหมือนกับว่าเราได้เข้ารอบ ซึ่งกิจกรรมหลักที่ทำคือ “ธนาคารน้ำ” เพิ่มพื้นที่รองรับน้ำทำให้เกษตรกร น้ำแล้งก็มีน้ำใช้ น้ำท่วมก็เป็นแก้มลิง น้ำเค็มก็ไม่ต้องไปใช้ เราใช้น้ำจากการบริหารจัดการจากธนาคารน้ำ และเริ่มจะขยายผลไปอีก 8 ตำบล ก็จะครบทั้งอำเภอ เมื่อมีน้ำผลิตข้าวก็ได้ผลผลิตที่ดี วิสาหกิจชุมชนเมื่อมีน้ำก็ทำนาแบบปลอดสารพิษ ดังนั้นธนาคารน้ำที่เราทำก็ส่งผลให้เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้า “ข้าวเกษตรอินทรีย์” เป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าได้เป็นอย่างดี “ต้องขอบคุณกระทรวงที่กำหนดว่าการทำโครงการนี้จะต้องมีภาค 7 ภาคี ที่นี่โชคดีที่มีภาคเอกชน มีโรงงานกระทิงแดง ที่มีการทำ CSR อยู่แล้ว เราจึงเข้าไปเชิญให้เข้ามาช่วยสนับสนุน โดยเฉพาะการสร้างซ้อมบ้านให้ประชาชนอำเภอบ้านสร้างทำไปทั้งหมด 192 หลัง งบประมาณ 3 ล้านกว่า ไม่ใช้งบประมาณแผ่นดินเลย ซึ่งทางภาคเอกชนเขาพร้อมจะทำอยู่แล้ว ส่วนทางอำเภอจะทำเรื่องพวกนี้ต้องมีข้อมูล วางแผนเป็นระบบทำเป็นขั้นตอน สิ่งที่ทำมาทั้งหมดได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนและชาวบ้านดีมาก ตอนนี้กำลังเริ่มขยายผลไปยังตำบลอื่นๆ เป้าหมายคือให้ครบทั้งอำเภอ ได้คุยกับภาคีเครือข่ายแล้ว ก็ทำเรื่องน้ำเหมือนเดิม เพราะน้ำคือปัจจัยหลักในการทำการเกษตรต้องมาก่อน เรื่องแหล่งท่องเที่ยวก็จะตามมาเอง เรื่องการสื่อสารสร้างการรับรู้ที่จะสื่อให้ชาวบ้านได้รู้ว่าทำอะไรแล้วเกิดผลอย่างไร ซึ่งตอนนี้กระทรวงกำลังทำเรื่องนี้อยู่ เมื่อเขารู้ก็จะมาให้ความร่วมมือกันเองและช่วยให้ประสบความสำเร็จ สำหรับคำแนะนำให้กับอำเภออื่น ๆ ก็คือว่า ผู้นำต้องทำก่อน อันดับแรกก็มีความกล้าที่จะลงไปทำ ไปชักชวนให้ประชาชนได้เห็นถึงประโยชน์ ให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยกันทำ เราควรจะตัดข้อจำกัดของเรื่องงบประมาณออกไป และหันมาทำร่วมกับภาคีเครือข่าย หน่วยงานราชการไม่มีงบประมาณก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำงานไม่ได้ เพราะยังมีภาคเอกชนที่พร้อมจะเข้ามาสนับสนุน หากเขาเห็นว่าเราทำจริง ชาวบ้านได้รับประโยชน์จริง เพราะภาคเอกชนเหล่านี้ก็ได้ประโยชน์ด้วย เพราะโรงงานจะต้องอยู่ร่วมกับชาวบ้าน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรีพิสูจน์ให้เห็น นำร่องให้เป็นแบบอย่างแล้ว..” ในขณะที่กำลังพูดคุยพัฒนาการอำเภอบ้านสร้างแจ้งว่า “พี่หมวย” วาสนา ไขว้พันธุ์ พัฒนาการจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีความคุ้นเคยกับทีมงานเป็นอย่างดี จะขอร่วมเดินทางลงพื้นที่พร้อมกับนายอำเภอและคณะ เพื่อไปดูพูดคุยกับชาวบ้านผู้ทำโคก หนอง นา ขนาด 1 ไร่ และขนาด 3 ไร่ จำนวน 2 รายด้วย “ป้าฉวี คำต่าย” บ้านไผ่ดำ ตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เจ้าของแปลงโคก หนอง นา แปลงแรกขนาด 1 ไร่ ซึ่งตอนที่ “ทีมข่าวพิเศษ” ลงไปพูดคุยแม้อากาศจะร้อนอบอ้าวแต่พื้นที่ยังคง “เขียวขจี” เป็นแปลงโคก หนอง นา ปลูกพืชแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ป้าฉวี” บอกว่า เพิ่งผ่าตัดดวงตามา ไม่ได้ลงมือทำหลายวันแล้ว พร้อมกับพาเดินดูรอบบริเวณแปลง ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำปราจีนบุรี มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมและบางทีประสบกับปัญหาน้ำเค็มด้วย “เข้าร่วมโคก หนอง นา ได้ ประมาณ 2 ปี กว่าจะขุดบ่อเสร็จก็เดือนมีนาคม 2565 มีการเอามื้อสามัคคี ตอนนี้เริ่มเป็น 4 พ. ตามหลักทฤษฎีบันได 9 