พช.จัดประกวด“ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ”ชิงรางวัลเหรียญพระราชทานพร้อมสร้อยคอทองคำ 1,111 Views วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. นางลภารมย์ หนูสวัสดิ์ พัฒนาการจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วย นายประโมทย์ ดำจวนลม ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และทีมนักการตลาดรุ่นใหม่ (OTOP) ร่วมพิจารณากลั่นกรองและรวบรวมผ้า เพื่อส่งเข้าประกวดลายผ้าพระราชทาน ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ฯ ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพัทลุง ด้วยกรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทยเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไทยและเผยแพร่ผ้าไทยผ่านการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ชิงรางวัลเหรียญพระราชทานพร้อมสร้อยคอทองคำ ซึ่งรางวัลการประกวดแบ่งเป็น 3 ประเภทรางวัล คือ ประเภทที่ 1 The Best of Best รางวัลชนะเลิศรางวัลเดียวจากในแต่ละประเภทนำมาออกแบบตัดเย็บฉลองพระองค์ และรางวัลเหรียญพระราชทานพร้อมสร้อยคอทองคำ ประเภทที่ 2 The Best รางวัลที่ 1 – 3 ของ 15 ประเภท ได้รับรางวัลเหรียญพระราชทานทองคำ เงินและทองแดง ตามลำดับ ประเภทที่ 3 ชมเชย Top 10 ของ 15 ประเภท ได้รับประกาศนียบัตร (Certificate) กำหนดประกวดจัดงานระหว่าง 10 – 11 มิถุนายน 2564 นี้ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำหรับกิจกรรมดังกล่าว กรมการพัฒนาชุมชนจัดขึ้นเพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในเรื่องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ และการอนุรักษ์ผ้าไทยให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาผ้าไทยผ่านการเชิดชูเกียรติแก่ผู้สืบทอดภูมิปัญญาผ้าไทย ในขณะที่จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน ได้ลงพื้นที่ ณ บ้านคำปุน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นชุมชนผลิตและแหล่งเรียนรู้ถึงกระบวนการถักทอผ้าไหมของไทย ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ในการสืบสานภูมิปัญญาตั้งเดิมของท้องถิ่น โดยมีผู้ให้ความรู้แก่ช่างทอในปัจจุบันคือ นางคำปุน ศรีใส ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์-ถักทอ พ.ศ.2537 ศิลปินแห่งชาติ (หัตศิลป์-ถักทอ) ประจำปี 2561 และบุตรชาย คือ นาย มีชัย แต้สุจริยา ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2544 อีกทั้งยังเป็นผู้คิดค้นและออกแบบผ้าลายกาบบัว ผ้าเอกลักษณ์จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับบ้านคำปุนได้ทอลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ สืบเนื่องจากพระกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ผ้าไทย ที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพระราชทานลวดลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” แก่ช่างทอผ้าทุกกลุ่มจากทั่วทุกภูมิภาค ได้นำไปทอจนกลายเป็นผ้าผืนงาม ที่สร้างความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ในการนี้ นายมีชัย แต้สุจริยา ตัวแทนกลุ่มทอผ้าบ้านคำปุน ได้เปิดเผยเทคนิคการทอผ้าของกลุ่มกลุ่มทอผ้าบ้านคำปุน ว่า “การทอผ้ามัดหมี่ 2 ตะกอ ทอตามแบบอัตลักษณ์ผ้ากาบบัว ซึ่งเป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดอุบลราชธานี และ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติประกอบด้วย 1 เส้นยืนทิว 2 เส้นพุ่ง มัดหมี่ 3 เส้นพุ่งมับไม ( หางกระรอก) 4 ขิด ( ยก ) อีกทั้งยังมีการเพิ่มเทคนิค จก ( จกดาว ) และ เกาะล้วง ตามลวดลายขอพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯให้มีความประณีต และ มีคุณค่า เส้นไหมที่ใช้ทอเป็นไหมไทย ผ้านี้ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สีครั่ง เพื่อรักษาและสืบสานภูมิปัญญาการใช้สีย้อมธรรมชาติที่บรรพบุรุษของไทยได้ถ่ายทอด ส่งต่อมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน ลวดลายที่ใช้ในการทอลายผ้าพระราชทานนี้ รักษาให้คงไว้ตามแบบที่ได้ พระราชทานทุกประการ เพื่อเทอดพระเกียรติในพระอัจฉริยภาพ และ นำเอาเทคนิคการทอแบบต่างๆ ที่ใช้ในผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และ บ้านคำปุน มาถักทอ ตกแต่งให้มีคุณค่า เป็นตัวแทนของความจงรักภักดีที่ราษฎร เกษตรกรของเมืองนี้ มีต่อพระองค์..” สำหรับความหมายของ “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” นั้น ลาย S หมายถึงSirivannavari สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ลาย S จำนวน 10แถว หมายถึง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ หมายถึงความรักที่พระองค์มีต่อประชาชนชาวไทยทุกคน= Eternity Love เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดในการพัฒนาลวดลายผ้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้มีความร่วมสมัย สามารถก้าวสู่ระดับสากลเพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author อาหารรสพระทำ!’หลวงพี่ช้าง’นำเสิร์ฟสุขภาพเสิร์ฟธรรม อุทัย มณี พ.ย. 23, 2018 "หลวงพี่ช้าง"พระนักพัฒนา ออกเทศน์รูปแบบใหม่ "ธรรมกับสุขภาพ"… น้อมถวายความอาลัย “พระราชวชิรมงคล” อุทัย มณี ส.ค. 06, 2021 วันที่ ๖ ส.ค. ๖๔ เมื่อคืนนี้เวลา ๒๓.๑๒ น. พระราชวชิรมงคล อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร… “กมธ.ศาสนาวุฒิ”สุดทนพระเณรร่วมม็อบ ข้องใจ “คณะสงฆ์-พศ.” โยนกลอง อุทัย มณี พ.ย. 22, 2020 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภาในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการการศาสนา… เจ้าอาวาสวัดเขียนเขตร่วมกับผู้มีจิตศรัทธา มอบ 100,000 บาท ผู้ว่าฯหมู่ป่า สนับสนุนศูนย์ Call Center โควิดปทุมธานี อุทัย มณี ม.ค. 19, 2022 พระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต ร่วมผู้มีจิตศรัทธา… สหรัฐโควิดยังระบาดหนัก! วัดไทยติดป้ายปิดหลายแห่ง เจ้าของเว็บอะลิตเติลบุดดาปลีกวิเวกบนภูเขา อุทัย มณี ก.ค. 28, 2020 วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2563 เนื่องจากพิษโควิด-19 ยังระบาดอย่างหนักที่ประเทศสหรัฐอเมริกา… ‘น้องพลอย’The Voice ซีซั่น 6 สมัครเรียนป.ตรี ม.สงฆ์พิจิตร อุทัย มณี เม.ย. 25, 2019 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562 นางสาวสุภัคชญา รัตนใหม่ หรือ พลอย ผู้เข้าประกวดร้องเพลงในรายการ… การพนันในวัด: จริงจัง จริงใจ แก้ไขได้ อุทัย มณี ธ.ค. 28, 2018 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2561 เฟซบุ๊ก Phramaha Boonchuay ได้โพสต์ข้อความว่า… ปลัดเก่ง สยบข่าวลือ ปลด “สมเด็จชิน” เป็นเท็จโดยสิ้นเชิง!! อุทัย มณี พ.ย. 27, 2021 วันที่ 27 พ.ย. 64 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดประทรวงมหาดไทย ในฐานะไวยาวัจกรวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม… “ปริญญา”ยัน 5 พระเถระเงินทอนวัด “ยังคงความเป็นพระสงฆ์อยู่” อุทัย มณี เม.ย. 26, 2021 เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2564 จากแหล่งข่าวการเผยแพร่การบรรยายข้อกฎหมายของ… Related Articles From the same category หลักสูตรสันติศึกษา “ม.สงฆ์มจร” ขอเป็นส่วนหนึ่ง มอบสันติสุขแก่สังคมไทยสู้ภัยโควิด-19 วันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2563 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาเอก… “เจ้าคุณว.วชิรเมธี” แนะคิดนอกกรอบแก้โควิด คิดตามระบบราชการหาชนะไม่ ชูพระสงฆ์เป็นกลุ่มแรกๆที่รู้จักการปรับตัวสอดคล้องกับสถานการณ์… ตัวแทนครูร.ร.ปริยัติธรรม “ชื่นมื่น” 2 เดือนก.คลังจ่อคลอดงบฯเงินเดือน วันที่ 27 ต.ค. 2564 เวลา 12.00 น. ที่ห้อง CA303 อาคารัฐสภาเกียกกาย นายพิศัณย์… “อุทิส” นักวิชาการด้านพุทธ ชี้ “หมอปลา” ไม่แม่น “วินัยปิฎก” เหตุกลับลำ “ไม่ได้จับผิดหลวงปู่แสง” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 นายอุทิส ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพุทธศาสนา… นักเรียนเตรียมทหารอากาศ 3 นายของอเมริกันเข้าอบรมสมาธิ วันที่ 11 มี.ค.2562 Ñāṇasaṃvara Centre for Buddhist Studies-ศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวร…
Leave a Reply