วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๖ พระปราโมทย์ วาโกวิโท ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ร่วมการเสวนาวิชาการภายใต้หัวข้อ “การขับเคลื่อนกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย พ.ศ. ๒๕๖๒” โดยเปิดการเสวนาวิชาการ โดยหม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด จบทางกฏหมายแต่ใจอาจจะไม่จบ แต่ในทางพระพุทธศาสนาทำให้ใจจบ สามารถยุติได้จากภายใน ดำเนินรายการโดย นายธนเสฏฐ์ อ่อนละเอียด อัยการประจำสำนักอัยการสูงสุด สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด
พระเมธีวัชรบัณฑิต ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวว่า ในทางพระพุทธศาสนามองว่า “ใจจบ คดีจบ” จะต้องพิจารณาจากใจก่อนด้วยการทำใจให้จบด้วย เป็นกระบวนการไกล่เกลี่ยที่มีสติเป็นฐาน จะต้องเริ่มด้วยด้วยสติ ที่มีการเรียกร้องจำนวนเงินมากๆ เป็นการซึ่งศักดิ์ศรี แต่ถ้ามีการขอโทษอาจจะจบคดีโดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย จึงต้องใช้การไกล่เกลี่ยตามแนวทางบันได ๙ ขั้น ด้วยสติมาปัญญาจึงเกิด ในช่วงของเวลาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้องเป็นคนไม่มีอดีตและอนาคต แต่จึงมีปัจจุบันขณะ ในทางพุทธสันติวิธีจะต้องเริ่มต้นด้วย สติ ดับอารมณ์ร้อน มีการฟังอย่างลึกซึ้ง หาทางเลือกร่วมกัน มุ่งการค้นหาความต้องการที่แท้จริง และรักษาความสัมพันธ์ผ่านการใจจบคดีจบ โดยมหาจุฬาจึงมีนโยบายในการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยไปสู่ชุมชน องค์กร สังคม ขยายไปสู่ภูมิภาคที่มีวิทยาลัยเขต วิทยาลัยสงฆ์ ของ มจร ซึ่งอนาคตเราจะต้องขับเคลื่อนหลักสูตรระยะสั้นร่วมกันในแง่มุมร่วมกัน
จึงสะท้อนมุมมองว่า เวลาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในมุมของนักกฎหมาย จะวางตนเป็นกลางอย่างไร ? ถ้าสติมาอคติไม่มี ใจแคบเพราะมีอคติ สติทำให้ใจกว้างขึ้น ในการไม่ลงรอยกัน เราไม่หาจังหวะมาคุยกัน แต่อารมณ์ยังร้อนอยู่ควรรอเวลาให้ผ่อนคลายก่อน ซึ่งโทสาคติ จะความรุนแรงมากผ่านการแสดงออก ส่วนโมหาคติ จะต้องอธิบายให้ข้อมูล ให้ทางเลือก ให้มองข้อดีข้อเสีย
นายณรงค์ ศรีระสันต์ อัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงกฎหมายการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ๒๕๖๒ เวลาของการไกล่เกลี่ยในมุมของนักกฎหมายทำอย่างไรจะไม่มีอคติ จะต้องปราศจากอคติทั้งปวง จะต้องความเตรียมโดยมองว่าอย่ามองว่าใครผิด โดยมุ่งการอธิบายสิทธิ์และหน้าที่ให้ดีให้ชัดเจน ซึ่งนักกฎหมายจะได้เปรียบโดยมองสิทธิ์ รวมถึงมีการแยกฝ่ายในการพูดคุยเพื่อหาทางร่วมกัน โดยมองตัวเลขแห่งความสุข
จากนั้น ดร.อภิชิต อนันตประยูร ผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดชลบุรี ได้นำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้ประนีประนอมข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ในฐานะเป็นศิษย์เก่าระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของหลักสูตรสันติศึกษา มจร ถือว่าเป็นผลผลิตของหลักสูตรสันติศึกษา มจร ที่มีคุณภาพสร้างสังคมสันติสุขอย่างเป็นรูปธรรม
ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มจร ยังระบุด้วยว่า พร้อมกันนี้ได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ระหว่าง วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร กับ คณะสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุดและการเสวนาวิชาการ ณ ห้องไอมาย ชั้น ๒ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เริ่มต้นจากการสวดมนต์เจริญสติภายใน
พระเมธีวัชรบัณฑิต ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวต้อนรับคณะสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอนาคตความเป็นไปได้ก่อนจะฟ้องร้องคดีความจะต้องมีการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนไหม ? ในความเป็นมามหาจุฬาจึงมีการลงนามความร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้า สำนักงานศาลยุติธรรม ในข้อความลงนามว่า เราจะพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทร่วมกัน ทำให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มีการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ๒๕๖๒ โดยมีกฎหมายรับรอง ถือว่าเป็นเครื่องมือในการจัดการบริหารความขัดแย้ง
แท้จริงเรามีเครื่องมือในการจัดการและบริหารความขัดแย้ง แต่เราขาดท่าทีต่อกันซึ่งมีความสัมพันธ์กับคำว่า “สติ ขันติ สันติ” ท่าทีไม่มีความนุ่มนวล เช่น การเมืองไทยในขณะนี้ มีท่าทีไม่นุ่มนวลต่อกัน มหาจุฬาจึงพัฒนาสันติภายใน จึงมีคำว่า “ถ้าข้างในไม่พอ อย่าลืมไปสานต่อให้คนอื่น” จึงมีหลักสูตรสันติศึกษา มจร ในการขับเคลื่อนสันติศึกษา ซึ่งการลงนามความร่วมมือจะต้องขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม
หม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ทางอัยการใช้คำว่าประนอมข้อพิพาท จึงเป็นนิติสันติวิธีเป็นการประนอมข้อพิพาททางกฎหมาย ซึ่งจะมองกฎหมายว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด ด้วยการมองข้อกฎหมายเป็นหลัก จึงมีความแตกต่างกันระหว่างระหว่างพุทธสันติวิธีและนิติสันติวิธี ในทางกฎหมายจะมองคนผิดถูกแต่ทางศาสนาจะหาทางออกด้วยสติเป็นฐาน พัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยให้มีสติ ขันติ สันติ จึงต้องใช้พุทธสันติวิธีเข้าไปบูรณาการผ่านคำว่า “คดีจบ ใจจบ” คดีจบคือข้อพิพาทยุติตามกฎหมาย ส่วนใจจบคือการขอโทษ ขอขมา รักษาความสัมพันธ์คืนดีต่อกัน ไม่ผูกเวรผูกกรรมต่อกัน โดยการลงนามในครั้งนี้จะมีการขับเคลื่อนร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุขต่อไป
Leave a Reply