ขั้นของในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้ว คือพอกิน พออยู่ พอใช้ และพอร่มเย็น เริ่มขายมะเขือ น้ำเต้า ฟักทอง ได้บ้างแล้ว เดิมทีตรงนี้เป็นพื้นนาทั้งหมด 35ไร่ มาแบ่งเข้าร่วมแปลงโคก หนอง นา 1 ไร่ กับกรมพัฒนาชุมชน ทำกับลูกชายและสามี การทำแบบนี้ทำเพราะชอบ ปัญหาของที่นี้น้ำท่วมทุกปี ต้องปลูกพืชระยะสั้นส่วนการทำแปลงผักปลอดสารพิษทำมานานแล้วโดยเฉพาะรอบบ้านมีพืชผักสวนครัวปลูกไว้หลากหลายชนิด..” “ป้าฉวี” หลังจากพาชมแปลงโคก หนอง นา แล้ว ชวนคณะทั้งหมดไปชมพืชผักสวนครัวภายในพื้นที่บ้านพร้อมกับเก็บมะปรางหวานและมะยงชิดให้ชิมครบทุกคน โดยมี “ทองเอม สุภาภรณ์” ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ พาชมพร้อมกับเล่าว่า ป้าฉวีเป็นคนมีฐานะคนหนึ่งในหมู่บ้าน ชอบทำเกษตร และทั้งเป็นคนมีน้ำใจโดยเฉพาะภายในบริเวณบ้านเปิดให้ตั้งกลุ่มทำพวงหรีดและดอกไม้จันทน์ สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน พร้อมทั้งตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีเย็บผ้าอีกด้วย และทั้งมีข้าวสารอินทรีย์ด้วย ซึ่งนายอำเภอมาเยี่ยมและให้กำลังใจอยู่บ่อยครั้ง “พี่หมวย” วาสนา ไขว้พันธุ์ พัฒนาการจังหวัดปราจีนบุรี บอกว่า จังหวัดปราจีนบุรีมีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการโคก หนอง นา ทั้งหมด 191 แปลง และมีผู้อยากเข้าร่วมอีกหลายครัวเรือน ซึ่งทุกคนที่อยากเข้าร่วมเราไม่ปฏิเสธรับไว้หมด เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บังคับบัญชาต่อไป สำหรับแปลงที่ 2 ที่คณะนายอำเภอพาทีมข่าวลงไปพูดคุยคือแปลง โคก หนอง นา ขนาด 3 ไร่ของ “สอาด สังกร” ณ ปากคลองสอง ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นแปลงโคก หนอง นา ที่ประสบกับปัญหาน้ำท่วมเช่นเดียวกัน ปลูกพืชยืนต้นไม่ได้ ต้องปลูกพืชระยะสั้นและเลี้ยงปลาสร้างรายได้ให้กับครอบครัว “ชอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 คิดว่าเรามีที่ดินก็จะทำให้อยู่รอด พอเจอเหตุการณ์สถานการณ์โควิด -19 ก็ทำให้เราอยู่รอดได้จริง หลังจากทำโคก หนอง นาแล้วก็ปลูกพืชผักสวนครัว มะเขือ พริก กะเพรา โหระพา และสวนดาวเรืองที่ประสบความสำเร็จส่งขาย นอกจากนี้ก็มีชะอม ฝรั่ง มะพร้าว เมื่อปลายปีเจอน้ำท่วมผักเสียหาย ตอนนี้ยังไม่ได้ปลูกเสริม สำหรับในบ่อก็มีปลานิล ปลาดุก ปลานวลจันทร์ ปลายี่สกซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด รายได้หลักก็มาจากการเลี้ยงปลา ทำแบบนี้ไม่เหงาเพราะมีการเอามื้อสามัคคีทุกเดือน มีเครือข่ายคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอด ในอำเภอบ้านสร้างมี 10 กว่าแปลงที่เอามื้อสามัคคี นายอำเภอและพัฒนาการ ดูแลเอาใจใส่ชาวบ้านเป็นอย่างดี มาเยี่ยมแปลงโคก หนอง นา อยู่บ่อย ๆ” การเดินทางเพื่อไปพูดคุยกับนายอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ในฤดูกาลที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่าประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อนหรือฤดูแล้งแบบนี้ บรรยากาศในแต่ละภูมิภาคให้อารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกันมาก แต่ส่วนใหญ่นายอำเภอ ซึ่งเปรียบเสมือน “นายกรัฐมนตรีในพื้นที่” ค่อนข้างทำได้ดี เนื่องจากมีภาคีเครือข่ายในการช่วยกันระดมความคิดและระดมงบประมาณในการทำงาน รวมทั้งช่วยเหลือประชาชน เพราะฉะนั้นทุกโครงการที่อำเภอนำร่องขับเคลื่อนอยู่ ณ ตอนนี้จึงเป็นการตัดสินใจของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ตามหลักประชาธิปไตยที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย สังคมแห่งสันติสุข นั่นเอง จำนวนผู้ชม : 305 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “วิสาร” ร่วมพิธีถวายเทียนพรรษาพระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ที่วัดพระธาตุจอมแจ้งเชียงราย อุทัย มณี ส.ค. 06, 2022 วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565 ที่วัดพระธาตุจอมแจ้ง อ.พาน จ.เชียงราย… เปิด 4 รัฐบาล ใครอู้ฟู่มากสุด อุทัย มณี ม.ค. 13, 2019 สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยดังกล่าวข้างต้น… “สมเด็จพระสังฆราช” เสด็จเป็นองค์ประธานสงฆ์เททองหล่อพระเกศ “พระพุทธมุนีศรีประชานาถ” พระพุทธรูปประจำกระทรวงมหาดไทย อุทัย มณี ก.ค. 24, 2022 วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2565 (แรม 11 ค่ำ เดือน 8) เวลา 10:19 น. ที่พระอุโบสถ… ผวจ.ศรีสะเกษสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” อุทัย มณี ก.ย. 01, 2023 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น.ณ วัดสำโรง บ้านสำโรง หมู่ที่… “องค์ดาไลลามะ” ผูู้นำจิตวิญญาณธิเบต เยือนพุทธคยา ชาวธิเบตต้อนรับเนืองแน่น อุทัย มณี ม.ค. 02, 2024 วันที่2 มกราคม 2566 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต… “อนุชา”สั่งการ”พศ.” ทำหน้าที่นิมนต์พระสงฆ์เข้ารับถวาย การฉีดวัคซีนรพ.สงฆ์ อุทัย มณี พ.ค. 18, 2021 วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม 2564 นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี… ขอนแก่นน้อมนำแนวพระราชดำริ”กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” Kick off 45 วัน ปลูกผักสวนครัว สมุนไพรต้านภัยโควิดพร้อมกัน 26 อำเภอ อุทัย มณี พ.ย. 10, 2022 จังหวัดขอนแก่น : เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางอาหารน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า… ลามถึง “เจ้าคณะจังหวัด” วัดหลวงพ่อเงินวุ่นไม่เลิก!! อุทัย มณี เม.ย. 01, 2023 ชาวบ้านแจ้งความเอาผิดเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร ฐานแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์… เลขาฯพุทธใต้เชื่อมั่นผู้สมัครส.ส.สงขลาพรรคแผ่นดินธรรม อุทัย มณี ม.ค. 02, 2019 เมื่อวันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2561 เวลา 13.00 น. ที่บ้านบ่อระกำ ตำบลพะวง… Related Articles From the same category เจ้าคุณประสารร่อนบทความมองมุมลัทธิความเชื่อในทางศาสนากับโควิดภัย เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.2563 เพจ พระเมธีธรรมาจารย์ - เจ้าคุณประสาร ได้เผยแพร่บทความเรื่อง… วธ. รวมใจ 5 ศาสนา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม “จังหวัดเชียงราย” วันที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 08.00 น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม… ตั้งรองอธิการบดี มจร รก.เจ้าอาวาสวัดภาวนาภิรตาราม วานนี้ (๘ ก.พ. ๖๔) สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก … ผู้นำจีนกล่าวท่ามกลางประชุมผู้นำชาวพุทธโลก “จีนมีนโยบายเสรีภาพในการนับถือศาสนา” วันที่ 16 ตุลาคม 2567 การประชุมพุทธศาสนาโลกครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่… ทูตรัฐเช็ก เฝ้าสักการะ “สมเด็จพระสังฆราช” กราบทูลพุทธศาสนาในรัฐเช็กมีคนนับถือมาก มีนักธุรกิจบริจาคทรัพย์สร้างสถานปฎิบัติธรรม วันพุธ ที่ 7 มิถุนายน 2566 เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ…
Leave a Reply