วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ ทำให้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับพระสงฆ์ ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อโควิด-19 กรมการแพทย์จึงได้เปิดบริการถวายการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่โรงพยาบาลสงฆ์ กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ดังนี้
1.อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
2.อายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคร่วม 7 โรค
3.พำนักอยู่ในพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร
โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. 2564 เป็นต้นไป โดยให้ติดต่อจองคิวทางโทรศัพท์ โทร.0-2640-9537, 0-2354-4305 ต่อ 5135, 08-6415-5986, 08-6415-5988, 08-6416-2037, 08-6416-2047, 08-6416-2215, 08-6416-4306 ทั้งนี้เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น
พร้อมกันนี้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ออกหนังสือแจ้งความว่า
ทั้งนี้ เพจ Phramaha Boonchuay Doojai ได้แสดงความเห็นว่า ได้รับแชร์หนังสือบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม ที่ 0006/3729 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 เรื่อง สำรวจขูอมูลพระภิกษุ เพื่อเตรียมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลงนามโดยนายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ถึงผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด โดยมีเนื้อหาสาระที่สำคัญ คือให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัดสำรวจข้อมูล ดังนี้
1. พระภิกษุที่มีอายุพรรษา 60 ปีขึ้นไป 2. พระภิกษุที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี แต่มีโรคประจำตัว 7 โรค ดังต่อไปนี้ 1) โรคความดันโลหิตสูง 2) โรคเบาหวาน 3) โรคไขมันในเส้นเลือดสูง 4) โรคไตเรื้อรัง 5) โรคหัวใจ 6) โรคอ้วน 7) โรคปอด
@ โดยให้สำรวจรายละเอียดนำส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1 ชุด และรายงานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 1 ชุด เพื่อเตรียมความพร้อมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2654
@ สำหรับรายละเอียดที่ให้กรอกในแบบสำรวจประกอบด้วย ชื่อ – ฉายา อายุ พรรษา วัด ตำบล อำเภอ จังหวัด โรคประจำตัว เบอร์โทรศัพท์
QQ คำถามดัง ๆ ที่ตามมาจากกรณีหนังสือบันทึกข้อความด้งกล่าว คือ “แล้วพระภิกษุที่ได้รับการสำรวจครั้งนี้จะได้รับสิทธิ์ในการฉีดวัคซีน ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติตั้งใจไว้หรือไม่ ??????????????????”
WW เหตุผลอันเป็นที่มาของคำถามดัง ๆ ดังกล่าว มีมากมาย
R1> ประการแรก คือ การแจ้งรายชื่อให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1 ชุด จะนำไปสู่อะไร ?? สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต้องทำอะไรต่อ ?? ไม่มีหลักประกันใด ๆ ทั้งสิ้น
R2> ประการที่สอง คือ รายงานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 1 ชุด จะนำไปสู่อะไร ?? สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะเอาข้อมูลดังกล่าวไปทำอะไรต่อ ?? นี่ไม่มีหลักประกันใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะข้อมูลพระภิกษุที่เคยส่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมาแล้วก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ใด ๆ ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์มาก่อนเลย
R3> ประการที่สาม คือ รายละเอียดข้อมูลที่มีเพียง ชื่อ – ฉายา อายุ พรรษา วัด ตำบล อำเภอ จังหวัด โรคประจำตัว เบอร์โทรศัพท์ แต่ไม่มีข้อมูลสำคัญของบุคคล คือ “เลขประจำตัวประชาชน” จะนำไปดำเนินการอะไรต่อไปได้ เพราะยุคนี้ระบบบัตรทองของ สปสช ต้องเชื่อมด้วย “เลขประจำตัวประชาชน”
R4> ในขณะที่โรคประจำตัวที่ระบุในบันทึกข้อความกับโรคเรื้อรัง ก็ดูไม่ตรงกับที่ “หมอพร้อม” ระบุกลุ่มโรคเรื้อรังไว้ 7 กลุ่มโรค ได้แก่ 1) โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง 2) โรคหัวใจและหลอดเลือด 3) โรคไตเรื้อรังระยะ 5 4) โรคหลอดเลือดสมอง 5) โรงมะเร็งที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัดฯ 6) โรคเบาหวาน และ 7) โรคอ้วนฯ
@ ทีนี้ลองมาดูผู้ที่จะได้สิทธิ์จริง ในยุคนี้กันครับ ที่ท่านไม่ต้องจัดทำรายงานส่งรายชื่ออะไรใด ๆ ไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่ท่านได้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควดผ่านแพลตฟอร์ม “หมอพร้อม” เช่น
C1> พระโกศัยเจติยารักษ์ (วิชาญ เชิดชู) ได้สิทธิ์ในการฉีดวัคซีน ที่โรงพยาบาลแพร่ วันที่ 18 มิถุนายน 2564 เวลา 14:00 น.
