เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. ผู้ดำเนินรายการเวทีสันติสุข อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)
เปิดเผยว่า พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ ภายใต้หัวข้อสื่อสารอย่างไรจึงโดนใจเด็กเยาวชนใหม่ยุคโควิด เสนอ ปัญหา สาเหตุ วิธีการ และเครื่องมือทางออกอย่างสันติวิธี จัดโดยหลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมกับมูลโพธิปัญญา วิทยากรต้นแบบสันติภาพ และครอบครัววิทยากรต้นแบบสันติภาพ
พระมหาหรรษาได้กล่าวสาระสำคัญว่า เรามาสัมมนาออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร เป็นการสื่อสารที่เน้นไปที่เด็กและเยาวชน เยาวชนเป็นบุคคลที่ยังอ่อนต่อพลังของศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เมื่ออ่อนจึงนำไปสู่การสื่อสารในเชิงลบ ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันทุกวัยจะต้องคำนึงถึงการสื่อสาร เรากำลังเผชิญกับความทุกข์ คือ โควิด มีกากระจายขยายไปทั่วโลก โลกกำลังเผชิญหน้ากับโรค ความทุกข์ที่เกิดขึ้นไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร เวลาเผชิญหน้ากับความทุกข์ทำให้เราหาแพะรับบาป
เรากำลังฉีดวัคซีนที่ทำให้เราเผชิญหน้ากับสถานการณ์ตึงเครียด เวลาพูดถึงการสื่อสารจึงเป็นวัจนภาษาและอวันจนภาษา ซึ่งแสดงถึงความหงุดหงิดเคียดแค้นภายในใจ ผู้นำจึงเผชิญการสื่อสาร เราจะรู้ว่าใครเป็นผู้นำที่สุดยอด ก็ในช่วงที่เรากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤต ผู้นำจะสื่อสารอย่างไร เพื่อให้ปัญหายุติลง อวันจนภาษา จึงเกิดขึ้นในช่วงของโควิด โดยแสดงผ่านความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงวัคซีน ทำให้เราเห็นความไม่เท่าเทียมกันในสังคม โควิดเกิดขึ้นมาแสดงตัวตนของผู้นำ วุฒิภาวะทางอารมณ์ แสดงถึงว่าสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำขนาดไหน สังคมมีความไม่เท่าเทียมมากนี้เพียงใด
ภาพของเด็กนักเรียนไปเช่าชุดนัดเรียนมือสอง อะไรเกิดขึ้นในสังคม เป็นการสื่อสารแบบอวัจนภาษาในสังคมไทย ทำให้เราได้ยินประโยคที่ว่า “วัคซีนที่ดีที่สุดคือวัคซีนที่ฉีดไวที่สุด” แต่ในความเป็นจริงเราควรสื่อสารว่า “วัคซีนที่ดีที่สุดคือวัคซีนที่สร้างภูมิคุ้มกันมากที่สุด” ถือว่าเป็นอวัจนภาษา สถานการณ์ปัจจุบันให้บทเรียนในสังคมไทย วิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้เรามาทบทวนเราเอง ความทุกข์ครั้งนี้แม้จะเจ็บและแสนสาหัสแต่เรากำหนดรู้ เพราะความทุกข์ควรกำหนดรู้แล้วแสวงหาสมุทัย ค่อยมกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันนิโรธ เป็นการปักมุด หลังโควิดประเทศไทยควรจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่ว่าเราจะเก็บเกี่ยวอย่างไร วิธีการอยู่ร่วมกันเป็นมรรค การสื่อสารที่เป็นวัจนภาษาและอวัจนภาษาจึงมีส่วนสำคัญในปัจจุบัน
