“ประวัติศาสตร์ ธำรงชาติ” ชาติธำรงไว้ซึ่งประเทศไทย ปลัดมหาดไทยเปิดการฝึกอบรมวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำท้องถิ่น รุ่นที่ 5 เน้นย้ำ ทุกคนคือคนสำคัญที่จะร่วมกันภาคภูมิใจที่ได้ตอบแทนบุญคุณแผ่นดินบ้านเกิดผ่านการเป็น “ครูจิตอาสา” ผู้ถ่ายทอดบอกเล่าประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น นำพาประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข วันที่ 4 ก.พ. 67 เวลา 11.00 น. ที่หอประชุมทิพย์ช้าง ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมวิทยากรเพื่อทำหน้าที่ผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำท้องถิ่น ปี 2567 รุ่นที่ 5 โดยได้รับเกียรติจากนายกองเอก ธารณา คชเสนี (ครูป๊อด) นายหมวดตรี น้ำเพ็ชร คชเสนี สัตยารักษ์ (ครูปั๊ม) ดร.ลักษิกา เจริญศรี (ครูป้ายู) ร่วมเป็นวิทยากร โอกาสนี้ นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายชนาธิป เสมแย้ม นายพัชระ สิมะเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายปกรณ์ กรรณวัลลี ปลัดจังหวัดลำปาง นางสาวสุดาทิพย์ มูลอ้าย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำปาง ร้อยตรี สรมงคล มงคละสิริ ผู้อำนวยการสถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ 13 อำเภอ นายยอดชาย ผ้าเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ ลำปาง สุโขทัย พะเยา ลำพูน น่าน แพร่ เชียงราย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 150 คน ร่วมรับฟัง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตนรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งในฐานะข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้มาเป็นประธานเปิดฝึกอบรมวิทยากรเพื่อทำหน้าที่ผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำท้องถิ่น ปี 2567 รุ่นที่ 5 ด้วยความเคารพยกย่องและมาให้กำลังใจด้วยความภาคภูมิใจ ซึ่งทุกท่าน ณ ที่นี้ คือ ผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการน้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปถ่ายทอดบอกเล่าให้กับพี่น้องประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ที่อยู่ในภูมิลำเนา ที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย ไปทำหน้าที่เป็นดั่ง “ครูจิตอาสา” เพราะประเทศไทยใช้คำว่า ครู ที่มีรากศัพท์จากภาษาบาลีคำว่า ครุ อันแปลว่า หนัก เป็นผู้สั่งสอนศิษย์ เป็นผู้สอน ผู้แนะนำ ผู้ให้องค์ความรู้แก่ลูกศิษย์ ให้ได้มีทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ชาติไทย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น อันเป็นการสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ปรากฏในพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะสืบสานรักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และพระบรมราชโองการ องค์ที่ 2 “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระราชทานแก่ข้าราชบริพารในพระองค์ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ศาลากลางจังหวัดและที่ว่าการอำเภอเพื่อเตือนใจ เตือนสติ และทำให้พวกเรามุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ทั้งในฐานะข้าราชการและในฐานะพลเมืองของประเทศในการสนองพระบรมราชโองการ มุ่งมั่นทำให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข” โดยท่านนายอำเภอสามารถต่อยอดด้วยการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา ศาสนสถาน เชิญไปประดิษฐานในพื้นที่ที่เป็นสาธารณะในชุมชน เพื่อเกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนโดยส่วนรวม “วิชาประวัติศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญที่สังคมไทยเรามีความเชื่อและถือปฏิบัติมาอย่างผิด ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญ ไม่ได้ให้เป็นการเรียนการสอนหลัก และไม่นิยมให้มีการพูดคุยบอกเล่าอย่างเข้มข้น ดังตอนหนึ่งในพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พระราชทาน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ความว่า “เพราะเราจะพูดถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ที่ประเทศไทยบรรพบุรุษของเราสละชีวิตมาเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินมาด้วยเลือดเนื้อ ด้วยชีวิต แต่เสียดาย ….