C2> พระสิทธิพันธ์ วันสูง (พระครูสาทรธรรมสิทธิ์) ได้สิทธิ์ในการฉีดวัคซีน ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วันที่ 16 มิถุนายน 2564
C3> พระมหานพณัช เขมานันโท (พระธานพระคิลานุปัฏฐากจังหวัดแพร่) ได้สิทธิ์ในการฉีดวัคซีน ที่โรงพยาบาลแพร่ วันที่ 18 มิถุนายน 2564 เวลา 14:00 น.
@ มีรายงานจาก “กลุ่มพระ อสว. แพร่” ว่า มีการประสานเพื่อลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านแพลตฟอร์ม “หมอพร้อม” ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างครบถ้วนทุกรูป โดยมีพระโกศัยเจติยารักษ์ (วิชาญ เชิดชู) รองเคณะจังหวัดแพร่ และประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นต้นแบบแก่พระคิลานุปัฏฐากอย่างรู้เท่าทันความจำเป็นในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในจังหวัดได้เป็นอย่างดี
@ การใช้ให้ “สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด” สำรวจข้อมูลพระภิกษุเพื่อส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยไม่มีข้อมูล “เลขประจำตัวประชาชน” จึงแสดงให้เห็นถึงความ “มะงุมมะงาหรา” ของ “สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ” ที่อาจนำมาซึ่งความเสียสิทธิ์การรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของพระภิกษุในฐานะพลเมืองไทยได้
@ ในขณะที่มีการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ พ.ศ.2560 มานานหลายปี เกิด “เครือข่ายพระคิลานุปัฏฐาก” ขับเคลื่อนงานสุขภาพอยู่ทั่วประเทศ และมีตัวอย่างการขับเคลื่อนการรับสิทธิ์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่จังหวัดแพร่ ที่อาจเรียกได้เป็น “แพร่โมเดล” เมื่อเทียบกับฝ่ายบ้านเมือที่มี “ลำปางโมเดล” ที่ใช้กลไกสาธารณสุขและ อสม.เคาะประตูบ้านช่วยการลงทะเบียน กระทั่งเป็นที่ชื่นชมและกลายเป็นต้นแบบให้กระทรวงมหาดไทยนำไปใช้ในจังหวัดอื่นทั่วประเทศ แต่ดูเหมือน “สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ” ยังคงแสดงความ “มะงุมมะงาหรา” ผ่านหนังสือบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ฉบับดังกล่าวจนได้
@ หากคณะสงฆ์ไทยจะได้สิทธิ์การวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คงไม่จำเป็นต้องรอ “สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ” แต่ต้องหันกลับมาดูความเป็นไปได้ที่เป็นจริง คือการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดผ่านแพลตฟอร์ม “หมอพร้อม” เช่นเดียวกับประชาชนคนไทยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมทั้งช่องทางไลน์ออฟฟิเชียล (LINE Official Account) และแอพพลิเคชั่นหมอพร้อม รวมถึงยังสามารถไปติดต่อได้ที่โรงพยาบาลที่มีประวัติการรักษา และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่
@ หากจะส่งเสริมให้ “เครือข่ายพระคิลานุปัฏฐาก” ปูพรมสำรวจและช่วยเหลือในการลงทะเบียน ก็จะเป็นประโยชน์อย่างไม่ต้องสงสัย ครับ
@ ขอเป็นกำลังใจให้เครือข่ายพระคิลานุปัฏฐากทุกพื้นที่ และพระคิลานุปัฏฐากทุกรูปนะครับ คิดเสียว่ากำลังปฏิบัติตามพุทธบัญชาเรื่องการดูแลภิกษุไข้ โดยเฉพาะท่านเหล่านั้นที่เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และเพื่อนสหธรรมิก เป็นดั่งได้อุปัฏฐาพระพุทธบิดา แม้ พศ จะไม่เคยเห็นพวกเราอยู่ในสายตาก็ตาม ครับ !!!!
Leave a Reply