ปลัด มท. ลงพื้นที่ตรวจติดตาม โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 11 ก.ค. 66 ที่ฝายคลองกาพระ บ้านกาพระ หมู่ที่ 10 ต.สระแก้ว อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) โดยมี นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายวราพงษ์ เกียรตินิยมรุ่ง ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมสำรวจ กรมที่ดิน นายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมลงพื้นที่ โดยมี นายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายศรัทธา ทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายเอกชัย สุนทร นายอำเภอท่าศาลา หัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พี่น้องประชาชน และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า “นายอำเภอ” เป็นผู้นำสูงสุดของอำเภอในการทำหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน บำบัดทุกข์ คือ ทำให้ทุกข์ของประชาชนหมดไป บำรุงสุข คือ การทำให้ประชาชนได้รับการส่งเสริมต่อยอดการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดความยั่งยืน เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีผักสวนครัว สวนสมุนไพรเพิ่มพูนขึ้นเพื่อให้มีความมั่นคงด้านอาหาร และถ่ายทอดไปยังลูกหลาน ทำให้เขาสามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตัวเองในอนาคต ทำให้เด็กหัดเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ปลูกและดูแลผักสวนครัว รวมถึงนโยบายเด็ก 1 คน ปลูกต้นไม้ประจำตัว 1 ต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ “นายอำเภอต้องเป็นผู้นำ” พาทีมปลัดอำเภอลงไปพูดคุยกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะ “ทุกสังคมต้องมีผู้นำ” ที่วัดต้องมีเจ้าอาวาส หมู่บ้านต้องมีผู้ใหญ่บ้าน ตำบลต้องมีกำนัน ซึ่งผู้นำอย่างนายอำเภอก็ต้องมีทีมรัฐมนตรี คือ ปลัดอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ และภาคีเครือข่าย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานหลักการว่า “7 ภาคีเครือข่าย” คือ ภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน รวมถึงเยาวชน และต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด น้อมนำมาเป็นหลักการทรงงาน เรียกว่า “บวร” คือ บ้าน วัด ราชการ “บรม” ตือ บ้าน ราชการ มัสยิด และ “ครบ” คือ คริสต์ ราชการ บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาคสื่อสารมวลชน” ซึ่งทุกวันนี้พวกเราทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ทุกคนจึงสามารถเป็นสื่อมวลชนในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้สิ่งดี ๆ ให้แพร่หลาย ในขณะเดียวกัน ก็เป็นแหล่งข่าวในการนำข่าวสารทั้งที่ดี เช่น มีคนดีมีจิตอาสาในพื้นที่ช่วยเหลือคนในชุมชน และข่าวที่เป็นทุกข์ของประชาชน เช่น มีบ้านใกล้เรือนเคียงที่เดือดร้อน ไม่มีหลังคา ไม่มีห้องน้ำ ก็สามารถเป็นสื่อแจ้งมายังท่านนายอำเภอ ปลัดอำเภอ เพื่อบูรณาการภาคีเครือข่ายเข้าให้ความช่วยเหลือ “นายอำเภอเป็นผู้นำทีมอำเภอ ทั้งทีมที่เป็นทางการ และทีมจิตอาสาจาก 7 ภาคีเครือข่าย ช่วยกันทำให้คนในหมู่บ้านรวมตัวกันเป็น “คุ้มบ้าน” “กลุ่มบ้าน” “หย่อมบ้าน” เพื่อให้เกิดความใกล้ชิด มีการดูแลกันแบบกลุ่มบ้านที่ใกล้ชิด ซึ่งในหมู่บ้านก็จะมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นเสาหลัก รวมกับข้าราชการผู้รับผิดชอบประจำตำบล ทั้งปลัดอำเภอ เกษตรอำเภอ ฯลฯ ที่ต้องรู้หน้าที่ โดยทั้งทีมข้าราชการและทีมจิตอาสาทั้ง 2 