ปลัด มท. ประกาศจุดยืนบนเวที UN ประเทศไทย ขอเป็นหุ้นส่วนเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับโลกใบเดียวนี้ร่วมกับประชาคมโลก วันนี้ 9 พ.ย. 66 เวลา 13.45 น. ที่ ESCAP Hall ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (UN) ประจำประเทศไทย ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย คุณกีต้า ซับบระวาล (Ms. Gita Sabharwal) ผู้ประสานงาน UN ประจำประเทศไทย เป็นประธานร่วมงานหุ้นส่วนการพัฒนาระหว่างกระทรวงมหาดไทยและองค์การสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมี ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ดร.ออดรี – อานนท์ โรเชเลมันยา เลขานุการเอก หัวหน้าทีมฝ่ายความร่วมมือสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ผู้แทนหน่วยงานหลัก UN 21 หน่วยงานในประเทศไทย อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย และภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย ร่วมการประชุมอย่างเนืองแน่น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า ขอขอบคุณ UN Thailand ภายใต้การนำของคุณกีต้า ซับบระวาล และ 21 หน่วยงานภายใต้ UN Thailand ที่ได้ร่วมกับ มท. ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การลงนามประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน (Statement of Commitment to Sustainable Thailand) เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 65 ซึ่งวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่ชาวมหาดไทยผู้เป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดของพี่น้องประชาชนคนไทยและมวลมนุษยชาติ ในฐานะ “ผู้นำการบูรณาการร่วมกับทุกภาคีเครือข่าย” ทั้งที่จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน โดยคำนึงถึงความยั่งยืนหรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย เป็นกรอบในการทำงานที่สำคัญ “สังคมไทยเราเป็นสังคมที่มีเอกลักษณ์ที่ดีงามที่สังคมอื่นไม่มี คือ “เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ” และเป็นหลักชัยที่สำคัญยิ่งในการผลักดันให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำสิ่งที่ดี (Change for Good) ให้เกิดขึ้นกับสังคมไทย เกิดผลประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนคนไทย โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และข้าราชการมหาดไทยทุกคนต่างมีความเชื่อมั่นว่า “เราเป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ที่มีหน้าที่ต้องไปดูแลพี่น้องประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งในรอบ 18 เดือนที่ผ่านมา เราได้บูรณาการแก้ปัญหาความเดือดร้อนทุกเรื่องให้กับพี่น้องประชาชน อาทิ เราสามารถทำให้คนที่ไม่มีบ้านอยู่ได้มีบ้านอยู่เกือบ 2 แสนครอบครัว เราสามารถทำให้คนที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ไม่มีบ้านเลขที่ ได้มีบัตรประชาชน ได้มีเลขที่บ้านเป็นจำนวนหลายหมื่นคน รวมถึงปัญหาความเดือดร้อนอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เราช่วยกันขับเคลื่อนด้วยความตระหนัก ด้วยใจรุกรบ ซึ่งในปี 67 นี้ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและท่านนายอำเภอ จะใช้เวลาช่วงเดือน พ.ย. 66 ถึง 15 ม.ค. 67 ทำการสำรวจ ตรวจสอบ ลงพื้นที่เดินไปเคาะประตูบ้านคนไทย 20 ล้านครัวเรือนใน 76 จังหวัด เพื่อสำรวจความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครและเขตเทศบาลเมืองอีก 6 ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมจากการเมื่อปีที่ผ่านมา รวมทั้งทำการ Re X-ray 14 ล้านครัวเรือน ที่เคยเดือดร้อนและเราได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วไปควบคู่กัน เพื่อจะติดตามผลการช่วยเหลือว่ามีปัญหาความเดือดร้อนอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาหรือไม่ และที่เคยช่วยไปแล้วนั้นสำเร็จจริงหรือไม่ เพื่อที่ทีมมหาดไทยจะลงมือแก้ไขปัญหาเหล่านั้นร่วมกับภาคีเครือข่าย ทำให้พี่น้องประชาชนทุกคนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่ออีกว่า เป็นระยะเวลากว่า 4 ปีที่กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับสมาคมแม่บ้านมหาดไทยขับเคลื่อนการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีแก่โลกใบเดียวนี้ ผ่านการขับเคลื่อน “ถังขยะเปียกลดโลกร้อน” ในทุกครัวเรือนทั่วประเทศกว่า 14 ล้านครัวเรือน ซึ่ง “ผลแห่งความมุ่งมั่นตั้งใจนี้เอง” ปรากฏผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม “เป็นชาติแรกของโลก” ที่สามารถประกาศความสำเร็จการจัดการขยะอาหารจากครัวเรือนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบรรลุเป้าหมายประเทศไทยที่ยั่งยืน เพราะพวกเราทุกคนมี Passion โดยคำนึงถึงความสำคัญของ Partnership ที่อยู่ในพื้นที่ และช่วยกัน Action Now สนับสนุน ทุ่มเท พูดคุย สร้างความเข้าใจกับภาคีเครือข่ายที่สำคัญในพื้นที่ คือ ผู้บริหาร อปท. ผู้นำท้องที่ และพี่น้องประชาชน ทำให้ทุกวันนี้เป้าหมายในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ประมาณ 1.6 ล้านตันที่ทั่วโลกประกาศร่วมกันว่าจะสำเร็จในปี 2573 แต่กระทรวงมหาดไทยภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายได้ทำทะลุเป้าหมายแล้ว คือ ภายในปี 2569 เราจะลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศถึง 1.8 ล้านตันเศษ ซึ่งเป้าหมายในปีนี้ “จะมีการคัดแยกขยะไปสู่ถังขยะเปียกลดโลกร้อนครบถ้วนทุกครัวเรือน” และที่สำคัญที่สุดคาร์บอนเครดิตที่เราจะขายได้จากถังขยะเปียกลดโลกร้อน จะสร้างเงินรายได้กว่า 20,000 ล้านบาท กลับไปสู่ท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีความเดือดร้อน “Butterfly effect เกิดขึ้นเสมอ เพราะในขณะที่เรานำขยะเปียกใส่ถังขยะเปียกลดโลกร้อน เราได้น้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน” ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว โดยนำผลิตผลจากถังขยะเปียกลดโลกร้อนมาเป็นปุ๋ยอย่างดีที่เป็นมิตรกับสุขภาพพลานามัยของเรา และอีกประการที่สำคัญที่สุด นับเป็นความโชคดีของพี่น้องประชาชนคนไทยใต้ร่มพระบารมีของพระบรมราชจักรีวงศ์ที่พวกเรากระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำแนวพระดำริ Sustainable City สู่การขับเคลื่อน “หมู่บ้านยั่งยืน” (Sustainable Village)” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้พระราชทานพระดำรัสเน้นย้ำว่า “หน้าที่ของคนมหาดไทย คือ การทำให้เกิดหมู่บ้านยั่งยืน” เพราะ “คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” และคนที่จะทำให้คำตอบนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้ คือ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและท่านนายอำเภอ ที่เรากำลังร่วมกันในการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ด้วยการทำให้ทุกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านยั่งยืน เริ่มตั้งแต่ทำให้เกิด Partnership ขึ้นในหมู่บ้าน ผ่านระบบคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำ ผ่านระบบคุ้ม (กลุ่มบ้าน) ที่มีหัวหน้าคุ้ม เป็นผู้นำ ร่วมกันระดมสรรพกำลังสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามในทุกเรื่องให้เกิดขึ้น ทั้งเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แก้ไขปัญหาความยากจน แก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหาร น้ำ ปัจจัย 4 และเรากำลังจะก้าวไปสู่การเป็นประเทศผู้นำด้านแฟชั่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยพระดำริ “Sustainable Fashion” ในเร็ววันนี้อีกด้วย ทั้งนี้ ทุกท่านที่อยู่ในที่นี้ต้องช่วยกัน Action Now แล้วเราจะมีความสุขกับการช่วยกัน Change for Good ให้เกิดขึ้นในแผ่นดินไทย ในผืนโลกใบเดียวนี้ของเรา” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม ด้าน ดร.