เกาะติด..การประชุมเตรียมพร้อม “งานวิสาขบูชาโลก” กิจกรรมงานวิสาขบูชาโลกครั้งที่ 19 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2567 นี้ จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ศูนย์ประชุมสหประชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จ.นครปฐม ตอนนี้ทุกอย่างพร้อมเกือบ 100 % แล้ว “ผู้เขียน” ได้รับเกียรติจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ให้ร่วมประชุมหลายครั้ง หลายวาระด้วย ฐานะหนึ่งใน สื่อมวลชน และอีกฐานะหนึ่งคือ ศิษย์เก่าที่มีความผูกพันกับสถานบันการศึกษาแห่งนี้ ทุกครั้งเวลาเข้าประชุมมักเห็นความตั้งใจของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยตั้งไว้ประมาณ 10 กว่าคณะ รายงานความคืบหน้าในการทำงาน ในขณะที่ “ผู้บริหาร” มักลงรายละเอียดซักถามที่ “คนข้างนอก” แบบเราไม่คาดคิดว่า ผู้บริหาร มจร จะคิดละเอียดทุกระเบียดนิ้ว ซึ่งหากที่ประชุมติดขัดหรือมีปัญหาและอุปสรรคอะไร ต้องให้ “จบลง” ที่ประชุมทันที “ผู้เขียน” ยกตัวอย่างภาระงานของ “ฝ่ายวิชาการและจัดสัมมนาทางวิชาการ” ที่มี พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ยกร่างคำกล่าวถวายรายงานประธานในพิธีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย จัดเตรียมหนังสือที่ระลึกเพื่อถวายสมเด็จพระสังฆราชหรือประธานในพิธี จะทำสูจิบัตร หนังสือรวมบทความวิชาการ พร้อมทั้งกระเป๋าอย่างละ 3,000 ชุดเพื่อแจกในงาน เชิญวิทยากร ผู้เสวนา ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ในการสัมมนาที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 2567 และบ่ายวันที่ 19 พฤษภาคม 2567 ที่จะมีทั้งแขกภายในประเทศและต่างประเทศร่วมเสวนา อีกคณะหนึ่งเป็นของฝ่ายปฎิคมต่างประเทศ ชุดนี้รับเฉพาะแขกนานาชาติ เพราะแขกภายในประเทศเป็นภาระงานของฝ่ายกิจการนิสิตที่จะต้องดูแลทั้งเรื่องรับส่ง โรงแรม อาหาร และบริการเมื่อเข้าร่วมงาน “ฝ่ายปฎิคมต่างประเทศ” นี้มี “พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน” รองอธิการฝ่ายต่างประเทศ เป็นประธาน ต้องประสานใกล้ชิดกับ “ทีมชุดใหญ่” คือ พระเมธีวัชรบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณหรรษา” ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) เป็น “คีย์แมน” เพราะ “ทีมชุดใหญ่” จะดูแลในภาพรวมทั้งหมด โดยเฉพาะแขกต่างประเทศ ทั้งจาก 73 ประเทศ ประมาณ 1,300 รูป/คน ทั้งเรื่องตั๋วเครื่องบิน โรงแรมที่พัก และรถรับส่ง จะรู้ว่าแขกคนไหนเป็น “วี.ไอ.พี.” พักที่ไหน จะต้องดูแลพิเศษหรือไม่ หากต้องดูแลพิเศษจะต้องประสานกับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง รถนำขบวน และรวมทั้งพระผู้ใหญ่หรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ มจร ที่ต้องไปคอยต้อนรับที่สนามบิน หรือแม้กระทั้งอาหารการฉันว่า อาหารประเภทไหนฉันได้ ไม่ได้ เพราะพระมหายานหรือเถรวาทบางรูปฉันเจ งดเนื้อสัตว์ รวมทั้งสถานที่ฉัน รวมทั้งที่นั่งทั้งในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและที่สหประชาชาติ อีกคณะหนึ่งสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าตาของงาน คือ “ฝ่ายจัดสถานที่และพิธีกรรม” คณะกรรมการชุดนี้มี “เจ้าคณะประสาร” พระราชวัชรสารบัณฑิต รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธาน โดยมี “พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเมธี ปธ.9” คณบดีคณะครุศาสตร์ ในฐานะ ผอ.