กลุ่มต้องทำงานคู่ขนานเคียงข้างกันไปว่าจะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันปรึกษาหารือ ร่วมกันทำ นำมาซึ่งการร่วมรับประโยชน์ อันเป็นแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงสรุปผ่านการขับเคลื่อนโครงการพระราชดำริทั้ง 4,741 โครงการ ซึ่งต้องทำอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยประธานคุ้ม หัวหน้าคุ้ม ชาวบ้านในทุกครัวเรือน ต้องมาพูดคุยกันในทุกสัปดาห์ ในทุกเดือน หรือในทุกวันได้จะยิ่งทำให้เข้มแข็ง โดยมีปลัดอำเภอประจำตำบลเป็นผู้ประสานงานร่วมพูดคุยกัน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า นายอำเภอจะทำงานแบบหัวเดียวกระเทียมลีบไม่ได้ ต้องมี 7 ภาคี ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยพูดคุย ด้วยการน้อมนำพระราชดำริด้านการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เช่น ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทำให้ทุกครัวเรือนมีบ้านเรือนที่สะอาด ปลูกผักสวนครัวปลูกพืชสมุนไพร ก็เป็นหน้าที่ของ อสม. ที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคระบาด ทำให้ร่างกายไม่ป่วย ด้วยการบริโภคอาหารปลอดภัยจากสารเคมี แล้วยังทำให้เราประหยัดรายจ่าย เกิดความรักความสามัคคีในครัวเรือน ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ที่เกินเลยไปของการเป็นจิตอาสา และยังถือเป็นหน้าที่ปกติที่เป็นไมตรีจิตวิถีชีวิตของพวกเราคนไทย และ อสม. ยังสามารถช่วยเป็นผู้สื่อข่าว คอยรายงานว่า บ้านไหนลำบาก ไม่มีทุนการศึกษาเล่าเรียน ไม่มีชุดเครื่องแบบนักเรียน เครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี มีคนป่วยติดเตียงไม่มีคนดูแล ไม่มีส้วม ไม่มีอาชีพ เป็นหนี้เป็นสิน มีคนติดยาบ้ายาเสพติด ช่วยกันดูแลวิถีชีวิตปกติของทุกครัวเรือน เพื่อให้นายอำเภอรู้ปัญหา แล้วนำทีมทั้งท้องถิ่นและท้องที่และ 7 ภาคีมาช่วยกัน ทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน “นายอำเภอต้อง “บูรณาการคน” ด้วยการทำให้บุคลากร ทำให้ข้าราชการทุกสังกัด ได้ร่วมกันสร้างการรับรู้และขยายผลข้อมูลข่าวสารและทุกเรื่องของทุกหน่วยงานไปยังพี่น้องประชาชน และ “บูรณาการงาน” เช่น เรื่อง แอปพลิเคชันไทยดี (ThaID) ต้องไปช่วยกันสร้างการรับรู้วิธีการดาวน์โหลดอย่างง่าย เพื่อเป็นการสร้างมิติใหม่ของการทำธุรกรรมภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีความสะดวก รวดเร็ว ผ่านช่องทางดิจิทัล และมีความปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการใช้เอกสารราชการปลอมในกระบวนการยืนยันตัวตนของระบบเดิมและเพื่อสนับสนุนการบริการประชาชนของภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้การประกอบธุรกิจและการทำธุรกรรมต่าง ๆ ในยุคดิจิทัล และ Thailand 4.0 ให้มีความรวดเร็ว มั่นคง และปลอดภัย สามารถบริการพี่น้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประชาชนสามารถใช้บัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์จากในแอปพลิเคชันในการแสดงตัวทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งในอนาคต จะได้พัฒนาเพิ่มเติมเอกสารราชการอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ E-Document Wallet ในแอปพลิเคชันต่อไป เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชน รณรงค์ให้เด็กได้กตัญญูกตเวที ขณะเดียวกันให้เด็กเป็นคนส่งข่าวแจ้งข่าวความเดือดร้อน เพื่อรายงานมายังนายอำเภอ โดยไม่ต้องรอสื่อมวลชนให้ข่าว จนเกิดอาชีพถ้าเดือดร้อนต้องร้องสื่อ เมื่อเป็นข่าวจึงจะไปช่วยเหลือ ซึ่งนายอำเภอและฝ่ายปกครองต้องรู้ทุกเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนและบูรณาการทีมเข้าให้การช่วยเหลือด้วยการมีภาคีเครือข่ายเป็นแหล่งข่าวกระจายทุกพื้นที่” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้ายว่า ขอให้นายอำเภอท่าศาลา ตลอดจนภาคีเครือข่ายทุกท่าน ได้ร่วมพูดคุย ร่วมปรึกษาหารือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา เพื่อร่วมรับประโยชน์อย่างเป็นประจำ เป็นนิจศีล เป็นวิถีชีวิต เพื่อทุกคนจะได้ร่วมรับประโยชน์ในทุกเรื่อง ทั้งการแบ่งพื้นที่เป็นกลุ่มบ้าน หย่อมบ้าน ช่วยกันติดตามดูแลสมาชิก มีการลงแขกสร้างความสามัคคีกันในกลุ่ม ทำไป คุยไป หยอกเย้าไป สร้างความสามัคคี มีกระบวนการส่งเสริมถ่ายทอดไปยังเด็ก เยาวชน ลูกหลาน ให้มีความรู้ ให้ได้ฝึกปฏิบัติ ทั้งการนำสวดมนต์ไหว้พระ ประกอบศาสนพิธี ถวายผ้าป่า ทำให้เด็กได้มีสิ่งที่มีคุณค่าไปทำให้เกิดประโยชน์กับสังคม ซึ่งทุกอย่างจะสำเร็จได้ “ผู้นำ” ทั้งนายอำเภอ ปลัดอำเภอ และภาคีเครือข่ายทุกส่วน “ต้องดี” แล้วความยั่งยืนจะเกิดขึ้น ทำให้บ้านกาพระแห่งนี้ และทุกหมู่บ้านเป็น “หมู่บ้านยั่งยืน” นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า หมู่บ้านยั่งยืน หมายถึง คนต้องช่วยกันดูแลให้มีความสามัคคีปรองดอง มีความเห็นอกเห็นใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีสภาพชีวิตที่อยู่อย่างพอเพียง มีการเผื่อแผ่ในมิติต่าง ๆ ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้ในชีวิตประจำวัน รักษาสภาพสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งการบริหารจัดการขยะครัวเรือน มีถังขยะเปียกลดโลกร้อน ส่งเสริมภูมิปัญญา วัฒนธรรมจารีตประเพณีท้องถิ่น ให้พวกเราได้ยึดถือร่วมกัน และหลีกเลี่ยงอบายมุขสิ่งไม่ถูกไม่ควรต่าง ๆ ช่วยกันดูแลป้องกันอาชญากรรม เป็นหูเป็นตาให้กับพื้นที่ ช่วยกันให้มีความเป็นอยู่ที่มีความสุขอย่างยั่งยืน นายเอกชัย สุนทร นายอำเภอท่าศาลา กล่าวว่า ตำบลสระแก้ว มีพื้นที่ตั้งห่างจากอำเภอท่าศาลา ประมาณ 11 กิโลเมตร มีพื้นที่ 24,756 ไร่ มีการปกครองท้องที่ 11 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำล โดยมีนายประจักษ์ พิมเสน เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว ประชากร 1,936 ครัวเรือน 5,453 คน เป็นชาย 2,601 คน หญิง 2,852 คน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ อาชีพหลัก คือ ทำสวนยางพารา ทุเรียน มังคุด และปาล์มน้ำมัน มีกลุ่มโอทอป กลุ่มโกโก้ ขนมไทย จักสาน เป็นอาชีพเสริมของคนในพื้นที่ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 83,610 บาท ต่อปี “ตำบลสระแก้ว เป็นตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการส่งเสริมผู้นำ กลุ่ม องค์กร หน่วยงานภาคีเครือข่าย และประชาชนได้เรียนรู้ และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้จนเป็นวิถีชีวิตส่งผลให้ตำบลสระแก้วเป็นตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการตำบลสู่ตำบลบริหารจัดการตนเองโดยใช้พื้นที่และข้อมูลสารสนเทศในตำบลเป็นฐานในการพัฒนา ร่วมกับกลไก 7 ภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงาน ซึ่งประกอบด้วย ภาคราชการ เช่น พัฒนาชุมชน เกษตร สาธารณสุข อบต.