พระเมธีวชิโรดม (เจ้าคุณ ว.วชิรเมธี) ประธานมูลนิธิวิมุตตยาลัย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ พระอารามหลวง จังหวัดเชียงราย ปาฐกถาหัวข้อ “สื่อสารอย่างไร กับเด็กเยาวชนรุ่นใหม่ในยุคโควิด” กล่าวสาระสำคัญว่า โควิดทำให้เรามาเจอกันในออนไลน์ หัวข้อนี้ถือว่าเป็นหัวข้อที่ยอดเยี่ยมมาก ตรงกับยุคสมัยมากที่สุด เป็นหัวข้อที่ช่วยสังคมไทยในปัจจุบัน กำลังมีความต้องการ เพราะในสังคมโลกในปัจจุบันเป็นสังคมแห่งด้านผรุสวาจา ซึ่งบางคนเป็นเครื่องจักรผลิตคำด่า สิ่งที่น่าห่วงคือ เราเล่นการเมืองทุกอย่าง แม้กระทั่งมิติของวัคซีนป้องกันโควิด แทนที่เราจะคุยกันในด้านของมนุษยธรรมการช่วยเหลือกัน เพราะเราขาดการสื่อสารโดยสันติวิธีนั่นเอง
จึงขอยกพระพุทธเจ้าพระองค์เป็นนักสื่อสารอย่างแท้จริง โดยมองถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งมักจะมีศาสดาต่างๆไปเทศน์ไปสอน แต่มักจะบอกว่าศาสนาของตนเองดีที่สุด ชาวบ้านจึงทูลถามพระพุทธเจ้าว่าคำสอนไหนดีที่สุด ควรใช้อะไรเป็นเครื่องพิจารณาในคำสอนนั้นๆ พระพุทธเจ้าตรัสของกาลามสูตร เป็นพระสูตรที่ตระหนักการบริโภคข้อมูลสื่อสารต่างๆ เพราะในบรรดาเจ้าลัทธิใครพูดจริงพูดเท็จ เป็นคำถามที่ให้เราเลือกข้าง จึงมีการตรัสกาลามสูตร โดยไม่กระโดดเข้าไปสู่ความขัดแย้งหรือหนุนนำความขัดแย้ง จึงต้องระวังคำถามนำ เช่น ทำแบบนี้ไม่ถูกใช่ไหม จึงควรระวังอย่างมาก เราต้องไม่หนุน ไม่นำ ไม่เติม ไม่เสริม ไม่แต่ง แต่จงพิจารณาด้วยตนเอง
ปัญหาการสื่อสารในโลกปัจจุบันใช้การด่าท่วมโลก เราเป็นหมู่บ้านโลกที่ไม่มีประตู ซึ่งมีคุณและมีโทษ ทำให้อุณภูมิของสงครามเกิดขึ้น ผู้นำจึงควรสื่อสารที่ดีจะเกิดสันติสุข เราจึงควรสื่อสารให้เป็น ซึ่งการสื่อสารที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ประกอบด้วย เป็นการสื่อสารไม่ครบถ้วน สื่อสารแบบบิดเบือน สื่อสารแบบข้อมูลเท็จ สื่อสารหยาบคาย สื่อสารกระตุ้นความเกลียดชัง สื่อสารลดลอนความเป็นมนุษย์ มีการเหยียดความเป็นมนุษย์ สื่อสารให้เลือกปฏิบัติ สื่อสารก่อให้เกิดความแตกสามัคคี สื่อสารไร้สาระ สื่อสารเลือกปฏิบัติ โดยผู้นำจึงควรมีทักษะในการสื่อสาร จากวิกฤตให้เป็นโอกาสขึ้นมาทันที จึงขอเสนอประเด็นการสื่อสาร ๘ ประการ คือ
๑) #ก่อนสื่อสารมองให้เห็นช้างทั้งตัว เพราะถ้าเราไม่มองภาพรวม เราจะคุยกันคนละเรื่องเดียวกัน มองให้เห็นภาพรวมของช้างก่อนการสื่อสาร นักสื่อสารที่ดีต้องฝึกมองแบบองค์รวม นักสื่อสารจะต้องมีการทำการบ้านอย่างเป็นระบบ เช่น กรณีพระตัดศีรษะ เมื่อเราศึกษาแล้วเพราะท่านยึดคัมภีร์อนาตวงค์ จงหาความรู้ก่อนให้ความเห็น ความจริงมีความเป็นกลางของตัวมัน จงวิจัยก่อนการวิจารณ์
๒) #เปิดใจให้กว้าง ปราศจากอคติจะเป็นนักสื่อสารที่ดี จะต้องวางชุดความเชื่อความคิด เป็นนักฟังนักสังเกตที่เป็นกลางจริงๆ โดยในศรีลังกามีหนังสือเล่มหนึ่ง คือ หากพระพุทธเจ้ากลับมาจะเกิดอะไรขึ้น เกี่ยวกับการสังกัดพรรคไหน ผู้คนพยายามถามว่าท่านสังกัดพรรคใด พระพุทธเจ้าตรัสว่าเราไม่ได้สังกัดพรรคใด มีแต่ถามว่า อยู่สีใด ระบอบใด พรรคการเมืองใด ใจจึงสะท้อนว่าเมื่อเราเลือกฝั่งไปแล้วจะปิดกั้นกัน เราจึงทำใจให้กว้างเหมือนทะเลยอมรับน้ำทุกสาย ยอมรับฟังทุกคำพูดที่สื่อสาร