กองแผนงาน เป็นมือขวาคอย “ประสานสิบทิศ” “เจ้าคุณประสาร” เป็น “คีย์แมนหลัก” การจัดงานวิสาบูชาโลก ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพราะคุมทั้งงบประมาณและกำลังคนมีการตั้ง “วอร์รูม” ทำงานที่ “ตึกอธิการบดี” เพื่อประสานงานกับ “ทีมงานเลขา” ทุกคณะ รวมทั้งผู้บริหารส่วนกลางและภูมิภาค ส่วนที่ “UN” การจัดสถานที่ การบริหารจัดการทุกอย่าง “เจ้าคุณหรรษา” เป็นผู้ดูแลทั้งหมด เนื่องจากมีประสบการณ์ทำมาหลายปี และทั้ง 2 รูปนี้ จะรู้เรื่องดีที่สุดเกี่ยวกับการจัดงานวิสาขบูชาโลก “ฝ่ายประชาสัมพันธ์” มี พระมหาชำนาญ มหาชาโน ปธ.9 รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์ เป็นแม่งาน และมี “มือขวา” อย่าง “สมหมาย สุภาษิต” เป็นผู้รันงาน “ครบเรื่อง” เพราะ “พี่หมาย” หรือ สมหมาย สุภาษิต มีประสบการณ์ทำ “พีอาร์” ให้กับ “มจร” มาอันยาวนาน ตั้งแต่ยุค “พระพรหมบัณฑิต” เป็นอธิการบดี มี “คอนเนคชัน” กับสื่อเกือบทุกสำนัก และ “รู้งาน” เป็นอย่างดี ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ “ผู้เขียน” ฟังการรายงานและการสรุปงานจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ “ค่อนข้างดี” หากจะมีบ้างที่ยังไม่ได้ทำ เช่น การแถลงข่าว หรือการโปรโมตงานในสื่อของรัฐ อันนั้น “ติดขัด” เนื่องจาก “ฝ่ายบ้านเมือง” เกิดสะดุด “เปลี่ยนม้ากลางศึก” คือ เปลี่ยนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ดูแลพระพุทธศาสนา จาก “แจ๋น” พวงเพ็ชร ชุนละเอียด เป็น “พิชิต ชื่นบาน” ความจริงมีอีกหลายคณะที่ร่วมกันทำงานจัดกิจกรรมวันวิสาขบูชานานาชาติหรือ “วิสาขบูชาโลก” เช่น ฝ่ายสวัสดิการ ที่ดูแลเรื่องเรื่องอาหาร ฝ่ายจราจร สถานที่จอดรถ และความปลอดภัย มี “ดร.สุรพล สุยะพรหม” รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไปเป็นแม่งานหลัก ภาพรวมการจัดกิจกรรมวันวิสาขบูชาโลกที่เล่ามานี้เฉพาะในส่วนของ “มจร” ความจริง “มมร” ก็ร่วมจัดเฉกเช่นเดียวกันคือ งานเสวนาทางวิชาการในวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 มี “สมเด็จชิน” สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็นประธาน และ “รัฐมนตรีอว.” นางสาวศุภมาส อิศรภักดี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมร่วมปาฐกถาด้วย อันนี้ยังไม่นับรวมการเสวนา “พระไตรปิฏกฉบับภาษาอังกฤษ” ที่เริ่มมีตั้งแต่วันที่ 16 -18 พฤษภาคม 2567 ซึ่งมีคณะสงฆ์ทั้ง 3 นิกาย คือ เถรวาท มหายาน และวัชรยาน เข้าร่วมถกเพื่อหาข้อสรุป เท่าที่ฟังเนื่องจากปีนี้เป็นปีพิเศษ จะมีการพิมพ์ 3 เล่ม คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม อย่างละ 1 เล่ม การทำพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ“พระพรหมบัณฑิต” เป็นประธานดูแลเรื่องนี้ และรวมทั้งดูแลภาพรวมของกิจกรรมวันวิสาขบูชานานาชาติด้วย ในฐานะพระพรหมบัณฑิต เป็นประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ส่วนกิจกรรม “เจริญพระพุทธมนต์นานาชาติ” ที่พุทธมณฑล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา เท่าที่ฟังปีนี้ “มหาเถรสมาคม” มอบให้ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ และที่น่าสนใจกว่าปีอื่น ๆ คือ ปีนี้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดรถริ้วขบวนรถบุปผชาติ เดินธรรมยาตราด้วย กิจกรรม “วันวิสาขบูชาโลก” นอกจากเห็นการทำงาน “เป็นทีม” ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ของ มจร โดยมี “พระธรรมวัชรบัณฑิต” เป็นโต้โผใหญ่แล้ว กิจกรรมวันวิสาขบูชาโลก ยังได้สร้างชื่อเสียงให้กับ “มจร” และประเทศไทยในฐานะเป็นศูนย์กลาง “พระพุทธศาสนาโลก” ที่นานาชาติมอบไว้วางใจให้ด้วย จำนวนผู้ชม : 1,010 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ชื่นชมคณะสงฆ์เขตบางกะปิ..