สัมภาษณ์พิเศษ : เจ้าคุณประสาร “คีย์แมน” จัดงาน “วันวิสาขบูชาโลก”

กิจกรรมวันวิสาขบูชานานาชาติหรือ “วันวิสาขบูชาโลก” ที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2567 อยู่ ณ ตอนนี้ ถือว่าเป็นกิจกรรมสำคัญไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั่น นับว่าเป็นกิจกรรมสำคัญสำหรับชาวพุทธทั่วโลก เนื่องจากเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระศาสดาผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่มีคนนับถือทั่วโลกมากกว่า 700 ล้านคนถือว่าเป็นศาสนาที่มีคนศรัทธาอันดับ 4 ของโลก

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์รู้จักพัฒนาตนเอง ผ่านหลักไตรสิกขา ชีวิตจะสุขหรือทุกข์ สำเร็จหรือไม่สำเร็จ เกิดขึ้นด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม “กฎแห่งกรรม” มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย คือ ให้พึ่งตนเอง เพื่อพาตัวเองออกจากกอง ทุกข์ มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง ปัญญา เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด เรียกว่า “พระนิพพาน”

ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันศาสนาพุทธ ได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก ด้วยมีผู้นับถือในหลายประเทศ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาสากล

สอดคล้องกับมติขององค์การสหประชาชาติ หรือ “UN” ที่รับรับรองให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 พร้อมกับกำหนดให้จัดกิจกรรมในวันดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของ UN ทั่วโลก

การจัดงานวิสาขบูชานานาชาติระหว่างวันที่ 19 -20 พฤษภาคม 2567 รัฐบาล มหาเถรสมาคม และคณะสงฆ์ มอบให้กับ “มจร” หรือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็น “แม่งานหลัก” เนื่องจาก  พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อุปนายกสภามหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่ง “ประธานสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก : International Council for the Day of Vesak “ เรียกย่อ ๆ ว่า  “ICDV”  และมี  “พระพรหมวัชรธีราจารย์” อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำรงตำแหน่ง “เลขาธิการ ICDV”  องค์กรนี้รับรองโดยสหประชาชาติ เป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษของสหประชาชาติ ทำงานร่วมกับสหประชาชาติ โดยใช้หลักกิจกรรมศาสนาเป็นตัวขับเคลื่อน ภายใต้ พันธกิจร่วม 4 ประการคือ (1) การพัฒนาที่ยั่งยืน (2) สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (โดยเฉพาะเรื่องภาวะโลกร้อน) (3) การศึกษา และ (4) การสร้างสันติภาพ

การจัดงาน “วิสาขบูชานานาชาติ” ครั้งที่ 19 ประจำปี 2567 นี้ รัฐบาล มหาเถรสมาคม และ สมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ “มจร” เป็น แม่งานหลัก ในจัดสรร จัดหางบประมาณ วานแผนงาน วางกำลังคน และประสานกับเครือข่ายทั้งในประเทศและประเทศชาวพุทธจากทั่วโลก ซึ่งได้กำหนดจัดงานไว้ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ,ศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

“เจ้าคุณประสาร” หรือ พระราชวัชรสารบัณฑิต รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยถือว่าเป็น “คีย์แมนหลัก” ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการจัดงานกิจกรรมนานาชาติเนื่องด้วยวันวิสาขบูชา ที่ต้องประสานกับทุกฝ่ายทั้งการจัดงานที่ มจร และ UN รวมทั้ง พุทธมณฑล

เวปไซต์ข่าว “thebuddh” ได้พบเจ้าคุณประสารในขณะที่กำลังเช็คความพร้อมการเตรียมงานในวันสำคัญระดับโลกแห่งนี้ จึงขอสัมภาษณ์พระคุณเจ้า เป็นกรณีพิเศษ โดยมีรายละเอียดดังนี้

การจัดงานวิสาขบูชานานาชาติหรือวิสาขบูชาโลก ตอนนี้พร้อมแล้วหรือยัง

การจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ. วันสําคัญสากลของโลกครั้งที่ 19 ครั้งที่สิบเก้าในวันที่19 พฤษภาคม ที่อาคาร มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  และวันที่20 พฤษภาคม ศูนย์ประชุมสหประชาชาติที่ถนนราชดําเนินนอก ขณะนี้ฝ่ายจัดงานหลักคือ สมาคมสภาวิสาขบูชานานาชาติและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มีความพร้อม100เปอร์เซ็นต์ ยืนยันว่าเรามีความพร้อม 100 เปอร์เซ็นต์

