“มจร” จัดงาน “วันกตัญญู” เชิดชูเกียรติคุณคณาจารย์

วันที่ 30 ก.ย. 66  ณ อาคารวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานสงฆ์ในการจัดงาน “วันกตัญญู” เพื่อรำลึกคุณปการผู้เกษียณอายุการทำงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมี พระราชวัชรสารบัณฑิต รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนแลพัฒนา สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับ

 

พระธรรมวัชรบัณฑิต ได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รู้สึกยินดีเป็นอย่างที่ได้จัดงานวันกตัญญูเพื่อแสดงน้ำใจและมิตรไมตรีต่อท่านบุพการี บางท่านทำงานมาแล้ว 30 กว่าปี บางท่านอาจน้อยกว่า 30 ปี แต่พวกท่านทุกรูป /คน เป็นคนสำคัญของมหาวิทยาลัยที่ร่วมช่วยกันพัฒนาส่งเสริมและผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พวกท่านได้ทำ หิตประโยชน์ โดยใช้ความรู้ ความข้าใจ ในพันธกิจขององค์กร สอง พวกท่านได้อาศัยความรู้ ความเข้าในการปฎิบัติงานภายใต้กฎระเบียบ กฎหมาย และกฎเกณฑ์ขององค์กร และสามพวกท่านได้ใช้ความรู้ ความสามารถในการทำงานร่วมกับคนอื่นได้ อันนี้ถือว่าเป็น หิตประโยชน์ ในส่วนของปรหิตประโยชน์ ที่ว่าด้วย ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น พวกท่านในฐานะบุพการีชน ได้สร้างองค์ความรู้ ภูมิความรู้ให้นักศึกษาตลอดมา ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงฆ์ของเรามีคุณพิเศษไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ  นอกจากเราให้ความรู้ด้านวิชาชีพกับพวกเธอเหล่านั่นแล้ว เราได้ให้ความรู้ภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เราเรียกกว่า วิชาวิปัสสนาด้วย เพื่อฝึกจิตใจให้อดทน อดกลั้นต่ออารมณ์ต่าง ๆ  ในชีวิตประจำวัน  ตรงนี้คือความพิเศษของมหาวิทยาลัยของพวกเรา..”

ทางด้านพระราชวัชรสารบัณฑิต เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2566 มีบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์จากส่วนต่าง ๆ  ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทั้งจาก โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ คณะพุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณุมนุษย์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ บาลีเตรียมอุดมศึกษา กองคลังและทรัพย์สิน รวมทั้งวิทยาเขตต่าง ๆ  รวมทิ้งสิ้น 30 /คน

“การจัดงานวันกตัญญูนี้ ความจริงมหาจุฬา จัดมาทุกปีเดิมเราเรียกชื่องานว่าวันเกษียณอายุการทำงาน ตั้งแต่เราอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พอมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยย้ายมาตั้งอยู่ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อปี 2551 มหาจุฬา ฯก็ยังจัดงานในชื่อเดิม แต่มาเปลี่ยนชื่อจาก วันเกษียณอายุการทำงาน มาเป็น วันกตัญญู เมื่อปี 2553 ตั้งแต่นั้นจนบัดนี้ก็ใช้ชื่อนี้จัดงานเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีและเชิดชูเกียรติคุณของคณาจารย์ที่ทำงานอุทิศตนเพื่อคณะสงฆ์ เพื่อพระพุทธศาสนา รวมทั้งสังคมและประเทศชาติ และหลายท่านแม้จะเกษียณแล้ว ท่านยังมีไฟ ยังมีความรู้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็ยังให้ช่วยงานต่อไป..”

Leave a Reply