ปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษ “ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาลยุติธรรม” ให้กับผู้ช่วยผู้ เน้นย้ำ น้อมนำแนวพระราชดำริ เพื่อสร้างสายธารแห่งความยุติธรรม สร้างความสุขที่ยั่งยืนให้กับพี่น้องประชาชน วันนี้ (26 พ.ค. 65) เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ ชั้น 7 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยาย เรื่อง “ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาลยุติธรรม” ในการจัดการศึกษาอบรมปฐมนิเทศหลักสูตร “ผู้ช่วยผู้พิพากษา” รุ่นที่ 76 โดยมี นายอำพันธ์ สมบัติสถาพรกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาและประธานคณะกรรมการอำนวยการการจัดการศึกษาอบรมปฐมนิเทศหลักสูตร “ผู้ช่วยผู้พิพากษา” รุ่นที่ 76 คณะกรรมการอำนวยการหลักสูตร และผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ 76 ที่บรรจุใหม่ จำนวน 107 คน ร่วมรับฟัง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า สายธารแห่งความยุติธรรมเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของคน ซึ่งแน่นอนเรามี “กฎหมาย” เพื่อให้คนอยู่ในสังคมโดยไม่เบียดเบียนกัน ทำให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย เป็นกติกาที่ถือร่วมกัน ซึ่งในสังคมมักจะพูดกันเสมอว่า ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ซึ่งในความเป็นจริง ยังมีพี่น้องประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังประสบกับความไม่เท่าเทียมกันทั้งในทางโอกาส และสถานะทางเศรษฐกิจ เช่น คนที่เกิดบนภูเขาเกิดมาไม่มีบัตรประชาชน หรือแม้แต่เด็กที่มีความสามารถมาก แต่ฐานะทางบ้านยากจน ก็ไม่มีโอกาสใช้สติปัญญาในการพัฒนาตนเองให้ถึงขีดสุดได้ ดังนั้น ความยุติธรรมจึงมีจุดเริ่มต้น (ต้นทาง) ตั้งแต่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยที่กระบวนการยุติธรรมผ่านกลไกตำรวจ อัยการ และศาล เป็นปลายทาง การพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนจึงเป็นต้นทางที่จำเป็นที่เราจะต้องทำให้เกิดความยุติธรรมหรือโอกาสที่ดีของชีวิตของคนที่เขาอ่อนด้อยกว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเล็งเห็นว่าสิ่งที่เป็นธรรมจะเกิดขึ้น คนต้องอยู่ได้ ธรรมชาติต้องอยู่ได้ โดยทรงคิดค้น “ทฤษฎีใหม่” กว่า 40 ทฤษฎี ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว โดยพระองค์ทรงสังเกตเห็น นำมาทดลองด้วยพระองค์เอง จนเกิดเป็นทฤษฎีใหม่ เช่น “เกษตรทฤษฎีใหม่” คือ การไม่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว แต่เป็นเกษตรที่มีการจัดรูปที่ดินให้มีประโยชน์กับชีวิตทุกด้าน คือ พื้นที่แหล่งน้ำ ร้อยละ 30 พื้นที่ปลูกพืชอาหาร ทำไร่ ทำนา ร้อยละ 30 พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น ร้อยละ 30 และพื้นที่ที่อยู่อาศัย ที่เลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 10 “อธรรมปราบอธรรม” คือ เอาของที่มนุษย์รังเกียจหรือไม่เป็นประโยชน์มาทำให้เป็นประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งที่เสียไปให้กลับมาดีเหมือนเดิม เช่น เอาผักตบชวามาทำให้สารแขวนลอยที่เป็นอันตรายกับสัตว์น้ำและน้ำถูกดูดซึมไปใช้เป็นอาหารที่แปลมผักเบี้ย และ “ฝนเทียม” เป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ให้เกิดฝน เป็นต้น ซึ่งทรงทดลองกว่า 4,000 โครงการ โดยทรงมีเป้าหมายสำคัญ คือ “การพัฒนาคน” ซึ่งโครงการพระราชดำริมากมายที่ทรงคิดค้น ล้วนเป็นการทำให้คนได้มีโอกาสที่ดีของชีวิตในขั้นต่ำ คือ มีความสามารถในการเลี้ยงดูครอบครัวตนเองได้ นั่นคือ อยู่รอด พอเพียง เพิ่มมากขึ้น จนถึงขั้นให้เกิดความมั่นคงของชีวิต