ประธานฝ่ายสงฆ์นั้น เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานให้เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัด พระเชตุพลวิมลมังคลาราม กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานแทนพระองค์ในพิธีเปิดในวันพรุ่งนี้ ส่วนทางฝ่ายรัฐบาลนั้น ท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้มอบหมายให้ คุณพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านกิจการพระพุทธศาสนาเป็นประธาน มากล่าวต้อนรับในวันพรุ่งนี้

การจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ จัด 3 แห่ง คือ มจร ที่ UN  และที่พุทธมนฑล จังหวัดนคร มีการประสานงานกันอย่างไร

  จะขออธิกายออกเป็น 3  ส่วนใหญ่ ก็คือหนึ่ง เรื่องสถานที่ สถานที่นั้นใช้ 3 แห่ง อย่างที่กล่าวมา แต่ที่สําคัญกว่านั้นคือการบูรณาการในการทํางานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการทํางานที่มหาจุฬา วังน้อย ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการทํางานที่หอประชุมองค์การสหประชาชาติ ยูเอ็นเอ็กซ์แคป ก็ตาม และก็ที่พุทธมณฑลก็ตามล้วนแต่เป็นทีมเดียวกัน คือเป็นทีมจากสมาคมวิสาขบูชานานาชาติ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จากสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยและภาคีเครือข่าย เพียงแต่ต่างกันในเรื่องสถานที่เท่านั้นเอง เพราะทีมงานจึงเป็นทีมเดียวกัน. ทํางานร่วมกัน ภายใต้นโยบายเดียวกัน จึงไม่มีปัญหาในเรื่องนี้

 ทาง มจร มีการปรับวิธีทำงานอย่างไร เนื่องจากปีนี้มีวิทยาเขตมาร่วมทีมด้วย

ปีนี้นโยบายโดยสภามหาวิทยาลัย  มีนโยบายสําคัญไว้ 3  เรื่องใหญ่ใหญ่ เรื่องหนึ่ง เป็นปีมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะต้อง แสดงออกถึงความจงรักภักดี แสดงออกถึงสิ่งที่พระองค์ท่านได้ปฏิบัติ ติดต่อพสกนิกรชาวไทย และ ในฐานะที่พระองค์ท่านเป็นพุทธมามกะ ต้องให้ได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งเหล่านี้ให้ชาวโลกได้เห็นได้ตระหนักรู้ เพราะภายใต้ประเทศไทยและพระพุทธศาสนานั้น เรามีความร่มเย็นเป็นสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์ท่าน อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องตระหนักได้ว่างานจะต้องเป็นงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคล 72 พรรษา อันนี้เป็นเรื่องสําคัญ เรื่องที่สอง  การจัดงานในครั้งนี้นั้น จะต้องมีภาคีเครือข่ายและองค์กร ของชาวพุทธ และชาวพุทธต่าง ๆ ทั้งในประเทศและทั่วโลกมารวมกัน เพราะเราจะพูดถึง ความสมัครสมานสามัคคี. พูดถึงการผลักดันกงล้อแห่งธรรมไปสู่มวลมนุษยชาติ การที่จะผลักกงล้อแห่งธรรมไปสู่มวลมนุษยชาตินั้นสําคัญที่สุด ชาวพุทธทั่วโลกจะต้องมีความสามัคคีกัน เพราะเราต้องไม่ลืมองค์กรชาวพุทธต่างๆ ทั้งเป็นชาวพุทธ ในต่างประเทศ และที่สําคัญก็คือ พระสงฆ์ไทยที่ไปเป็นพระธรรมทูตปฏิบัติศาสนกิจอยู่ทั่วทุกมุมโลก อย่างน้อย 12 องค์กร เช่น สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา สหภาพพระธรรมทูตในยุโรป พระธรรมทูตอินเดียเนปาล. ในอินโดนีเซีย. ในมาเลเซีย ราได้นิมนต์ท่านมา เพื่อมาหารือร่วมกันว่า ใน วิสาขบูชา หนึ่ง การบูชาด้วยอามิส อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านได้ไว้ ว่า การบูชาด้วยอามิสก็ทําได้ แต่ที่จะประเสริฐที่สุดคือการบูชาด้วยการปฏิบัติ เราจะมาร่วมกันปฏิบัติบูชา คือนํา ธงแห่งธรรมนี้ ผลักดันกงล้อแห่งธรรมนี้ไปสู่ชาวโลกให้ผาสุขได้อย่างไร อันนี้มันต้องมีความสามัคคีของผู้คนทั่วโลกและ  ประการที่สาม ในส่วนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนั้น ภายใต้บารมีของพระเดชพระคุณพระพรหมวชิราธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัย พระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต อุปนายกสภามหาวิทยาลัย พระเดชพระคุณพระพรหมวัชรธีราจารย์ ท่านอธิการบดี เราทํางาน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปีนี้จึงได้ให้ทั้งส่วนกลาง. วิทยาเขต. วิทยาลัยสงฆ์. หน่วยวิทยบริการมาร่วม มาร่วมนั้น มาร่วมในสองในสามสถานะ หนึ่งมาร่วมในฐานะเป็นเจ้าภาพร่วมกัน เพราะมหาจุฬาฯเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สองมาร่วมในฐานะที่เข้าร่วมประชุม ร่วมกัน และในฐานะที่เป็นโคร่วมกันที่จะผลักดันกงล้อแห่งธรรมนี้ให้ไปสู่ประชาชน คนไทยได้อย่างไร และคนทั่วโลกได้อย่างไร ในภาวะที่โลกมีความขัดแย้งกันอยู่ และข้อที่ สามนั้นคือ การทำงานร่วมกัน การรักสามัคคีกันต้องเกิดจากองค์กรก่อนแล้วถึงจะผลักดันอย่างอื่นได้ เรื่องนี้ พระเดชพระคุณนายกสภาก็ตาม ท่านอธิการบดีก็ตาม ท่านให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมทั้ง 3 เรื่องนี้เหมือนกัน

