พระภิกษุติดคุก !! ขาดจากความเป็นพระจริงหรือ??

                “..จากการที่ตนได้สอบถามสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้แจ้งว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำแล้วก็เท่ากับเป็นการสึก และแม้ได้รับการประกันตัวออกมาสู้คดี สมณะเพศก็ได้ขาดไปแล้ว แต่สมณะศักดิ์หรือยศนั้นเป็นพระราชอำนาจ ดังนั้นเรื่องนี้จึงหมดจากสำนักพุทธฯ ไปแล้ว ถือว่าได้ขาดจากความเป็นพระแล้ว..”

               นี้คือคำกล่าวของ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเงินทอนวัดที่พระชั้นผู้ใหญ่ได้รับการประกันตัวออกมา โดยระบุจะมาต่อสู้คดีโดยที่ยังไม่มีการเปล่งวาจาสึกจากความเป็นพระ และยังคงห่มผ้าเหลืองอยู่ (อ้างอิง www.posttoday.com)
             ผมอ่านคำสัมภาษณ์รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งจะต้องทำงานประสานงานกับคณะสงฆ์แล้ว ผมไม่มั่นคำกล่าวของท่านที่ว่า “เมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำแล้วก็เท่ากับสึก และสมณะเพศก็ได้ขาดไปแล้ว” รัฐมนตรีได้รับข้อมูลเกี่ยวกับพระวินัยที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบของสถาบันสงฆ์อันเป็นสถาบันที่เกื้อกูลชาติ พระมหากษัตริย์มาอันยาวนานมาจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจากท่านใด   ทำไมคนให้ข้อมูลจึงไม่รู้ว่า “พระภิกษุที่ขาดจากความเป็นพระ” ที่สังคมพระสงฆ์เปรียบเทียบเหมือนกับ “ตาลยอดด้วน” คือไม่สามรถงกเงยเจริญได้หรือกลับมาบวชใหม่ได้ที่เรียกว่า “อาบัติปาราชิก” มี 4 ประการนั้นคืออะไรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง  รู้หรือไม่ว่า การติดคุก หากไม่ได้เปล่งวาจาสึก ไม่ได้สละสมณเพศ พระภิกษุไม่ได้  “ขาดจากความเป็นพระ”หรือสมณะเพศขาด ผมยกกรณี อดีตพระพิมลธรรม วัดมหาธาตุ ฯ เป็นกรณีศึกษา ท่านติดคุกเป็นเวลา 5 ปีกว่า ท่านไม่ได้เปล่งมาจากสึก แม้ถูกกระชากจีวรออกจากกายท่านก็ไม่ได้สละสมณเพศ  ตอนหลังออกจากคุกท่านก็กลับมาครองจีวรใหม่ได้ตามปกติ  พรรษาก็ไม่ขาด ซ้ำได้คืนสมณศักดิ์เหมือนเดิม  รัฐมนตรีลองไปหาหนังสืออ่านดูจะได้ “เข้าใจทั้งเรื่องวินัยสงฆ์และการเมืองในสถาบันสงฆ์”  บางคนอาจแย้งว่าท่านมีคดีเงินทอน เรื่องนี้ความจริงตอนนี้คดีก็ยังไม่สิ้นสุด ยังไม่รู้ว่าท่านผิดจริงตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติฟ้องหรือไม่