สระแก้ว กศน. ภาคศาสนา ได้รับความเมตตาจากเจ้าอาวาสและคณะสงฆ์จากวัดในตำบล ภาควิชาการ มีคณะครูในโรงเรียนของตำบลสระแก้วร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม ภาคประชาสังคม มีผู้นำกลุ่ม องค์กรต่าง ๆ ภาคประชาชน มีคนในพื้นที่ตำบลสระแก้วร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาตำบล ภาคเอกชน มีเจ้าของโรงแรมธุรกิจการท่องเที่ยว ในตำบล และ ภาคการสื่อสารสังคม ตำบลสระแก้วดำเนินการโดยใช้นักสื่อสารสังคมในตำบลในการขับเคลื่อนกิจกรรมให้เกิดเป็นตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน” นายอำเภอท่าศาลา กล่าวเพิ่มเติม จำนวนผู้ชม : 318 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “มจร” ปลื้ม ผลประเมินคุณภาพการศึกษาได้ “ระดับดีมาก” อุทัย มณี ต.ค. 20, 2023 วันที่ 21 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน… “พระมหานรินท์” แฉอีก “ครูเงาะ” เปิดมูลนิธิคู่บริษัทจริงหรือไม่!! อุทัย มณี ก.ย. 22, 2024 วันที่ 22 กันยายน 2567 มหานรินทร์ นรินฺโท ป.ธ. 9 เจ้าอาวาส วัดไทยลาสเวกัส… ประเพณีแปดเป็ง สืบฮีตตวยฮอย สรงน้ำพระธาตุเจ้าหริภุญชัย อุทัย มณี พ.ค. 18, 2019 วันแปดเป็ง ก็คือ เป็นวันที่เราทราบกันดีว่าเป็นวันวิสาขบูชา… นครพนม จัดกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาชุมชนเฉลิมพระเกียรติ ต้านภัยโควิด – 19” อุทัย มณี ส.ค. 17, 2021 วันที่ 17 สิงหาคม 64 นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม… 36โรงเรียนพระปริยัติธรรมแข่งขันวิชาการภายใต้คำว่า “สืบสานงานพระศาสน์ สร้างโอกาสทางการศึกษา พัฒนาพระปริยัติธรรม” อุทัย มณี ก.ย. 27, 2024 วันที่ 27 กันยายน ระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา… ส.ส.สกลนครเพื่อไทย แนะรัฐเยียวยาวัด-พระสงฆ์ ประสบภัยโควิด-19ด้วย อุทัย มณี เม.ย. 02, 2020 วันที่ 2 เมษายน 2563 นายนิยม เวชกามา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร… ประชาชนไทยทั่วประเทศร่วมประกอบพิธีทางศาสนา เจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ถวายพระราชกุศลถวายพระพรชัยมงคลแด่ “ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา ฯ” อุทัย มณี พ.ค. 26, 2023 วันที่ 26 พ.ค. 66 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า… ปลัด มท. สั่งการผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ผ่านกิจกรรม “ปลูกต้นไม้คู่ชีวิต” โดยให้นักเรียนทุกโรงเรียนในพื้นที่จังหวัด ร่วมปลูกต้นไม้คนละ 1 ต้น อุทัย มณี มิ.ย. 25, 2022 วันที่ 25 มิ.ย. 65 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… “ปุ๋ม ปนัดดา”แนะยุวชนวิถีใหม่ จงหิวแสงสร้างภาพดีแบบไม่ยอมโง่ อุทัย มณี ต.ค. 16, 2021 วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. วิทยากรต้นแบบสันติภาพ… Related Articles From the same category “นศ. 4 ส.13” สถาบันพระปกเกล้า อุปถัมภ์นิสิตปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนานาชาติ “มจร” วันที่ 5 ธันวาคม 2565 ที่ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ… ประธานสภาฯร่วมพิธีพระราชทานน้ำสรงศพหลวงปู่ทอง วันที่ 15 ธันวาคม 2562 ที่พระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่นาย… พระสงฆ์ไทยมอบพระไตรปิฏกฉบับสากลศาสนสัมพันธ์ไทย-อินเดีย วันที่ 6 มีนาคม 2563 พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. ฐานานุกรมในพระโสภณวชิราภรณ์… เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯพระราชทานผ้าลายพระราชทาน ในโอกาสเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรพัทลุง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา… ด่วน!! “อินทพร” รักษาการผอ.พศ.ลงนาม “เลื่อน-ย้าย” ข้าราชการระดับสูง 29 รายทั่วประเทศ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 นายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน…
Leave a Reply