1.เราเป็นเมืองพุทธ เป็นเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนา คนส่วนใหญ่ในประเทศนี้กว่า 90 เปอร์เซ็นต์นับถือพระพุทธศสานา การที่ประเทศไทยเฉลิมฉลองวิสาขบูชานั้น ส่งสัญญาณ 2 เรื่องคือ หนึ่งในฐานะชาวพุทธเราต้องให้ความสำคัญกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีสิ่งประเสริฐเกิดขึ้น 3 ประการ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน อันนี้เป็นการบูชาให้เห็นว่าเมืองพุทธ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนรวมทั้งประเทศไทยนั้นเราจะต้องบูชาสิ่งนี้

 2. ในปี 2548 เราได้รับฉันทามติจากผู้นำทั่วโลกในงานประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ให้เราเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก การเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก สิ่งสำคัญที่สุดคือ การรวมชาวพุทธจากทั่วโลกในแต่ละปีแล้วมาปรึกษาพูดคุยกันว่า การจะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง และให้ผู้คนอยู่กันอย่างสงบสันติ ภายใต้คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างไร ในแต่ละปีต้องมาพบเจอพูดคุยกัน และนำไปเผยแผ่และนำกลับมาทบทวน เหมือนสมัยพุทธองค์เมื่อท่านส่งสาวกไปเผยแผ่ เมื่อสาวกกลับมา พระองค์ก็จะถามและให้คำแนะนำว่าควรจะทำอย่างไร อันนี้เราก็เหมือนการปฏิบัติตามพุทธกิจที่พุทธองค์ได้วางไว้คือ สาวกไม่ว่าจะเป็นชนชาติไหนในทั่วโลกนี้ จะต้องกลับมาพูดคุยกัน หารือช่วยกันผลักดันต่อไป แล้วประเทศไหนจะเป็นประเทศที่เป็นตัวกลางอย่างนี้ ก็ต้องประเทศไทย เราจึงเปรียบเสมือนยูเอ็นทางฝ่ายบ้านเมือง เราเป็นยูเอ็นทางด้านพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์กลางที่นิมนต์เชิญคนเหล่านี้มาทำงานร่วมกัน

วันวิสาขบูชานั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน ปัจจุบัน อยู่ในประเทศเนปาล  และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดีย  และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา  ปัจจุบันอยู่ในประเทศประเทศอินเดีย โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ  ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน

ในฐานะประเทศไทยชาวพุทธทั่วโลกยอมรับให้เป็น “ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก” ระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2567 ที่ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ ที่มีชาวพุทธทั่วโลกเดินทางมาร่วมประชุม ร่วมกิจกรรมประมาณ 73 ประเทศ มากกว่า 1,300 รูป/คน จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ชาวพุทธในประเทศไทยควรเป็นเจ้าภาพที่ดี ปฎิบัติตนให้แบบอย่างในความเป็นชาวพุทธที่ดี และที่สำคัญเนื่องด้วยปีนี้เป็นปี “มหามงคล” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ผู้ทรงเป็น “พุทธมามกะ” ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา ซึ่งกิจกรรม “วันวิสาขบูชานานาชาติ” นี้ถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่รัฐบาล มหาเถรสมาคม และคณะสงฆ์ จัดขึ้นเพื่อ

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พวกเราในฐานะพสกนิกรนอกจากร่วมกิจกรรมเพื่อถวายเป็น “พุทธบุชา” แล้ว  จึงควรถือโอกาสนี้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดีด้วยเช่นกัน!!

Leave a Reply