ไม่ให้เรียนประวัติศาสตร์แล้วนะ ….. ตอนที่ฉันเรียนอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ไม่มีประวัติศาสตร์อะไรเท่าไหร่ แต่เราก็ต้องเรียนประวัติศาสตร์ของสวิส แต่เมืองไทยนี่ บรรพบุรุษเลือดทาแผ่นดิน กว่าจะมาถึงที่ให้พวกเราอยู่ นั่งอยู่กันสบาย มีประเทศชาติ เรากลับไม่ให้เรียนประวัติศาสตร์ ….. อย่างที่อเมริกาถามไปเขาก็สอนประวัติศาสตร์บ้านเมืองเขา ที่ไหนประเทศไหน เขาก็สอน แต่ประเทศไทยไม่มี ไม่ทราบว่าแผ่นดินนี้ รอดไปอยู่จนบัดนี้เพราะใคร หรือว่ายังไงกัน อันนี้น่าตกใจ ชาวต่างประเทศยังไม่ค่อยทราบว่า นักเรียนไทยไม่มีการสอนประวัติศาสตร์ชาติเลย” ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญของพวกเราทั้ง 116 คน ตลอดจนถึงข้าราชการทุกคนที่ต้องร่วมกันน้อมนำด้วยการมนสิการ ถ่ายทอดสู่เด็ก เยาวชน ลูกหลาน เริ่มตั้งแต่การศึกษาประวัติศาสตร์ของครอบครัว วงศ์ตระกูล หรือประวัติศาสตร์ของชีวิต ที่จะทำให้พวกเรามีความกตัญญูกตเวทีต่อปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ซึ่งทุกวันนี้ลูกหลานเวลาทำบุญกรวดน้ำก็ไม่สามารถกล่าวถึงชื่อของบรรพบุรุษได้ทั้งหมด เพราะไม่รู้ประวัติของตระกูล ไม่รู้จักพี่น้อง ซึ่งจะส่งผลให้ในอนาคตก็จะไม่มีพี่น้อง เมื่อถึงยามคับขันก็จะไม่สามารถพึ่งพาอาศัยกัน และยังส่งผลสู่ท้องถิ่น ตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน ดังจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้เมื่อมีงานศพ มีงานแต่งงาน หรือมีครัวเรือนเดือดร้อนในหมู่บ้าน ก็จะไม่มีใครช่วยเหลือเกื้อกูล ส่งผลทำให้เกิดความล่มสลายของสังคมไทยที่เคยอยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่น ซ้ำร้ายจะส่งผลถึงในระดับชาติ เพราะประวัติศาสตร์ชาติไทยเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้คนที่ไม่ใช่พี่น้องทางสายเลือด และไม่รู้จักกันกว่า 60 ล้านคน มีความรักความสามัคคี แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่ประเทศเรามี “ประเพณีสงกรานต์” อันเป็นกุศโลบายทำให้เกิดการรวมญาติเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้พบปะสังสรรค์พูดคุย กินข้าว รดน้ำดำหัว และพากันไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ซึ่งจะทำให้เกิดความรักความสามัคคีในวงศ์ตระกูลในญาติมิตร ถ่ายทอดขยายผลสู่ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศชาติ มีความผูกพันรักใคร่ สามัคคี และหวงแหนผืนแผ่นดินไทย เฉกเช่นบรรพบุรุษของไทยเรา ที่ทุกวันนี้คนไทยเราไม่รู้จักว่าบรรพบุรุษไทยสละเลือดเนื้อชีวิตเพื่อรักษาผืนแผ่นดินไทย รักษาเอกราชของชาติไทยให้พวกเราได้อยู่อาศัยทุกวันนี้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยน้อมนำพระราชปณิธานสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง “แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย” ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงแรงงาน ด้วยการมุ่งเน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ชาติไทยแก่ข้าราชการและบุคลากร เพราะประวัติศาสตร์ชาติไทยทำให้เรารู้รากเหง้าเหล่ากอ และส่งผลให้เราเกิดความรักความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ถ้าคนไทยด้วยกันมีความเดือดร้อนเราก็จะช่วยเหลือกัน ถ้ามีศัตรูหมู่ร้ายมารุกราน เราก็กล้าที่จะลุกขึ้นสู้ และในยามปกติเราก็รำลึกนึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษ” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่ออีกว่า การเป็น “ครูจิตอาสา” คำว่า “จิตอาสา” ก็เป็นอีกหนึ่งในพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเล็งเห็นว่าในอดีตสังคมไทยเราเป็นสังคมแห่งความรักความสามัคคี เช่น เวลาไปเกี่ยวข้าว ไปนวดข้าว ไปขุดบ่อน้ำ ไปซ่อมบ้าน สร้างบ้าน งานศพ งานบวช งานแต่ง ก็ช่วยเหลือกัน เจ้าภาพก็จะมีข้าวแกง มีน้ำท่า เลี้ยงข้าว