“ดร.มหานิยม”สุดปลื้ม! วันที่ “พระพรหมดิลก” พ้นมลทินทุจริตเงินทอน ได้รับคืนสมณศักดิ์

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ดร.นิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า เป็นข่าวมาหลายวันจนขอยกเป็นอีกหนึ่งในประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์ไทยที่นำความปลื้มปิติยินดีสร้างความศรัทธาในพระพุทธศาสนาการทำความดีย่อมได้รับผลของความดีมาให้พี่น้องพุทธศาสนิกชนชาวไทย จากกรณีการได้รับคืนสมณศักดิ์ของพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยาพ้นมลทินทุจริตเงินทอน

ดร.นิยม กล่าวต่อว่า ตนนั้นได้ตั้งปณิธานในชีวิตไว้ว่า “ชีวิตนี้อยู่เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา” ก็ได้กระทำตามที่ตั้งปณิธานไว้อย่างนั้นจริงๆ เพราะหากไล่เรียงย้อนเวลานับถอยหลังไปสัก 4 ปี ในวันที่ประเทศไทยได้ผ่านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและมีการจัดตั้งคณะรัฐบาลพร้อมรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ซึ่งในข้อ 3.3 สำคัญต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากข้อความว่า “จะทํานุบํารุงศาสนาให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมสถาบันศาสนาทุกศาสนา ให้มีบทบาท ในการเผยแผ่หลักคําสอนที่ดีงาม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และเสริมสร้างความร่วมมือ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จิตใจ และพัฒนาสังคมให้มีความสามัคคี ปรองดอง และยั่งยืน และ ให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึงแก่นแท้ คําสอนของพระพุทธเจ้า และสามารถนํามาปฏิบัติ ในชีวิตประจําวันได้”

และในเวลานั้นก็ได้กระทู้ถามนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับคดีเงินทอนวัด จากปัญหายืดเยื้อก่อนที่จะจัดตั้งรัฐบาลเกี่ยวกับสะเทือนวงการพระพุทธศาสนาของประเทศไทย ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อกลาง ปี พ.ศ. 2560 จากการที่เจ้าอาวาสวัดห้วยตะแกละ จังหวัดเพชรบุรี เข้าแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบหรือ บก. ปปป. และทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกับ บก. ปปป. ได้ทำการตรวจสอบกรณีทุจริตงินทอนวัดทั่วประเทศ ตลอดจนมีการนำไปสู่การออกหมายจับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ จำนวน 7 รูป ประกอบด้วย
ในจำนวนนี้มีพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และเจ้าคณะภาคที่ 4 -7 รวมอยู่ด้วย

“กรณีการออกหมายจับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ จำนวน 7 รูปเป็นเรื่องที่กระทบต่อสถาบันพระพุทธศาสนที่เป็นศาสนาประจำชาติไทย สมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ซึ่งความศรัทธา ความเชื่อมั่น อันจะนำไปสู่ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน จากการตั้งกระทู้ถามทั้งกระทู้ทั่วไป กระทู้สด การตั้งเป็นญัตติถามนายกรัฐมนตรีตลอด 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนพี่น้องประชาชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งการตั้งกระทู้ถามมาตลอดนั้น ส่งผลไปในทิศทางที่ดีต่อกรณีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ จำนวน 7 รูป” ดร.นิยม กล่าวและว่า

กล่าวคือเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 พระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาคที่ ๑๐ ,พระเมธีสุทธิกร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, พระวิจิตรธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร , พระราชอุปเสณาภรณ์( พระสังคม สังฆะพัฒน์ ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร นั้น ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดอ่านคำพิพากษา คดีพนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 2 ยื่นฟ้องพระพรหมสิทธิ อดีตพระราชาคณะเจ้าคณะรอง และอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร , อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม เข้ารับฟังคำตัดสินในคดี ทุจริตการจัดสรรเงินงบประมาณ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และการตันสิน ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นพระพรหมสิทธิ ไม่ได้ขออนุมัติจัดสรรงบประมาณ ในฐานะเจ้าอาวาส จึงไม่ใช่การกระทำผิดในฐานะเจ้าพนักงาน แต่ตัดสินให้มีความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานให้กระทำผิด หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ลงโทษจำคุก 36 เดือน ปรับ 27,000 บาท แต่ด้วยคุณงามความดีที่ทำมา และไม่เคยมีความผิดอาญามาก่อน โทษจำคุก จึงให้รอลงอาญา 2 ปีคงโทษปรับ ซึ่งขณะนี้คดีจบในชั้นศาลอุทธรณ์ ไม่ได้ดำเนินการต่อไป

และเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 พระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และเจ้าคณะภาคที่ ๔ – ๗ ในที่สุดกระบวนการตันสินในชั้นศาล ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม คดีเงินทอนวัด โดยพระพรหมดิลก อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา, อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม, และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กับ นพระอรรถกิจโสภณ ซึ่งเป็นพระเลขานุการเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เข้ารับฟังคำตัดสินชั้นอุทธรณ์ ในคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คดีนี้ศาลให้พิพากษายกฟ้อง ทั้ง 2 รูป เนื่องจากตามเอกสารระบุว่างบประมาณสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรม ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นงบประมาณให้กับวัดที่มีความพร้อม ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งวัดสามพระยาถือว่า เข้าคุณสมบัติรับงบประมาณ และพระทั้ง 2 รูป เป็นบุคคลภายนอกสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ไม่ทราบรายละเอียดในการใช้งบฯ ซึ่งการนำงบไปก่อสร้างบำรุงวัด มีเอกสารชัดเจนไม่มีการปกปิดอำพรางจึงถือว่าไม่มีความผิดหลังคำพิพากษา พนักงานอัยการสามารถยื่นขอฎีกาคดีได้ภายใน 30 วัน หากไม่มีการยื่นขอ คำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ถือเป็นที่สิ้นสุด

ทั้งนี้ทั้งนั้นสืบเนื่องจากวัดสามพระยามีการนำเงินสนับสนุนโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกการศึกษาของสำนักงานพระพุทธศาสนา จำนวน 5 ล้านบาท ไปใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารร่มธรรม และอาคารที่พักสงฆ์ วัดสามพระยา ทั้งที่ภายในวัดไม่มีโรงเรียนปริยัติธรรม โดยมีการโอนเงินรวมทั้งสิ้น 2 ครั้ง คือ วันที่ 7 ม.ค.2557 และ 14 ม.ค.2557 รวมเป็นเงินกว่า 3.5 ล้านบาท แม้ว่าจำเลยที่ 1 และ 2 จะอ้างว่า เข้าใจผิดว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการยื่นของบประมาณการสร้างอาคารตั้งแต่ปี 2556 แต่ในเอกสารมอบฉันทะและใบตอบรับเงินอุดหนุนมีรายละเอียดวัตถุประสงค์ของเงินงบประมาณชัดเจนการนำงบดังกล่าวไปใช้ในการก่อสร้างจึงถือเป็นการเปลี่ยนสภาพทรัพย์ เพื่อปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์ที่ได้มาโดยทุจริตเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน ก่อนหน้านี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกอดีตพระพรหมดิลก จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 6 ปี เนื่องจากเห็นว่าเป็นเจ้าพนักงานกระทำความผิด ส่วนอดีตพระอรรถกิจโสภณ ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี และในที่สุดศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง

สำหรับพระพรหมเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าคณะภาคที่ 4 – 7 นั้น จากวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผู้บังคับการกองปราบปราม นำกำลังตำรวจกว่า 100 นาย พร้อมหมายศาล เข้าจับกุมพระพรหมเมธี (จำนงค์ เอี่ยมอินทรา) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสัมพัธวงศารามวรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กล่าวหาในคดี พัวพันเกี่ยวกับเรื่องเงินทอนวัด และวันที่ 3 มิถุนายน 2561 พระพรหมเมธี หรือพระจำนงค์ เอี่ยมอินทรา อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร ก็หลบหนี ออกจากกรุงเทพฯ และข้ามเรือเข้าไปในสปป.ลาว ก่อนที่จะเดินทางไปยังกัมพูชาแล้วหนีต่อไปที่เวียดนาม ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบินไปลงที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ แล้วบินต่อไปลงที่ประเทศเยอรมัน และขอลี้ภัยอยู่ในเมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ซึ่งเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562 สส.ดร.นิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย ก็ได้อภิปรายตั้งกระทู้ถามทั่วไป เรื่องความคืบหน้ากรณีเงินทอนวัด ถามนายกรัฐมนตรีถ้าอดีตพระพรหมเมธีกลับมามอบตัว รัฐบาลจะรับรองความปลอดภัยหรือไม่ พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงมาตรฐานในการดำเนินคดีเงินทอนวัด ด้วย

