โซเชียลระอุ!! ตั้งคำถามรองผอ.พศ. หลังเปิดประเด็นห้ามอวดอ้าง “วัตถุมงคล” เกินจริง ด้าน “พม.นรินทร์-สุรพศ” ร่วมแจม “สำนักพุทธ” ยุคนี้ไร้น้ำยา??

วันที่ 2 พฤษจิกายน 2567  กรณี นายบุญเชิด กิตติธรางกูร รองผู้อำนวยการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้สัมภาษณ์ว่า “การทำเครื่องรางของขลังหากพระสงฆ์โฆษณาอวดอ้างวัตถุมงคล ที่ปลุกเสกเกินจริง ก็จะเข้าข่ายมีความผิดตามประกาศมหาเถรสมาคม อาจถึงขั้นต้องให้สึกจากความเป็นพระ” นั่น

ก่อให้เกิดคำถามในโซเชียลมากกว่า คำประกาศดังกล่าวยังได้หรือหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ขอให้รีบดำเนินการ แต่ต้องกำหนดกรอบให้ชัดว่านิยามคำว่า “เกินจริง” หรือแค่ไหน แม้กระทั้ง “สุรพศ ทวีศักดิ์”  นักวิชาการชื่อดังตั้งคำถามว่า แล้ว #ตามจริง กับ #เกินจริง วัดยังไง เช่นหลวงพ่อคูณรุ่นกูให้มึงรวย หรือเหรียญหลวงปุ่ศิลารุ่นยอดรวย หรือยอดเศรษฐี ถ้าไม่เกินจริงหมายถึงทุกคนที่มีพระรุ่นนี้รวยหรือเป็นเศรษฐีกันทุกคนใช่ไหม หรือมีแล้วรวยเป็นส่วนใหญ่ เก็บสถิติยังไง

ส่วน “พระมหานริทร์ นรินฺโท” นักวิพากษ์สังคมสงฆ์ ก็ตั้งคำถามว่า  พระเครื่องมีพุทธคุณหรือไม่ ?  มีการโฆษณาเกินจริงหรือไม่ ?ห้อยแล้วจะทำให้รวยดังหวังหรือไม่ ? ห้อยแล้วจะแคล้วคลาดปลอดภัยจริงหรือไม่ ?  ร้อยแปดคำถามเกี่ยวกับพระเครื่องของชาวพุทธไทย ?แต่ไม่ต้องสงสัยหรอกพี่น้อง ของแบบนี้มันมีตัวอย่างพิสูจน์ได้ พระเครื่องอาจจะมีการโฆษณาเว่อร์เกินไปบ้าง ก็ถือว่าเป็นธรรมดา เพราะว่าเป็นเรื่องของศรัทธามหาชน เพราะศรัทธาเป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้ พร้อมโยงไปหา “พระอาจารย์ต้น”ธรรมนาวาวัง ว่า สำนักพุทธฯ ยุคนี้ ดูท่าไร้น้ำยาไล่ จับแต่ปลาซิวปลาสร้อย ตัวใหญ่ๆ ไม่กล้าจับถ้าเก่งจริงดังพูด ก็ช่วยจับ “พระต้น” สึกให้ดูซักทีเพราะนี่คือตัวอย่างแห่งการโฆษณาเกินจริงชัดเจนที่สุด  นะ กล้า ๆ หน่อย

ส่วมติมหาเถรสมาคม เรื่อง การโฆษณาพระพุทธรูป พระเครื่อง และวัตถุมงคล ในสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุโทรทัศน์ ปรากฎในมติ  91/2547 ความว่า

ความว่า ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ 7 /2547 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า ในคราวประชุมเรื่อง โฆษณาในสื่อหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ และในสื่อวิทยุโทรทัศน์” คร้ังที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547 ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ประชุมได้ปรารถถึงการโฆษณาและการเรี่ยไรที่อวดอ้างสรรพคุณเกินสภาพที่นาจะเป็นการชวนเชื่อ และใช้สื่อเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนมากกว่าจะเป็นประโยชน์ส่วนรวม

