ปฏิญญาชาวพุทธ 73 ประเทศ ขอรัฐบาลทุกประเทศลดความขัดแย้ง ยกประเทศเวียดนามแบบอย่างที่ดี “ลืมอดีตแห่งความปวดร้าว” สร้างชาติอย่างมีสติ!!

วันที่ 20 พ.ค.  การประชุมวิสาขบูชา ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ วันสำคัญสากลของโลก  ภายใต้หัวข้อ “พุทธวิถีสู่การสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี” ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จัดณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยาและศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ  กำลังจะจบลงแล้วอย่างยิ่งใหญ่และประทับใจทั่วโลก ซึ่งทุกปีจะการแถลงการณ์ปฎิญญาจากผู้นำชาวพุทธนานาชาติ  สำหรับปีนี้มีถ้อยแถลงดังนี้

เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศ ได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคมเป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและสำนักงานประจำภูมิภาคต่างๆ

 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔) ดังนั้น วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี ๒๕๔๓ ด้วยความร่วมมือของชาวพุทธทุกนิกาย

 เพื่ออนุวัตรตามมติที่ประชุมสหประชาชาติ พวกเราจาก ๗๓ ประเทศและภูมิภาค จึงได้มาร่วมกันฉลองวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗/ค.ศ. ๒๐๒๔ และฉลองพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ แห่งประเทศไทย

 การประชุมครั้งนี้จัดโดยสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และรัฐบาลไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย

ในการประชุม ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พวกเราได้พิจารณาเรื่อง “พุทธวิถีสู่การสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี” โดยมุ่งให้เกิดความเข้าใจกันและทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรและเอกชน จากทุกนิกายของพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น

ในที่สุดแห่งเจตน์จำนงและการฉลอง ที่ประสบผลสำเร็จ พวกเราได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า

 ๑. สิ่งแรกสุด ผู้นำชาวพุทธจากนิกายพุทธที่ต่างกัน จาก ๗๓ ประเทศและภูมิภาค ขออ้างอิงคุณพระศรีรัตนตรัยจงอำนวยพร แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ ๗๒ พรรษา ขอให้พระองค์มีพระอนามัยสุขสมบูรณ์ มีพระชนมายุยาวนาน มีความเจริญรุ่งเรือง และความสุขยิ่ง

 ๒. พวกเราผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน ขอแสดงความชื่นชมต่อโครงการแปลพระไตรปิฏกฉบับหลวง เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งในการแปลนี้ มีนักปราชญ์ชาวไทยและนานาชาติ แปลพระไตรปิฏกภาษาบาลีฉบับสยามรัฐ จำนวน ๔๕ เล่ม เป็นภาษาอังกฤษ โครงการนี้ริเริ่มโดยกรรมการมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนันอย่างดีจากรัฐบาลไทย เพื่อฉลองการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งในปีนี้ตรงกับการฉลองพระชนมายุ ๗๒ พรรษา จะพิมพ์พระไตรปิฏก จำนวน ๓ เล่ม จากแต่ละปิฏก

 ๓. เพื่อยอมรับความรู้ถึงจุดประสงค์และความรับผิดชอบทั่วไปร่วมกัน พวกเราประชาคมชาวพุทธทั่วโลก ขอเรียกร้องทุกคนและรัฐบาลให้มีความพยายามยิ่งขึ้นในการสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี ในโลกปัจจุบันที่แตกร้าวเพราะความขัดแย้งกัน โดยการใช้สติ มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีความเมตตากรุณา และมีความเคารพกัน เป็นแผนที่แนวทางปฏิบัติ

 ๔. เพื่อยอมรับถึงทุกข์มีอยู่ และทุกคนมีปรารถนามีความสุข พวกเรามีมติที่จะสร้างความรู้ถึงความเชื่อมโยงกัน ที่อยู่เหนือความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมและแนวความคิด

๕.พวกเราขอกำหนดแนวทางในพระพุทธศาสนา โดยใช้การเพาะปลูกฝังให้มีความไว้วางใจกัน ภายในตัวเราเองและใช้ร่วมกับคนอื่น โดยเปลี่ยนจากแนวความคิดแข่งขันกัน สู่ความคิดให้มีความร่วมมือกัน ในการส่งเสริมการจัดการอารมณ์อย่างมีสติ มีการสื่อสารและการแก้ไขปัญหาที่มีผล อย่างมีสติ และนำไปสู่ความร่วมมือกันทำงานทั่วโลก