กินข้าวไปด้วยกัน แต่ทุกวันนี้งานบุญก็จะต้องเป็นการจ้างแม่ครัว จะทำอะไรก็ต้องจ้าง พระองค์จึงพระราชทานกำเนิด “โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน” เพื่อหนุนเสริมอบรมคนไทยให้เป็นจิตอาสา แต่ทั้งนี้ ความเป็นจิตอาสาก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีเครื่องแบบ และไม่จำเป็นต้องเข้าโรงเรียน แต่มันคือ “น้ำใจในความเป็นคนไทย” ที่เมื่อเห็นใครเดือดร้อนก็อยากช่วย เห็นสิ่งไม่ดีก็อยากแก้ไข เห็นเพื่อนฝูงยังมีงานค้าง เราก็เข้าไปถาม เข้าไปขออาสาช่วย โดยไม่ต้องมีใครสั่ง ไม่ต้องมีใครบอก เฉกเช่นการอบรมในวันนี้ ที่ทุกคนต่างมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ประการที่ 1 เรามาช่วยกันทำให้สังคมไทยได้มีความเอาจริงเอาจังในการพูดคุยบอกเล่าประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างเข้มข้น ประการที่ 2 เรามาแก้ไขในสิ่งผิดในเรื่องของการที่คนในสังคมนี้อยู่แบบตัวใครตัวมัน ไม่คำนึงถึงส่วนรวม ซึ่งเราสามารถแก้ไขด้วยการปฏิบัติได้หลายวิธี ดังที่คุณครูจิตอาสาทั้ง 3 ท่าน หรือ “ครู 3 ป” คือ ครูป๊อด ครูปั๊ม และครูป้ายู ได้มาเป็นเล่า เป็นแม่พิมพ์ จึงขอให้พวกเราได้ขยายจากครู 3 ป ให้กลายเป็นครู ก 116 คน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอร่วมกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น เชิญวิทยากร ครู ก ทั้ง 116 คน ไปถ่ายทอดในพื้นที่ ไปสร้างครู ข และสร้างองค์ความรู้สู่ประชาชนทั่วไปทุกช่วงวัย ขณะเดียวกันก็ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานกรรมการศึกษาธิการจังหวัดร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา บรรจุวิชาประวัติศาสตร์ในช่วงชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และกำหนดเกณฑ์การผ่านและไม่ผ่าน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ยังผลให้เด็กได้รับองค์ความรู้อย่างจริงจัง “ขอให้พวกเราเหล่าอัศวินผู้มุ่งมั่นเป็น ครู ก ช่วยกันไปสร้างประโยชน์แก่บ้านเมือง ด้วยการนำประวัติศาสตร์ชาติไทยไปเผยแพร่ ทั้งในการสร้าง ครู ข และการสร้างการเรียนรู้ในชุมชนและสังคมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากพวกเราช่วยกันอย่างน้อยที่สุด “ความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ” ก็จะเกิดขึ้น อันจะส่งผลให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เพราะถ้าประชาชนทุกคนภาคภูมิใจในความเป็นชาติ เลือดแห่งความรักคนบ้านเดียวกัน รักคนไทยด้วยกัน ก็จะแปลงเป็นความกล้า เกิดการรวมพลังความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละ ความรักใคร่ และเมื่อเกิดขึ้นในทุกหมู่บ้าน ก็จะทำให้ตำบลเกิดความรักความสามัคคี ถ้าเกิดในทุกตำบลก็จะทำให้อำเภอมีความรักความสามัคคี ถ้าเกิดในทุกอำเภอก็จะทำให้จังหวัดมีความรักความสามัคคี ท้ายที่สุดเมื่อเกิดในทุกจังหวัด ก็จะทำให้ประเทศชาติมีความรักความสามัคคี เกิดการถ่ายทอดสิ่งที่ดี ทั้งอาหาร ประเพณี วัฒนธรรม ก็จะคงอยู่คู่ชาติไทย ลูกหลานไทยก็จะได้อยู่อาศัยในผืนแผ่นดินไทยด้วยความสุขอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย ร้อยตรี สรมงคล มงคละสิริ ผู้อำนวยการสถาบันดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า สำหรับการฝึกอบรมในครั้งนี้ เป็นรุ่นที่ 5 มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 116 คน อายุมากที่สุด 75 ปี อายุน้อยที่สุด 22 ปี จาก 11 จังหวัด ได้แก่ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ ลำปาง สุโขทัย พะเยา ลำพูน น่าน แพร่ และเชียงราย ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 4 – 8 กุมภาพันธ์ 2567 รวม 5 วัน โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทยและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เสาหลักและหลักการดำรงอยู่ได้ของชาติไทย ประวัติศาสตร์ชาติไทย ความเสียสละของบูรพมหากษัตริย์ไทยในยุคกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ และพระราชประวัติ พระบุญญาธิการ พระอัจฉริยภาพ และพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจนจะมีการเสริมทักษะการสอนในแต่ละหัวข้อ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนประสบการณ์ที่ได้รับไปต่อยอด ขยายผล พบปะแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกันในการพัฒนาเครือข่ายในลักษณะการทำงานเป็นทีม นำไปสู่การขับเคลื่อนและสร้างกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ตามบริบทของภูมิสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน จำนวนผู้ชม : 1,902 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author โปรดเกล้าฯสถาปนาสมณศักดิ์ชั้นรองสมเด็จ 5 รูป ผู้บริหาร มจร ติดทำเนียบ 2 รูป อุทัย มณี ก.ค. 08, 2021 วันที่ 8 กรกฏาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ขั้นรองสมเด็จ… วัดไทยออสเตรเลีย : เปิดบริจาคเพื่อซ่อมวัดเสียหายจากไฟป่า อุทัย มณี ม.ค. 15, 2020 จากสถานการณ์ ไฟป่าประเทศออสเตรเลีย ที่มีการรายงานข่าวว่ามีสถานการณ์ที่เลวร้ายหนัก… นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา “ทำดี” ช่วยจำหน่ายผลผลิต “อะโวคาโดออร์แกนิกส์” แก้ทุกข์ให้เกษตรกร อุทัย มณี ก.ย. 24, 2023 วันที้ 24 ก.ย. 66 นายวรศักดิ์ พานทอง นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา เปิดเผยถึง… ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดกิจกรรม Live Market ต่อยอดด้านการตลาดจาก “ดอนกอยโมเดล” สู่ตลาดสากล อุทัย มณี ก.พ. 25, 2022 วันนี้ (25 ก.พ. 65) เวลา 11.30 น. ที่ไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ… เจ้าหน้าที่ จศป.แผนกบาลีเฮ!! แม่กองบาลีประกาศให้รายงานตัวแล้ว!! อุทัย มณี เม.ย. 01, 2024 วันที่ 1 เมษายน 2567 พระพรหมโมลี กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะ แม่กองบาลีสนามหลวง… “สมเด็จชิน” เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานร่วม ปลัดกระทรวงมหาดไทย วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างหอพระเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อุทัย มณี ก.พ. 11, 2022 วันนี้ (11 ก.พ. 65) เวลา 09:09 น. ที่สำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค… นายกฯ ชูพลังสตรีกุญแจสำคัญขับเคลื่อนประเทศทั้งเศรษฐกิจและสังคม ให้คำมั่นส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศและศักยภาพผู้หญิง ในการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2565 อุทัย มณี มิ.ย. 24, 2022 วันที่ 24 มิ.ย. 65 วานนี้เวลา 17.30 น. ที่ห้องคอนเวนชัน เซ็นเตอร์… เปิด “วิวาทะ” พม.ไพรวัลย์-ปวิน เดือดทั้งคู่!! อุทัย มณี ก.ย. 06, 2021 วันที่ 6 กันยายน 2564 หลังจากพระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ และพระมหาสมปอง… เป็นเรื่อง?? เผาศพผู้ติดเชื้อโควิด“พระโอเค”แต่โยมข้างวัดหลายแห่งแตกตื่น!! อุทัย มณี พ.ค. 16, 2021 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ระลอกที่ 3 ของประเทศไทย… Related Articles From the same category ‘บิ๊กตู่’เสี่ยงเซียมซีได้เลข17 แนะไม่ใช่ทำบุญเยอะๆเพื่อขึ้นสวรรค์ เมื่อเวลา 10.10 น. วันที่ 12 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า… “สมเด็จพระสังฆราช” ประทานโอกาสให้ เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกเฝ้า เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 เวลาประมาณ 22.00 น. เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช… วัดสุทธิวรารามถวายทุนเล่าเรียนหลวง สนองพระราชดำริ สมเด็จพระบรมพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๕ พระสุธีรัตนบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม… “พุทธะอิสระ” ไม่เลิก “ฟาดต่อพระภิกษุ” ผู้ร่วมงาน “อดีตพระเถระวัดสระเกศครองจีวร” ฐานรู้เห็นเป็นใจ เช้าวันนี้ (22 เม.ย.64 ) นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ อดีตพระพุทธะอิสระ… “เพชรวรรต” นำทีมเพื่อไทยกราบหลวงพ่อเพชรพิจิตร “อธิษฐาน” สานต่อพุทธมณฑลทั่วประเทศแบบสมัย “ทักษิณ” เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 เวลา 14.30 น. ที่วัดท่าหลวง (พระอารามหลวง)…
Leave a Reply