และคิดพัฒนาให้ตนเองมีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” กระทั่งได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (Human Development Lifetime Achievement Award) จากองค์การสหประชาชาติ และต่อมาทฤษฎีใหม่ของพระองค์ท่านได้รับการบันทึกและถ่ายทอดขยายผลไว้เป็น “หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)” 17 หมุดหมายขององค์การสหประชาชาติที่ได้เผยแพร่เป็นทฤษฎีสากลของทุกประเทศของโลกในปัจจุบัน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อว่า หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2513 ภาพที่คนไทยในขณะนั้นจะชินตา คือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงโดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เยี่ยมเยียนราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม และทอดพระเนตรเห็นผ้าซิ่นที่ประชาชนสวมใส่มารับเสด็จที่มีความวิจิตรสวยงาม ทำให้ทรงเกิดแนวความคิดในการสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรที่อาชีพต้องพึ่งพิงกับสภาพอากาศ โดยพระราชทานแนวความคิดไปสู่การปฏิบัติ ด้วยทรงมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นคือ “การพัฒนาคน” ด้วยการส่งเสริมยุยงและกระตุ้นทุกวิถีทางให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทอผ้าเพื่อที่จะขายให้พระองค์ท่านก่อน และทรงอุทิศพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อผ้าของชาวบ้าน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากในการที่จะช่วยกันทอผ้า เป็นที่มาของคำว่า “ขาดทุนคือกำไร” เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น นำไปสู่การจัดตั้งโครงการศิลปาชีพ เมื่อปี 2515 ถือเป็นโครงการศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถแห่งแรก “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานที่มุ่งมั่น แน่วแน่ มั่นคง ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ด้วยทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการในทุกด้านมายาวนาน ซึ่งทุกเรื่องล้วนแล้วแต่เป็นการ “พัฒนาคน” เพื่อยังประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยให้ได้รับความสุข สะท้อนผ่านพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามที่พระองค์ท่านทรงดำเนินการด้วยการต่อยอด ปรับปรุง พัฒนา ให้สอดคล้องกับยุคสมัยด้วยฐานความคิดต่าง ๆ ในการทรงงานมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระบรมชนกนาถ อาทิ “โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา” ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตครบวงจรของประชาชน “เป็นทางรอด” และทำให้สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ดีขึ้น เพราะโคก หนอง นา ในพื้นที่ 1 ไร่ต้องปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง หรือไม้ 5 ระดับ เพราะไม้ทุกต้น ไม่ว่าจะเป็นไม้พะยูง ประดู่ สัก มะค่า ฯลฯ เป็นมรดกตกทอดไปสู่ลูกหลาน หรือแม้แต่ในสถานการณ์อุทกภัยหรือภัยแล้งที่ผ่านมา พี่น้องประชาชนที่ขับเคลื่อนโคก หนอง นา ที่จังหวัดสุโขทัย ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีแก้มลิง มีหนอง และคลองไส้ไก่ รองรับเก็บน้ำ และมีน้ำใช้ในหน้าแล้ง และ “โครงการจิตอาสาพระราชทาน” ด้วยทรงมุ่งหวังให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่ามีความสมัครสมาน สามัคคี ความเอื้ออาทร ร่วมมือร่วมใจประกอบกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์สุขของชุมชนส่วนรวมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เกิดความรัก ความผูกพันใน 4 สถาบันหลักของชาติ คือ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และประชาชน เป็นต้น และขณะเดียวกัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชปณิธานที่มุ่งมั่นในการสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ดังใจความตอนหนึ่งของพระราชดำรัส โอกาสเสด็จฯ ทรงเปิดงานวันสตรีไทย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ความว่า “…ข้าพเจ้ามีความตั้งมั่นที่จะสนองพระเดชพระคุณ พระมหากรุณาธิคุณ ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เหมือนดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชปณิธานที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด และแผ่ขยายพระบารมีแห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ และสมเด็จพระบรมราชชนนี…” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชดำริเกี่ยวกับ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืชของประเทศ และ “โครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้แก่ประชาชน เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาบริโภค และการมีผักที่ดีมีคุณภาพรับประทานตลอดทั้งปีในระดับครัวเรือน สำหรับผักที่เหลือก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการสร้างความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน ส่งผลให้ประชาชนมีความอยู่ดี กินดี สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย และโลกใบนี้ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงมุ่งมั่นในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพระราชทานพระดำริในด้านการสาธารณสุข เพื่อทำให้คนไทยมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปลอดโรคภัยร้ายแรงทั้งปวง รวมถึงทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งทรงมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนโครงการ TO BE NUMBER ONE สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนทุกคนให้ได้รู้จักคุณค่าที่มีอยู่ในตนเอง และรู้ถึงความสำคัญของชีวิตตนเอง เพื่อร่วมพัฒนาประเทศชาติ และยังเป็นความโชคดีของคนไทยที่สมเด็จพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทุกพระองค์ ทรงมีความมุ่งมั่นในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธาน อาทิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ได้พระราชทาน “ไตรโครงการ” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่ห่างไกล แก้ปัญหาความยากจนและการเข้าไม่ถึงบริการของรัฐ ได้แก่ โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ โครงการสาละวะไล่โว่ และโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา” พระราชทานโครงการพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” เพื่อต่อยอดการพัฒนาคุณภาพชีวิตช่างทอผ้าในชนบทได้รับการส่งเสริมการพัฒนาลวดลาย สีสัน และรูปแบบผ้าไทยให้เข้ากับยุคสมัย เป็นที่ต้องการของคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย สามารถใส่ได้ในทุกเวลา ทุกโอกาส ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้เม็ดเงินหมุนเวียนกลับสู่ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงเป็นแบบอย่างของ “จิตอาสาพระราชทาน” ในการสมัครใจช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละกำลังพระวรกาย เวลาส่วนพระองค์ และพระสติปัญญา ในการทรงงานที่เป็นสาธารณประโยชน์ เป็นต้น “พวกเราในฐานะข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องเชื่อมั่นในการทำหน้าที่เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน เพราะการทำหน้าที่ของพวกเราไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เราเป็นพลังของแผ่นดินที่ต้องปฏิบัติราชการจนเกษียณอายุราชการ ดังนั้น สิ่งที่จะเป็นเกราะคุ้มครองการทำงาน คือ การทำหน้าที่ของพวกเราให้เป็นปกติและดีที่สุด