       ในพระวินัยปิฎกทั้ง 8 เล่ม ไม่มีเล่มใดที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ว่า พระภิกษุเมื่อติดคุกแล้วขาดจากความเป็นพระ หรือ ไม่สามารถบวชเป็นพระภิกษุต่อได้ เว้นรอลงอาญา นั่นเปรียบเสมือน ติดคุก แต่ศาลท่านผ่อนปรนให้รอดูพฤติกรรมให้ใช้ชีวิตอยู่ด้านนอกคุกได้ปกติ  จึงเปรียบเสมือน “ขาข้างหนึ่งอยู่ในคุก” จึงไม่สามารถบวชใหม่ได้
       วันนี้มีคนแชร์ข้อความของ ดร.จำนงค์ ทองประเสริฐ (ราชบัณฑิต) กันมาก หากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่รู้ว่า ดร.จำนงค์ ทองประเสริฐ คือใคร เชี่ยวชาญเรื่องภาษา เรื่องวินัยสงฆ์แค่ไหน ให้ไปถามรองนายกรัฐมนตรีดร.วิษณุ เครืองาม ซึ่งทั้งสองท่านมักคุ้นกันดี เรื่องพระวินัย เรื่องธรรมเนียมปฎิบัติของพระสงฆ์  หากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่เข้าใจหรือไม่แม่นลองไปถาม เจ้าคุณพระสิทธินิติธาดา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ฯ หรือเจ้าคุณมีชัย พระเทพปริยัติมุนี วัดหงษ์รัตนาราม   พระภิกษุที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา  ผู้ว่ากทม.พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง  ให้ความเคารพนับถือ ทั้ง 2 รูป แม่นเรื่องพระวินัยและกฎหมายคณะสงฆ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับ
     ข้อความของ ดร.จำนงค์ ทองประเสริฐ (ราชบัณฑิต)  ท่านเป็นห่วนท่าทีของรัฐมนตรี ซึ่งท่านเขียนไว้ชัดว่า  “ การลาสิกขาของพระนั้น จะถือว่าลาสิกขาโดยเสร็จสิ้นสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อพระภิกษุรูปนั้นได้กล่าวคำลาสิกขาตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้เท่านั้น ต้องเป็นการกล่าวต่อหน้าผู้รู้ความ เข้าใจความ และรู้ภาษาความหมายในคำกล่าวนั้น และเป็นการกระทำในขณะมีสภาพจิตใจเป็นปกติ ไม่ได้ถูกบังคับ ขู่เข็ญขืนใจ ดังนี้
            1) ท่านเบื่อความเป็นพระแล้ว มีจิตที่จะลาสิกขา และท่านต้องตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะลาขาดจากความเป็นพระภิกษุ
           2) ต้องเป็นการกล่าวคำลาสิกขาตามขอบเขตที่พระวินัยกำหนดไว้ และต้องเข้าใจความหมายในคำกล่าวนั้นด้วย
           3) ต้องเป็นการกล่าวคำลาสิกขา ณ ปัจจุบันเท่านั้น จะไปอ้างเอาคำกล่าวในอดีตหรืออนาคตมาพูดไม่ได้
           4) ท่านต้องเปล่งวาจาลาสิกขาด้วยตนเอง ไม่ใช่ให้ตำรวจ หรือใครพูดแทน
           5) พระภิกษุที่ลาสิกขา และผู้รับการลาสิกขา ต้องมีสภาพจิตใจเป็นปกติ เข้าใจและรู้ความหมายในคำกล่าวลาสิกขา และบุคคลทั้งสองนั้นต้องไม่มีเวทนาหรือถูกบังคับบีบคั้นขู่เข็ญคุกคามขืนใจ
๖) ต้องเป็นการกล่าวเจาะจงเฉพาะต่อหน้า และผู้อยู่ในสถานที่ลาสิกขาเข้าใจความหมาย การลาสิกขาจึงจะสมบูรณ์ทันที แต่ถ้าบุคคลเหล่านั้นฟังแล้วยังมึนงง ไม่เข้าใจว่า พูดอะไร ไม่ถือว่าเป็นการลาสิกขา ความเป็นพระภิกษุยังคงมีอยู่
         ดังนั้น ตามหลักพระธรรมวินัย การลาสิกขาจะทำต่อหน้าพระภิกษุด้วยกันเท่านั้น  จะทำต่อหน้าฆราวาส  เช่น ตำรวจ หรือบุคคลอื่นใด ไม่นับว่าเป็นการลาสิกขา ก่อนลาสิกขาต้องแจ้งพระอุปัชฌาย์ให้อนุญาตก่อน ถ้าพระอุปัชฌาย์ไม่อยู่ก็เป็นอาจารย์ผู้ปกครอง ถ้ามิเช่นนั้น ก็ถือว่า หนีสึก เอาผ้าจีวรไปฝากไว้ตามเจดีย์ ตามต้นโพธิ์..”
และเท่าที่ทราบกรณีเจ้าคุณทั้งหลายที่ติดคุกแล้วศาลท่านเมตตาให้ประกันตัวออกมานั้น ก่อนเข้าเรือนจำท่านก็ไม่เคยเปล่งคำลาสิกขา ไม่มีพระภิกษุมาทำพิธีกรรมให้ลาสิกขา ไม่เคยถูกจับถอดจีวรให้สละสมณเพศ (สมัยพระพิมลธรรม มีการกระชากจีวรออกจากกายท่าน ด้วยพระภิกษุที่ไปทำพิธีกรรม)  อยู่ในคุกท่านก็ใช้ชีวิตเหมือนพระสงฆ์ทั่วไป มีการฉันเช้า ฉันเพล ทำวัตรสวดมนต์ นั่งสมาธิ
แต่ผมก็แปลกใจ ทำไม !  รัฐมนตรีประสำนักนายกรัฐมนตรี นายเทวัญ ลิปตพัลลภ ไปถามคนในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งเป็นคนฟ้องคดีพระมหาเถระเหล่านี้ เรื่องพระวินัยแม้สำนักงานพุทธ ฯ จะมีอดีตนักบวชเยอะ แต่ก็ไม่แม่นเหมือนพระสงฆ์องค์เจ้าหรอก เหมือนผมเป็นสื่อมวลชน จะไปถามหาผลงานของรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล  ไปสัมภาษณ์คนของพรรคฝ่ายค้าน ฝ้ายค้านที่ไหนจะบอกว่า รัฐนตรีเทวัญ ลิปตพัลลภ คนบ้านเอ็งจะมีผลงานสุดยอด มีผลงานสุดเยี่ยม ฉันใด ฉันนั้นแหละโยมเอ๋ย..
**************
    ขอบคุณแหล่งภาพ : https://www.thairath.co.th/

Leave a Reply