วันดีฯ กล่าวว่า เป็นเวลากว่า 1 ปีครึ่งแล้ว ที่สมาคมฯ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาบทบาทสตรีผ่านการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 ข้อ ของ UN เพื่อพัฒนาในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน โดยเรื่องที่ 1 คือ ความสำเร็จของการคัดแยกขยะครัวเรือน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ขับเคลื่อนโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนที่ได้รับการรับรอง Methodology พร้อมทั้งได้ขึ้นทะเบียนภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ถือว่าเป็นโครงการแรกของไทยที่เป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีขอบเขต และส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมกว่า 13 ล้านครัวเรือน ช่วยกันคัดแยกขยะอาหารจากครัวเรือน พร้อมกันนี้ธนาคารกสิกรไทยยังได้ให้การสนับสนุนโครงการฯ โดยรับซื้อคาร์บอนเครดิตทั้งหมดในราคาตันละ 260 บาท เกิดเป็นเงินรายได้กลับไปสู่ อปท. เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ต่อไป เรื่องที่ 2 เราประสบความสำเร็จในการร่วมกันส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวในครัวเรือน ซึ่งได้มีการดำเนินการไปแล้วกว่า 14 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 100% ตามจำนวนครัวเรือนเป้าหมาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 100 บาท/ครัวเรือน/วัน คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ต่อปี เป็นจำนวนเงินกว่า 500,000 ล้านบาท เกิดเป็นความเชื่อมโยงการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ทั้งสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางอาหาร การสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน “นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังได้น้อมนําแนวพระดําริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ด้วยพระองค์ทรงมีพระวินิจฉัยและทรงมุ่งมั่นในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ที่กําลังจะสูญหายให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง นํามาซึ่งการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างชีวิตที่ดีให้กับช่างทอผ้า และครอบครัว ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ และพัฒนาผ้าทอประเภทต่าง ๆ ของไทยให้ผ้าทอของไทยกลับฟื้นคืนชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา โครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก โดย มท. และสมาคมแม่บ้าน มท. สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท/คน/เดือน ทั้งมีการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมด้วยการไม่ใช้สารเคมีตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยการส่งเสริมให้คนในชุมชนพึ่งพาตนเองได้ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ปลูกพืชให้สีเพื่อย้อมสีธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการดําเนินงานตามเป้าหมาย SDGs จนทำให้เราสามารถก้าวข้ามมหากาพย์แห่งความยากลำบาก “เป็นหนึ่งเดียวในอาเซียน” ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม และสมาคมแม่บ้าน มท. จะร่วมกันขับเคลื่อนด้วยพลังของสตรี ด้วยความมุ่งมั่น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ UN ประจำประเทศไทย และทุกภาคีเครือข่ายตลอดไป” ดร.วันดีฯ กล่าวเพิ่มเติม คุณกีต้าฯ กล่าวชื่นชมว่า “การริเริ่มโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนเป็นโครงการสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถช่วยเติมเต็มกระบวนการสร้างความสมดุลให้แก่ระบบนิเวศ แก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขยายผลสู่ประเทศไทยเป็นสังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งตนได้มีโอกาสลงไปสังเกตการณ์พื้นที่ 5 จังหวัด (สกลนคร ปัตตานี พัทลุง เชียงราย และลพบุรี) พร้อมกับปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยการคัดแยกขยะของครัวเรือน 14 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ทำให้การปล่อยคาร์บอนลดลงถึง 5.5 แสนตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี อปท. สามารถขายคาร์บอนเครดิตเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีธนาคารรับซื้อและรายได้ก็นำกลับไปทำประโยชน์ในชุมชน ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้ครัวเรือนรวบรวมและคัดแยกขยะต่อไป และอีกหนึ่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ โครงการแฟชั่นที่ยั่งยืน (Sustainable Fashion) ที่เป็นแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มุ่งส่งเสริมพัฒนากระบวนการผลิตผ้าและเครื่องแต่งกายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบผ้า พัฒนารูปแบบ ลวดลาย นำไปสู่การยกระดับผ้าไทยให้กลายเป็น Soft Power ซึ่งตนได้มีโอกาสสัมผัสถึงภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของผืนผ้าบาติก ที่ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี และประทับใจในการมีส่วนร่วมของชุมชนและเยาวชนคนรุ่นใหม่ และหวังว่านับต่อจากนี้กระทรวงมหาดไทยและ UN จะกระชับความร่วมมือและขับเคลื่อน SDGs ให้ประสบผลสำเร็จในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป” จำนวนผู้ชม : 552 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author คณะสงฆ์ราชบุรี “สร้างบ้านให้โยม” อุทัย มณี มี.ค. 07, 2024 วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2567เวลา 08.30 น. พระปิฎกโกศล เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี… “เจ้าคุณประสาร” ฝากงาน 2 รมต.เพื่อไทย “เสริมศักดิ์ อดีตเด็กวัดมหาธาตุ – พวงเพ็ชร” ดูงานเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อุทัย มณี ก.ย. 02, 2023 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2566 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร… Change for Good : จังหวัดอุบล ฯ จับมือคณะสงฆ์ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” อุทัย มณี เม.ย. 21, 2022 วันที่ 21 เม.ย. 65 พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม… พระสงฆ์ร้อยเอ็ดเยี่ยมวัดพระครูโชติรัตนานุรักษ์ อุทัย มณี มี.ค. 02, 2019 วันที่ 2 มี.ค.2562 เพจ พระครูวิมลปัญญาคุณ ศรีแสงธรรม ได้โพสต์ข้อความว่า… หมดยุค “ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์” อุทัย มณี ม.ค. 30, 2023 เสื่อมจริง ๆ ไม่รู้หัวใจพระคุณเจ้าที่ละเมิดพระธรรมวินัย… ใครออกข้อสอบ?? ศาสดาของพระพุทธศาสนา คือ?? อุทัย มณี มี.ค. 29, 2022 วันที่ 29 มี.ค. 65 โซเซียลมีเดียลได้แชร์ภาพข้อสอบของโรงเรียนแห่งนี้… สัมภาษณ์พิเศษ : แรม เชียงกา ปราชญ์ตำบลหนองสาหร่ายประเมินจุดแข็ง-จุดอ่อน “โคก หนอง นา” อุทัย มณี พ.ค. 05, 2021 “ใครคิดจะทำเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน้อยต้องมีคุณสมบัติ… “พระพรหมสิทธิ” พร้อมคณะผู้บริหาร มจร “ร่วมงาน 90 ปีวัดฟู่ไฮ่ฉาน” ประเทศสิงคโปร์ อุทัย มณี ก.ค. 13, 2024 วันที่ 13 ก.ค. 67 พระพรหมสิทธิ อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม… สว.ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี “คดีเงินทอนวัด” 4 ประเด็น ทั้ง พศ.ทำผิดกฎหมาย -การเยียวยาพระภิกษุ -รองผอ.พศ.ถูกร้อง!! อุทัย มณี ต.ค. 07, 2024 วันที่ 7 ตุลาคม 67 นายนพดล อินนา สมาชิกวุฒิสภา ได้ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี… Related Articles From the same category ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงพื้นที่ติดตามแก้จน สำรวจพบ 3.5 ล้านครัวเรือนไทยยากจนตามนิยาม “ทุกปัญหาความเดือดร้อนคือ ความยากจน” วันนี้ 21 พ.ค. 65 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมพระมงคลมิ่งเมือง ชั้น… “วันอัฏฐมีบูชา” ประวัติ และความสำคัญที่ชาวพุทธควรรู้ วันนี้ (3 มิ.ย. 64) เป็น "วันอัฏฐมีบูชา" วันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งที่อาจไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก… พุทธะอิสระ “อนุโมทนา” พระเพนกวิน -พระไมค์ เตือนผู้มีอำนาจอย่ายึดแต่กฏหมายไม่งั้นจะเหลือแต่ วัดและพระพุทธรูป วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เพจ หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara) ได้โพสต์ว่า… แพทย์แผนจีนพุทธเมตตาถังหมิง แนะนำสมุนไพรเสริมสุขภาพต้านไวรัสโควิค ศูนย์การแพทย์แผนจีนพุทธเมตตาถังหมิง โรงพยาบาลเกษมราษฎร์… พ่อเมืองลำปาง ขับเคลื่อนโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” อย่างต่อเนื่อง วันที่ 15 ก.ย. 66 วานนี้ นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง…
Leave a Reply