จึงขอฝากท่านผู้ช่วยผู้พิพากษาทุกท่านว่า กลไกในการสร้างความยุติธรรมหรือทำให้เกิดความเป็นธรรมกับสังคมนั้น “ต้นน้ำ” เริ่มที่ครัวเรือน โรงเรียน สังคม “กลางน้ำ” คือ ทุกท่าน และปลายน้ำ คือ เราทุกคน โดยต้องส่งเสริมขยายผลแนวทางที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้คนไม่ผิดพลาด คือ การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิต น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ไปสู่พี่น้องประชาชน การสวมใส่ผ้าไทย การปลูกผักสวนครัว สร้างสังคมที่มีจิตอาสา โดยมีพวกเราทุกคนเป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่าง ต่อเนื่องไปถึงเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว และสังคม ประเทศชาติของเราจะอยู่ได้ และพี่น้องประชาชนจะมีความสุขอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย จำนวนผู้ชม : 178 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ปลัดมท.ฐานะนายทะเบียนมูลนิธิกทม. สั่งลงพื้นที่ตรวจสอบ “มูลนิธิเป็นต่อกรุ๊ป” หากผิดต้องดำเนินการ อุทัย มณี ก.พ. 11, 2023 ปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร… หลวงพี่น้ำฝน “รถคว่ำ” ไร้บาดเจ็บ อุทัย มณี เม.ย. 22, 2024 วันที่ 22 เม.ย.67 วานนี้ ผู้สื่อข่าวได้รับทราบจากชาวบ้านว่า… แรง!!! ปรีดิยาธร เทวกุล: 8 เหตุผลที่ผมไม่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯอีก อุทัย มณี ธ.ค. 24, 2018 24 ธ.ค.61 สำนักข่าวอิศรา ได้เผยแพร่บทความของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร… กมธ.ศาสนาฯตั้งคณะทำงานจัดสร้างพุทธมณฑลหนุนสร้างพุทธมณฑลทุกจังหวัดทั่วประเทศ อุทัย มณี ม.ค. 29, 2021 วานนี้ (28 ม.ค. 2564) ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา… วัดพระธรรมกาย และกว่า 25 องค์กรพุทธโลก 18 ประเทศภาวนาเพื่อยุติสงคราม-ส่งกำลังใจผู้ประสบอุทกภัยอินเดีย อุทัย มณี ต.ค. 23, 2023 วัดพระธรรมกาย และกว่า 25 องค์กรพุทธโลก 18 ประเทศ ประชุมสงฆ์-ชาวพุทธ… สื่อเกาหลีถ่ายทอดสด ชาวพุทธนานาชาติ จัดฉลองวิสาขะยิ่งใหญ่ วัดภาวนาโซลสาขาวัดไทยได้รับเชิญร่วมพิธีสานสัมพันธ์อันดี อุทัย มณี พ.ค. 07, 2019 วันที่ 5 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา คณะสงฆ์ วัดภาวนาโซล ประเทศเกาหลีใต้… เจ้าคุณประสารโอด!!.. ถูกจับโยงการเมืองชนพระผู้ใหญ่ อุทัย มณี ธ.ค. 29, 2020 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา… โซเชียลร้อนฉ่า !!ครูตั้งคำถามสอบธรรมะศึกษา อุทัย มณี พ.ย. 29, 2018 วันนี้คณะสงฆ์มีการเปิดสอบธรรมศึกษาทั่วประเทศโดยมีศูนย์สอบทั้วประเทศจำนวน … คณะสงฆ์..ปฎิรูปอย่างไร !! จึงตกเป็นเครื่องมือรัฐ อุทัย มณี พ.ค. 01, 2022 มีข่าวว่า "คณะสงฆ์" กำลังจะดำเนินการร่างแผนปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนาระยะที่… Related Articles From the same category “อุทิส” แจ้งเตือน เจ้าคณะหนกลาง และภาค 1 เตรียมเซ็น “ใบแต่งตั้งทนาย” วันที่ 25 พ.ย.64 จากกรณีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติทำหนังสือตอบ… วัดพระธรรมกายถวายสังฆทานออนไลน์แด่ “คณะสงฆ์ 323 วัดชายแดนใต้” วันที่ 27 พ.ย. 64 คณะสงฆ์จังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส หน่วยงานภาครัฐ… ความยากจนปนมายา .........ประเทศไทยพยายามแก้ปัญหาความยากจน รัฐบาลไม่รู้กี่คณะแล้วที่ผ่านมาก็ยังกำหนดนโยบายแก้ปัญหาความยากจนไม่ได้… กรมสมเด็จพระเทพ ฯ ทรงโปรดเกล้าฯให้ รองราชเลขานุการในพระองค์ พระราชทานเทียนพรรษาแด่ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า… โปรดเกล้า ฯเลื่อน “สมณศักดิ์” วัดโพธิ์ท่าเตียน “ยกแผง” วันที่ 26 ก.ค.67 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ…
Leave a Reply