วันที่ 15 มกราคม 2562 ผู้สื่อข่าวได้ติดตาม พระสงฆ์เจ้าอาวาสวัดพระธาตุโพธิ์งาม หมู่ที่ 4 ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา สืบสานอนุรักษ์การเขียนหรือ (จาน)คำภึร์ใบลานภาษา ล้านนา ด้วยดินสอเหล็ก แหลมคม เขียนลงในใบลาน เป็นตัวหนังสือภาษาล้านนา ที่ คนโบราณทำกันมาร่วม1,000 ปี เกรงสูญหายก่อนจะไม่มีให้เห็น เพราะการเขียนหรือ(จาน)ภาษาเหนือ ไม่เหมือนกับการเขียนหนังสือทั่วไปเพราะคนเขียนหรือจานจะต้องนั่งชันเข่าเขียนหริอจานบนหัวเข่าเท่านั้น
ซึ่งนับว่ามีความสำคัญที่แตกต่าง เห็นได้ชัดเจน และเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากยิ่ง กับวิธีการเขียนหรือจาน คัมภีร์ใบลานล้านนา จึงได้ทำการฟื้นฟูรูปแบบการเขียน(จาน) ไว้เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้เทคนิคการเขียนการทำ(จาน)ภาษาล้านนาลงใบลานนั้นมีขั้นตอน อุปกรณ์และเทคนิคหลายอย่างกว่าจะเป็นคัมภีร์ใบลาน ที่คนโบราณได้ทำการบันทึกเขียน(จาน)ไว้ในใบลานแทนกระดาษ เพราะยุคสมัยก่อนกระดาษไม่มีจึงใช้ใบลานแทนกระดาษทำการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ตลอดจน บทสวดมนต์ คาถา ตำรายา เรื่องราวทางพุทธศาสนา และอิ่นๆ ที่เป็นภาษาล้านนา โดยวิธีการจานหรือเขียนบันทึกไว้ในใบลาน เพื่อไม่ให้สูญหายไปจึงได้อนุรักษ์ฟื้นฟูรักษาและถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่นไว้
พระทศพร ถาวรปญโญ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุโพธิ์งาม ได้สาธิตวิธีการเขียน(จาน)คัมภีร์ลงบนใบลานโดยการนั่งชันเข่าเอาใบลานวางบนหัวเข่าแล้วจานใบลาน หรือเขียนอักขระภาษาล้านนาลงในใบลาน พร้อมกับมีขั้นตอนการเขียนการทำคัมภีร์ใบลาน ที่ไม่เหมือนใคร นับว่าขั้นตอนการเขัยน(จาน) จะต้องมีการเตรียมใบลาน คัดขนาด ความกว้าง-ยาว แล้วนำเข้ากรอบไม้เพื่อทำเป็นเส้นช่องๆๆ เพื่อเขียน(จาน)เมื่อเขียนจานตัว หนังสือเสร็จแล้วก็จะนำมาลงน้ำหมึกสีดำเช็ดด้วยผ้าจนเห็นตัวหนังสือชัดเจน หลังจากนั้นก็จะนำเข้ารูปเล่มเก็บไว้ เป็นชุดๆๆ ของแต่ละเรื่องแต่ละตอนแต่ละบท ถือเป็นการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ที่ยังคงมีให้เห็นไม่มากนักในยุคสมัยนี้ ในพื้นที่จังหวัดพะเยา หรือจะเป็นหนึ่งเดียวในจังหวัดก็ว่าได้ที่ยังคงสืบสานอนุรักษ์การจานใบลาน แบบภาษาล้านนาดังกล่าวไว้ เพื่อไม่ให้สูญหายไป และยังคงที่จะร่วมสืบทอดเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ร่วมกันศึกษาภาษาล้านนาให้คงอยู่ต่อไปกับล้านนา
โดยพระทศพร เล่าว่า การจานใบลานดังกล่าวนั้น ในอดีตจะมีการทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการจดบันทึกของคนสมัยโบราณนั้นจะไม่มีสมุด หนังสือเหมือนปัจจุบัน จะเก็บข้อมูลเรื่องราวต่างๆไว้ในใบลาน ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะใช้ภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตนเอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นบทสวดมนต์ คาถา ตำรายา เรื่องราวทางพุทธศาสนา ตนเองเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากผู้เฒ่า ผู้แก่ และผู้รู้ตามที่ต่างๆจากนั้นจึงได้ทำการอนุรักษ์และสืบทอด เพื่อให้สามเณรที่อยู่ในวัดตลอดจนชาวบ้าน ได้ทำการศึกษาเพื่อเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ไม่ให้สูญหาย และเพื่ออนุรักษ์คัมภีร์โบราณภาษาล้านนาต่างๆไว้ให้ได้ศึกษากันต่อไป ซึ่งการบันทึกไว้ในใบลานนั้นจะไม่ค่อยเกิดการเสียหาย จึงได้สืบสานและอนุรักษ์ไว้เพื่อให้คงอยู่คู่กับชาวล้านนาตลอดไป
สำหรับการจานคำภีร์ใบลานนั้น จะทำการโดยการคัดเลือกใบลาน การเก็บรักษาและการนำใบลานมาเขียนหรือจาน จากนั้นก็จะใช้แท่งไม้เหลาลักษณะคล้ายดินสอ บริเวณหัวจะใช้เหล็กกล้าเป็นหัวคล้ายปากกา จากนั้นจะทำการจานหรือเขียนบนใบลาน เพื่อให้เป็นรอยตัวหนังสือ ซึ่งเป็นภาษาล้านนา และเสร็จแล้วก็จะนำหมึกแท่งแบบโบราณที่ทำการฝนผสมกับน้ำทำการชุบบนใบลานที่เขียน ซึ่งหมึกดังกล่าวจะมีความคงทนไม่จางหายไป และมีอายุทนทานนับร้อยปี ซึ่งถือว่าการจานคำภีร์ใบลานข ของวัดพระธาตุโพธิ์งามแห่งนี้ ถือได้ว่าน่าจะเป็นแห่งเดียวที่คงอนุรักษ์วัฒนธรรมดังกล่าวไว้ เพื่อไม่ให้สูญหายไป
ขอขอบคุณที่มา
Leave a Reply