อย่างไรแล้ว ดร.นิยม เวชกามา กล่าวต่อว่า ตลอดระยะ 4 ปีที่ผมตั้งกระทู้ถาม ครั้งแล้วครั้งเล่า ได้คำตอบบ้าง ไม่มาตอบบ้าง มาถึงวันนี้ เรื่องนี้ผมจึงขอเขียนบันทึกไว้เป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย ที่มีทั้ง น้ำตา กับ ความปลื้มปิติ กับข่าวสารอันเป็นมงคลยิ่งต่อการทำงานเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาของผม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ ความว่าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่พระพรหมดิลก (เอื้อน กลิ่นสาลี) ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดอาญาและได้มีพระบรมราชโองการถอดถอนสมณศักดิ์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2561 นั้น บัดนี้ คดีถึงที่สุดแล้ว พฤติการณ์ถือได้ว่าไม่ใช่ความผิดอุกฉกรรจ์ หรือความผิดร้ายแรง หรือเป็นผู้ร้ายสำคัญ ประกอบกับ ไม่มีการกล่าวคำลาสิกขา และไม่มีการดำเนินการให้สละสมณเพศ ทั้งปรากฏข้อเท็จจริงว่า ยังคงดำรงตนอย่างพระภิกษุโดยตลอดระหว่างถูกคุมขัง จึงมีสภาวะเป็นพระภิกษุ มีสถานะเป็น พระมหาเอื้อน หาสธมฺโม (เปรียญธรรม 9 ประโยค) มหาเถรสมาคมมีมติรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 ตรี แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2561 ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาให้ พระมหาเอื้อน หาสธมฺโม (เปรียญธรรม 9 ประโยค) ดำรงสมณศักดิ์ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า “พระพรหมดิลก ปริยัตินายกคณาทร บวรศาสนกิจวิธาน ศีลสมาจารนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” สถิต ณ วัดสามพระยา พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร ให้ถือว่าไม่เคยถูกถอดถอนสมณศักดิ์และราชทินนามมาก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2566 ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พุทธศักราช 2566 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน

ดร.นิยม ยังกล่าวอีกว่า ผมดีใจที่การทำงานและการเรียกร้องของผมไม่สูญเปล่า ทุกครั้งที่ผมเข้าถวายขอรับคำปรึกษาจากพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และเจ้าคณะภาคที่ 4 – 7 ท่านได้มีคติเตือนใจ สงบนิ่ง และท้ายนี้ผมขอนำบทกลอนจากพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา และโพสต์ในเฟชบุ๊กสื่อประชาสัมพันธ์ของวัดไว้ว่า…

ขอพระไตรรัตน์ พระทั้ง สาม พระพุทธรัตน์ เป็นประธานให้ท่านสู้
ความหดหู่ในใจไปให้พ้น ธรรมรัตน์ ส่องสว่างทางชีวิต
จงพิชิตสัพพะภัยให้ห่างหาย รัศมีพระธรรมนำท่านไป
สู่จุดหมายที่หวังอย่างอาจองค์ สังฆรัตน์จงปัดป้องคุ้มครองท่าน
ให้ย่างทานกาลเวลา สง่าหงส์ ให้แข็งแรงด้วยแรงสู้อยู่ดำรง
ถือธงชัย ชนะนั้นมาครอง หากใจดีมีธรรมประจำจิต
ใครจะคิดจะตอบมอบความเศร้า จิตไม่มองเพราะมีธรรมตามดั่งเงา
ธรรมจะเฝ้าเป็นเกราะเพชรเผด็จมาร.

Leave a Reply