แก้ปัญหาพระ “ยืน-ปักหลัก” รับบาตรทันที หลังได้รับร้องเรียน!! อุทัย มณี ต.ค. 04, 2023 วันพุธ ที่ 4 ตุลาคม 2566 พระครูอุดมพัฒนาคุณ เจ้าอาวาสวัดพระไกรสีห์… 18 ส.ค.นี้! พระพรหมบัณฑิต เปิดห้อง’IMind’เรียนออนไลน์ ‘IBSCมจร’ อุทัย มณี ส.ค. 17, 2019 วันที่ 17 สิงหาคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร.… ปราชญ์ล้านนานอนตายตาหลับ ตั้งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นฐานพลังพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน อุทัย มณี ม.ค. 14, 2023 วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา… สวยพริ้งทั้งภายใน-นอก! ผู้สมัครส.ส.สายธรรม อุทัย มณี ก.พ. 17, 2019 มีการประชันโฉมเหล่าผู้สมัคร ส.ส.ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขต… รัชกาลที่ 4 ทรง “เอาใจใส่” ธรรมยุตนิกาย จนเกิดพระราชนิยมใหม่? ในหมู่เจ้านาย อุทัย มณี พ.ย. 28, 2021 ระหว่างการผนวช 27 พรรษา รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนา “ธรรมยุตินิกาย”… หวั่นพระถูกข้อหารุกป่า! พศจ.ขอนแก่นแจ้งเจ้าสำนักที่พักสงฆ์ ขอตั้งวัด-ผ่อนผันภายใน 7 ก.ย.นี้ อุทัย มณี ส.ค. 10, 2021 สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดขอนแก่น แจ้งเตือนที่พักสงฆ์ในพื้นที่… โยมทุกข์อาตมาก็ร้อนใจ! ฝุ่นขนาดเล็กกับผลกระทบที่ไม่เล็กต่อสังคมไทย อุทัย มณี ธ.ค. 20, 2019 บ่ายวันที่ 19 ธันวาคม 2562 “เครือข่ายอากาศสะอาด” ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ… ผู้ว่าปทุมธานีร่วมกับคณะสงฆ์ปทุมธานี เปิดโครงการ “คลินิกโควิด ห้องผู้ว่าปทุมฯ” อุทัย มณี ก.ค. 14, 2021 วันที่ 14 ก.ค.64 นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี… ‘มจร’จับมือม.เพนซิลเวเนีย ออกแบบห้องสมุดดิจิทัล’IBSC’ อุทัย มณี มิ.ย. 03, 2019 พระพุทธศาสนาหยั่งรากในสหรัฐอเมริกา 'อธิการบดี มจร' แสดงพระธรรมเทศนาอานิสงส์การสร้างโบสถ์ในพิธีผูกพัทธสีมาวัดสัทธาธรรม… Related Articles From the same category “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์” เปิดกิจกรรม “วันวิสาขบูชา” มมร เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์… สมเด็จพระมหาธีราจารย์ มอบทุนการศึกษาแก่ พระภิกษุ – สามเณร -นิสิต -นักศึกษา ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายครบรอบวันมรณภาพ พระธรรมปัญญาบดี อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ท่าเตียน วันที่ 27 ก.ค. 65 เวลา 10.30 น. ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร… “ทองย้อย”มองไม่มีเลย! พระเณรเรียนบาลีที่ค้นคว้าพระไตรปิฎกอรรถกถาฎีกา เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เพจทองย้อย แสงสินชัย ได้โพสต์ข้อความว่า… พระเข้าอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ร่วมปลูกต้นไม้ที่เขาค้อตามศาสตร์พระราชา หวังคนไทยพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.09 น. พระโสภณวชิราภรณ์,ดร. อัคคมหาบัณฑิต… แห่ไหว้’องค์พ่อสำเร็จ’โรงเจดังบ้านแพ้ว เศรษฐีแอบมาขอความมั่งคั่ง-ร่ำรวย ถ้าพูดถึงสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนเดินทางไปกราบไหว้ขอพรมากที่สุดตอนนี้…
Leave a Reply