1. การโฆษณาสรรพคุณพระบูชาและวัตถุมงคล โดยอ้างแหล่งที่มาของวัสดุที่นำมาสร้างพระบูชาและวัตถุมงคล ที่นำมาจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนหรือมองเป็นของที่ระลึก โดยไม่รู้จักหมด ตลอดถึงอ้างอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ต่าง ๆ อาจเข้าข่ายการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งหมิ่นแหม่ต่อการอวดอุตริมนุสสธรรม และเข้าลักษณะเบี่ยงเบนหลักพระสัทธรรม คือ ปริยัติ ปฎิบัติ และปฎิเวธ ได้

2. การใช้สื่อในการเรี่ยไร โดยไม่คำนึงถึงหลักธรรมคำสั่งสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตนหรือกลุ่มบุคคล มากกว่ามุ่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

3. การนำเอาพระพุทธรูปหรือสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา มาวางบริเวณทางเท้าหรือข้างถนน ที่คนเดินผ่านไป-มา ควรที่จะมีกฎหมายหรือระเบียบห้าม และกำหนดให้มีการปฎิบัติที่ชัดเจน

ต่อมา ที่ประชุม มหาเถรสมาคม ได้สั่งการให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดำเนินการ คือ 1. มีมาตรการป้องและลงโทษพระสังฆาธิการ 2.หากผู้จัดพระบูชาหรือวัตถุมงคลเป็นคฤหัสถ์ ขอให้พระสังฆาธิการช่วยกันสอดส่องและแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองดำเนินการ

3.ขอให้มีมาตราควบคุมการโฆษณาพระบูชาหรือวัตถุมงคล และ 5. ควบคุมพระภิกษุที่จัดรายการตามสถานีวิทยุอย่างใกล้ชิด

เมื่อปี พ.ศ. 2560  มีกระแสข่าวว่า “บุคคลชั้นสูง” สั่งการห้ามมีการปลุกเสกวัตถุมงคล พร้อมกับมีกระแสข่าวว่า “พระเกจิ” ชื่อดังต้องหนีออกจากวัด และมีข่าวปรากฎว่ามีการ “จับสึก” พระภิกษุที่ “ปลุกเสกวัตถุมงคล” หลายรูป

หรือแม้กระทั้ง พระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อปี พ.ศ. 2560  ในขณะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ได้ออกหนังสือห้ามติดแผ่นป้ายโฆษณาพระพุทธรูป พระเครื่อง วัตถุมงคล และเทวรูปในที่ต่างๆ แจ้งไปยังเจ้าคณะเขตทุกเขตในกรุงเทพฯ ระบุว่า ปัจจุบันมีกลุ่มบุคคลใช้ความเชื่อทางด้านศาสนามาแสวงหาผลประโยชน์ ได้ทำการโฆษณาสรรพคุณ ตลอดถึงอ้างอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงหลักธรรมคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา ทำให้ประชาชนเกิดความหลงผิด

เจ้าคณะกรุงเทพฯ จึงขอให้เจ้าคณะเขตทุกเขต ได้สอดส่องดูแลการโฆษณาทางสื่อต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีการเผยแผ่พุทธธรรมอย่างถูกต้องชัดเจน และเนื่องจากพระอุโบสถหรืออุโบสถ เป็นสถานที่ที่พระภิกษุใช้ทำสังฆกรรมตามพระวินัย จึงขอให้เข้าคณะเขตทุกเขต ได้แจ้งทุกวัดในเขตปกครอง ไม่ควรจำหน่ายพระบูชา วัตถุมงคล และเทวรูปต่างๆ ภายในและบริเวณพระอุโบสถ หรืออุโบสถ

หรือแม้กระทั้ง สคบ. ก็เคยแนะ ประชาชนอย่าหลงเชื่อโฆษณาเกินจริง ในเรื่องของเครื่องราง ของขลัง โฆษณาเกินจริง ต้องโทษตามกฎหมาย

หากประกอบธุรกิจหรือผู้ใดทำการโขษณาที่มีลักษณะอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหรือข้อความที่ยากแก่การพิสูจน์ จะมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 47 หากผู้บริโภคพบการโฆษณาที่เอาเปรียบ หรือไม่เป็นธรรม สามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนได้ที่ สคบ. สายด่วน 1166 หรือ แอพพลิเคชั่น OCPB Connect

Leave a Reply