๓) #ต้องไม่ผูกความจริง ทุกฟังความจริงหลายๆชุด อย่าฟังชุดเดียวแล้วตัดสินทันที จะนำไปสู่ความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน
๔) #สื่อสารอย่างพระโพธิสัตว์ โดยรับฟังเสียงบุคคลที่มีความทุกข์ได้ยาก แท้จริงพระโพธิสัตว์คือนั่งฟังอย่างลึกซึ้ง ถ้าเรื่องใหม่ทำให้เราได้กำไรทางปัญญา ฟังแบบไม่ตัดสินใจ ฟังแบบไม่มีอคติ นักสื่อสารจะได้รับข้อมูลครบด้าน
๕) #สื่อสารอย่างบรมครู พระพุทธเจ้าเป็นนักสื่อสารชั้นยอดมีหลักการสื่อสาร ประกอบด้วย จริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ ประกอบด้วยเมตตา โดยมองถึงกาละเทศะแม้ประเด็นนั้นจะเป็นความจริงก็ตาม สุดยอดนักสื่อสารของตามแนวทางของพระพุทธเจ้าจะต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ สามารถศึกษาต่อในพระไตรปิฎก อภัยราชกุมารสูตร เล่มที่ ๑๓
๖) #การสื่อสารโดยสันติวิธี โดยยึดหลักโอวาทปาติโมกข์ ไม่ใส่ร้ายไม่ป้ายสีไม่ทำร้ายใครด้วยหอก คูถภาณี นักสื่อสารส้วมแตกไม่พึงประสงค์ มีหอก มีอาวุธ ออกมาจากปาก มีสารพิษในการสื่อสาร แต่เราเป็นนักสื่อสารที่พึงประสงค์ ปากขานหวานชื่น เป็นภาษาดอกไม้ จริงเมตตาวาจาสุภาพ เป็นภาษาน้ำผึ้ง พูดแล้วไม่ทำร้ายใคร นักสื่อสารที่ดีจะสื่อสารภาษาดอกไม้ และภาษาน้ำผึ้ง
๗) #สื่อสารอย่างปัญญาชน โดยยึดวาจาสุภาษิต ประกอบด้วย กาละเทศ ความจริง อ่อนหวาน มีประโยชน์ พูดด้วยเมตตา เป็นวาจาสุภาษิต ถือว่าเป็นทางของพระพุทธเจ้า
๘) #สื่อสารแบบนักเทศน์นักพัฒนาฝึกอบรม ประกอบด้วย แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง เป็นนักสื่อสารสัจจธรรม สามารถเล่าเรื่องให้เห็นภาพ ทำให้เกิดความจริง ความงาม ความง่าย
การสื่อสารที่ดีจะต้องมีแรงบันดาลใจในการสื่อสาร อย่าสนใจแต่วิธีการหรือเนื้อหาที่จะสื่อสาร แต่ต้องคำนึงถึงถึงเจตนารมณ์ในการสื่อสาร สื่อสารด้วยความเข้าอกเข้าใจ เห็นอกเห็นเห็นใจ เรื่องแบบนี้เราไม่ตัดสิน ไม่ประนามเขา สื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจ เราจะต้องไม่ตัดสินใคร คนเราดีไม่ทั่วชั่วไม่หมด ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงสังคมเราต้องไม่ใช้ผรุสวาจา แต่เราควรสื่อสารด้วยวาจาสุภาษิตมีเจตนารมณ์ในการสื่อสารที่เห็นอกเห็นใจ จึงควรเลือกทางที่ไม่สันติวิธี วิธีการสื่อสารไม่เหมาะสมแม้จะเป็นเรื่องจริงคนจึงไม่ฟัง นักสื่อสารต้องฝึกท่าทีในการสื่อสารฝึกใช้เครื่องมือในการสื่อสาร มีการ #สื่อสารบนความเห็นอกเห็นใจ ถือว่าเป็นฉลากสมอง
ดังนั้น การดูแลใจถือว่าวัคซีนที่ดีที่สุด การสื่อสารในสถานการณ์ยุคโควิดต้องสื่อสารด้วยสันติวิธีเท่านั้น เพราะก่อนจะสื่อสารต้องมองให้เห็นช้างทั้งตัว เราต้องป้องกันเครื่องจักรผลิตคำด่าที่เป็นผรุสวาจา มีคนพยายามถามพระพุทธเจ้าว่าท่านสังกัดอยู่พรรคใดระบอบใด สีใด กลุ่มใด พระพุทธเจ้าพยายามตระหนักให้ใช้หลักกามาลสูตรในการเชื่อในข้อมูลข่าวสารมากมายในโลกออนไลน์ โดยเราต้องไม่ผูกขาดความจริง จงมีการสื่อสารอย่างไรจะเปลี่ยนแปลงสังคม
Leave a Reply