 ๖. พวกเราจะเพิ่มความพยายามในการทำงานร่วมกันและการมีส่วนร่วม ในการศึกษาอย่างมีสติ เพื่อหล่อเลี้ยงให้โลกมีความสงบและมีความเห็นอกเห็นใจกันยิ่งขึ้น ซึ่งตั้งอยู่กับความประพฤติอย่างมีจริยธรรม การใช้สติ และความเห็นอกเห็นใจกัน ทุกๆ ภาคส่วนของสังคมให้มีความสามัคคีกัน ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ในเรื่องอริยสัจสี่และมัชฌิมาปฏิปทา

๗. พวกเราขอเน้นย้ำเรื่องขันติธรรมและการพูดคุยกันอย่างมีสติ ใช้เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่า สำหรับหล่อเลี้ยงให้ความเคารพต่อกันมากกว่าใช้การตัดสินชี้เด็ด แต่ให้สร้างสะพานก้าวข้ามความแตกต่างทางด้านศาสนา และให้มีความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม

๘. พวกเราเรียกร้องให้ชุมชนชาวพุทธและทุกชนชน มีความเห็นอกเห็นใจกันอย่างมีสติ ในทุกส่วนของชีวิต ดังที่เราสนทนากัน เช่น (ก) การรับประทานอาหารอย่างมีสติ เหมือนกับการรับประทานอาหารแบบเซน ที่เราต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนจากหลายๆ ภาคส่วน ในการรับประทานอาหารแต่ละครั้ง (ข) การเห็นอกเห็นใจกันอย่างมีสติ ในสถานที่ทำงาน เช่น คนทำงานเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ (ค) การศึกษาอย่างมีสติ เหมือนกับโครงการโรงเรียนมีสติ (สติปะสาละ) ในประเทศศรีลังกา (ฆ) ประเด็นทางด้านภูมิอากาศ ภาวะผู้นำอย่างมีสติ และความเชื่อมสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศวิทยา

๙. พวกเราตกลงกันว่า จะต้องใช้สติในทุกๆ กิจกรรม เช่น ทางการทูต การค้าระหว่างประเทศ การสร้างชาติ เช่น ตัวอย่างที่ดีของประเทศเวียดนาม ซึ่งใช้สติมุ่งถึงปัจจุบันมากกว่าคิดถึงอดีตที่ปวดร้าว ดังนั้น จึงนำการเยี่ยวยามาแก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง และช่วยส่งเสริมสันติภาพโลกและความเจริญรุ่งเรือง

 ๑๐. การใช้สติ ถ้านำมาใช้อย่างแพร่หลายในสังคม มีศักยภาพลดความเท่าเทียมกัน ทำให้สุขภาพและเศรษฐกิจ ลดช่องว่างระหว่างคนมีและคนไม่มี ดังนั้น จะเป็นเครื่องมือทำให้บรรลุถึงเป้าหมายการพัฒนาแบบยั่งยืนของสหประชาชาติ และมีการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอนาคตยั่งยืนของพวกเรา

๑๑.เพื่อช่วยให้สังคมมีความสามัคคียิ่งขึ้น พวกเราขอเน้นย้ำให้สังคมรับรู้และมีความรับผิดชอบ ในการส่งเสริมให้ทุกคนใช้สติกับสุขภาวะของคนอื่นและชุมชน

๑๒.สุดท้าย สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก มีความยินดีที่จะแจ้งให้ทราบเรื่องการรับรองและสนับสนุนคณะสงฆ์ชาวพุทธเวียดนาม รับเป็นเจ้าภาพจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๒๐ ที่เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ปี พ.ศ. ๒๕๖๘/ค.ศ. ๒๐๒๕ ซึ่งจะเป็นครั้งที่ ๔ ที่ประเทศเวียดนามได้รับเกียรติสูงสุด เราขอเชิญชวนผู้นำชาวพุทธ นักปราชญ์ ผู้สนใจทุกท่านร่วมงานกับพวกเราสำหรับโอกาสสำคัญเช่นนี้

Leave a Reply