เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ที่วัดสิงหล (ร้าง) จ.ลพบุรี นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายนพดล แก้วสุพัฒน์ ที่ปรึกษากรรมาธิกา นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ ว่าที่ร้อยตรี สิริชัย ตุลยสุข อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติญาณหาร อนุกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สภาฯ นางภิรมย์ เจริญรุ่ง ผู้แทนส่วนราชการจังหวัดลพบุรี
นายเพชรวรรตเปิดเผยว่า จากกรณี สิงหล (ร้าง) ได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตต์หวงห้ามที่ดิน ลำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเช่า อำเภอโคงสำโรง จังหวัตลพรี่ และอำเภอ ปากเพรียว อำเภอหนองโตน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดสระบุรี พุทธศักราช 2479 จากการที่มีการถกเถียงว่าไม่สามารถขึ้นทะเบียนวัดได้ อย่างไรก็ตามได้มีการสำรวจจากกรมศิลปากร พบพระมีประวัติศาสตร์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 และมีประวัติวัดสิงหล (ร้าง) ระบุว่าแต่เดิมพื้นที่บริเวณวัดสิงหลเต็มไปด้วยป่ารก มีต้นตะโกและสะแก ขึ้นเป็นจำนวนมากจากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดกันมาว่า เคยมีพระธุดงค์มาปักกลดและมีพ่อโสดาผ่านมาพบแล้วเกิดศรัทธา จึงปรึกษากับนายพูน ปานพรหมมาศ ให้มาทำบุญเพราะบริเวณป่ารกร้าง มีพระพุทธรูป องค์ใหญ่ ใต้ฐานพระเต็มไปด้วยอิฐศิลาแลง หลังคามุงด้วยสังกะสี ชาวบ้าน บริเวณนั้นจึงเรียกนามท่านว่า หลวงพ่อใหญ่ ต่อมานายพูน ได้ให้ลูกชาย ชื่อนายเขียว ปานพรหมมาศ ให้ช่วยบูรณะทำเป็นศาลา
ขณะขุดทำศาลา ได้ค้นพบพระพุทธรูปหินทรายปรางค์นากปรก พระพุทธรูปองค์เล็ก โอ่งไห โบราณที่แตกหินศิลาแลง และของเก่าเป็นจำนวนมากได้กระจายอยู่เต็มบริเวณ แต่ ณ ปัจจุบันของที่ถูกค้นพบได้กระจายไปตามที่ต่าง ๆ เหลือเพียงแต่ พระพุทธรูปหินทรายปรางค์นากปรกและหินศิลาแลง จากการขุดพบของโบราณ และพระพุทธรูปจึงสันนิษฐานว่าเป็นวัดร้างมาแต่ก่อน นายเขียว ปานพรหมมาศ จึงได้ร่วมกับชาวบ้านบริเวณนั้น บูรณะบริเวณดังกล่าวเป็นวัดโดยใช้ชื่อว่า “วัดสิงหล” ทางคณะกรรมการวัดสิงหลได้ขอให้สำนักงานศิลปากรจังหวัดลพบุรี และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี ดำเนินการตรวจสอบพบหลักฐานว่า บริเวณนี้เคยขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้างในทะเบียนของสำนักงานพระพุทธศาสนา และจากการตรวจสอบของสำนักงานศิลปากรสันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้น่าจะ เคยเป็นวัดร้างในสมัยก่อนแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าในสมัยใด แต่ลักษณะ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ( หลวงพ่อใหญ่ ฐานพระก่อสร้างด้วยอิฐศิลาแลงพร้อม ด้วยใบเสมาโบราณนั้นน่าจะมีลักษณะเป็นโบสถ์ในสมัยเมื่อประมาณ 400 – 500 ปีก่อน ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง และ พระพุทธรูป หินทรายปรางค์นาคปรกจากการสันนิษฐานแล้วมีอายุประมาณ 700 – 800 ปี
นายเพชรวรรต กล่าวทิ้งท้ายว่า ทางกรรมาธิการศาสนาฯ จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงที่รัฐสภา เพื่อหาทางออก หากพิสูจน์ได้จริงว่า วัดเกิดก่อน พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตต์หวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี ก็จากสามารถขึ้นทะเบียนวัดได้
Leave a Reply