พระมหาเถระผู้เชื่อมสมานพุทธมุสลิมเหนือรัฐยะไข่ ยกรัชกาลที่ 9 เป็นแบบอย่างการเชื่อมสมานศาสนิก ย้ำกิเลสไม่เคยแยกพุทธมุสลิม : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มจร รายงาน
ในความเป็นมนุษย์นั้น คำว่า “พุทธหรือมุสลิม” เป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่มีความเชิ่อและวิถีปฏิบัติที่ต่างกันเท่านั้น สิ่งที่ทำให้สูญเสียคุณค่าของความเป็นพุทธและมุสลิม คือ “กิเลส” ที่ซ่อนตัวอยู่ภายในใจ ที่แปรรูปเป็นไฟ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ทำหน้าที่เผาใจให้มอดไหม้ แล้วนำไฟนั้นออกมาเผาผลาญสิ่งวัดวาอาราม และบ้านเรือนของพี่น้องชาวบังคลาเทศด้วยกัน”
นั่นคือประโยคทองของพระศรีมัต สัตยาปิยะมหาเถระ (Srimat Sattyaprio Mohathera) ซึ่งเป็นพระมหาเถระรูปเดียวที่ได้รับรางวัล Ekushey Padak จากรัฐบาลบังคลาเทศ ในปี 2558 ในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นกาวใจระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมที่มีความความขัดแย้งต่อกรณีมีการอ้างว่าชาวพุทธรายหนึ่งได้เผาพระคัมภัร์อัลกุรอานแล้วโพสต์ในเฟสบุุ๊คจนทำให้ชาวมุสลิมเกิดความไม่พอใจจนนำไปสู่การเผาวัดหลายแห่ง ตามลิงค์ข่าว https://www.thairath.co.th/content/295106
ภาพของความไม่เข้าใจและหวาดระแวงระหว่างพี่น้องชาวพุทธและมุสลิมดังกล่าว ทำให้ท่านสัตยาปิยะมหาเถระ วัดลาบู สีมา วิหาร เมืองลาบู จังหวัดค๊อกซ์ บาซา (Cox’s Bazar) ซึ่งปัจจุบันอายุ 91 ปี และเป็นรองสังฆราชรูปที่ 3 ได้เข้าไปทำหน้าที่เชื่อมสมานและทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดความไว้วางใจทั้งสองฝ่าย ทั้งๆ ที่วัดของท่านเองซึ่งมีพื้นที่ติดชายแดนรัฐยะไข่ ราว 15 กิโลเมตร ก็ถูกเผาและทำเสียหายเกือบหมดทั้งวัด แต่ด้วยอาศัยขันติธรรม และเตือนชาวพุทธไม่ให้เข้าไปโต้ตอบ จึงทำให้สถานการณ์ลดความตึงเครียดลงไป
ผลจากการทำหน้าที่ดังกล่าว นอกจากจะทำให้ท่านได้รับรางวัลหลังจากเหตุการณ์เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป 3 ปีแล้ว ยังทำให้รัฐบาลบังคลาเทศ ซึ่งเกือบ 100% เป็นชาวมุสลิม ได้ตัดสินใจนำเงินงบประมาณแผ่นดินไปสร้างศาสนสถานเพื่อทดแทนหลังเก่าที่ถูกเผาไป อันเป็นการเยียวยาอารมณ์และความรู้ของพุทธศาสนิกชนในครั้งนี้ ในขณะเดียวกัน เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้พระบังลาเทศจำนวนมากยื่นเรื่องต่อองค์การสหประชาชาติ ณ สำนักงานภูมิภาคประเทศไทย
ท้ายที่สุดของการสนทนา ท่านได้ย้ำว่า แบบอย่างสำคัญของการเชื่อมสมานให้พี่น้องต่างศาสนิกให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข คือ “#ในหลวงรัชกาลที่_9” พร้อมทั้งชี้ให้ดูภาพที่ท่านได้จัดวางเอาไว้บนหิ้งเหนือศรีษะเคียงคู่กับภาพการณ์ในชีวิตของท่าน แบบอย่างของพระองค์ดังกล่าวนั้น ได้ทำให้นักประนีประนอมข้อพิพาทจำนวนมากพากันเรียกขานว่า “ทรงเป็น #กษัตริย์นักไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” ตัวอย่างหนึ่งสะท้อนผ่านเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในฐานะเป็นสัตว์สังคมนั้น มีความแตกต่างกันทั้งภาษา ผิวพรรณ วัฒนธรรม อุดมการณ์ และความเชื่อ มนุษย์ไม่ผิดที่เกิดมาแตกต่างกัน แต่จะผิดพลาดอย่างมหันต์ถ้าเอาความต่างมาเป็นเครื่องมือในการตัดสินวิธีคิด และการกระทำของผู้อื่นจนนำมาซึ่งการห้ำหั่นฆ่าล้างและเบียดเยียนกัน คำถามคือ มนุษย์จะพยายามเรียนรู้ความต่าง และอยู่ร่วมกับความต่างอย่างไร จึงไม่นำไปสู่การทำลายล้าง และลดทอนคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็มนุษย์ และเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่น
ในฐานะที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถอยู่คนเดียวในโลกนี้ได้ นี่คือเหตุผลที่ทำให้มนุษย์ต้องรักกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา เรารักสุข เกลียดกลัวความทุกข์ คนอื่น หรือสัตว์อื่นๆ ก็เป็นเช่นเดียวกัน ฉะนั้น การรัก ใส่ใจ และถนุถนอมผู้อื่น จึงมีค่าเท่ากับการรักและถนุถนอมชีวิตตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะการไม่ฆ่าและทำลายเขา มีค่าเท่ากับการป้องกันมิให้เขามาฆ่าและทำลายตัวเรา การเข้าใจความจริงข้อนี้ จึงส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กลุ่มต่างๆ ที่มุ่งหวังจะเสริมสร้างชีวิตและสังคมให้อุดมสันติอย่างยั่งยืนต่อไป
……………
(หมายเหตุ : ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม – ชาวพุทธบังคลาเทศเรือนหมื่น ร่วมพิธีสลายสรีรสังขารอดีตพระสังฆราช http://thebuddh.com/?p=41425
Leave a Reply