ฟังพระเล่า!! การขับเคลื่อนหลัก “บวร” บนฐานของ “โคก หนอง นา”

       วันที่ 4 กรกฎาคม 2564 นายวิริยะ เสาทอง พัฒนาการอำเภอเดชอุดม พร้อมด้วย นางเกศสิริ มุทาพร นักวิชาการพัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบตำบลเมืองเดช นมัสการขอความเมตตาจาพระครูสุขุมวรรโณภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

        โอกาสนี้ พระครูสุขุมวรรโณภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พระนักพัฒนาที่ขับเคลื่อนชุมชนตามหลัก “บวร” ได้กล่าวแสดงสัมโมทนียกถา ในครั้งนี้ว่า “ประโยชน์ของโคก หนอง นา ในด้านทางกายภาพ เป็นการส่งผลให้ระบบนิเวศดีขึ้น การขุดหนอง คลอง โคก จะทำให้มีแหล่งที่จะเก็บน้ำฝนให้ได้ปริมาณมากขึ้น ที่ได้หลายล้านลูกบาศก์ ในอีกส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ สัตว์ทั้งหลายที่ธรรมชาติก็จะเกิดขึ้นอีกมากมาย ชาวบ้านก็จะได้รับประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น มีความมั่นคงของชีวิต มีความมั่นคงทางอาหาร พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น นอกจากนี้ชาวบ้านที่ทำโคก หนอง นา เป็นผู้มีบุญ มีทาน มีการเก็บแปรูปถนอมอาหาร มีการขายเพิ่มเพิ่มรายได้ มีเครือข่ายเรื่องการตลาด มีเครือข่ายคุณธรรม นอกเหนือจากนี้ชาวบ้านเกิดคุณธรรม เกิดบุญเกิดทานอยู่ในแปลงโคก หนอง นา ความอดทน ความเพียรก็ถือว่าเป็นคุณธรรม ความสามัคคีก็เกิดขึ้นในแปลงจากการเอามื้อสามัคคี ผลผลิตที่เกิดขึ้นถ้าเอาไปทำบุญก็ได้บุญ เอาไปทำทานก็ได้ทาน เอาไปแจกผู้ประสบภัยพิบัติก็เป็นความมีน้ำใจ เอาไปให้พ่อแม่ก็เป็นความกตัญญู เราจะได้เห็นว่า โคก หนอง นา ไม่เฉพาะเพียงที่จะให้เกิดระบบนิเวศที่ดี แต่ยังทำให้ชาวบ้านเกิดในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม มีความดีงามเกิดขึ้นในครอบครัวและชุมชนด้วยอันนี้เป็นเรื่องดีของโคกหนองนา โดยอีกหนึ่งบทบาทของพระสงฆ์ คือการขับเคลื่อน โคก หนอง นา ให้มีโอกาส เกื้อกูล ส่งเสริม และพัฒนาชุมชนท้องถิ่น อย่างเช่นที่มาช่วยแปลง “โคก หนอง นา บวร โมเดล” ในวันนี้ นี่ก็คือการร่วมมือด้วยหลัก “บวร” คือ บ้าน วัด ราชการ

        นอกจากนั้น พระครูสุขุมวรรโณภาส ได้กำหนดให้มีการเอามื้อสามัคคี “โคก หนอง นา บวร โมเดล” หรือ โคก หนอง นา พระ(ทำ)ธรรม แห่งนี้ ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 โดยพระครูเวตวันวรกิจ เจ้าคณะอำเภอเดชอุดม จะนำพระเณร (พระทำ) ร่วมกิจกรรม ส่วนพระครูสุขุมวรรโณภาส จะนำหน่อกล้วยมาปลูกด้วย 1,000 หน่อรวมไปถึงพระครูสุภัทรปุณณธาดา เจ้าคณะตำบลห่องเตย อำเภอเดชอุดม พร้อมด้วยชาวบ้านจะนำพันธ์ุพืช ผัก พื้นบ้านมาร่วมปลูก และยังจะไ้ด้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี จะนำหญ้าแฝกจำนวน 50,000 ต้น มาปลูกในแปลง “โคก หนอง นา บวร โมเดล” แห่งนี้

       ในส่วนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเดชอุดม นายวิริยะ เสาทอง พัฒนาการอำเภอเดชอุดม ได้เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาชุมชน ได้จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเอามื้อสามัคคี ประกอบด้วย 1)ฟางอัดก้อน 500 ก้อน โดยได้รับบริจาคจากส่วนราชการ ปศุสัตว์อำเภอ ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่อำเภอเดชอุดม และอำเภอใกล้เคียง 2)ปุ๋ยคอก 100 กระสอบ ได้รับบริจาค จากประชาชนในพื้นที่ 3)ต้นไม้ พืชผัก พืชสมุนไพร เช่น มะพร้าว กล้วย มะม่วง ยางนา ประชาชนในพื้นที่และ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) อำเภอเดชอุดม จำนวน 88 คน จะร่วมกันนำกล้วย มะละกอ และพืชผักอื่นๆ มาปลูกในกิจกรรมเอามื้อสามัคคีด้วย ซึ่งในวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 น. นายวิริยะ เสาทอง พัฒนาการอำเภอเดชอุดม พร้อมนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) อำเภอเดชอุดม จะมาเตรียมความพร้อม ร่วมกับท่านพระครูสุขุมวรรโณภาส ในการวางแปลนปลูกพืชให้เป็นไปตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ และจะมีกำลังพลจากหน่วยตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 225 เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย

        นายวิริยะ เสาทอง พัฒนาการอำเภอเดชอุดม ยังได้กราบนมัสการพระสงฆ์ และพบปะกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่า “ขอชื่นชมการดำเนินงานในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนถิ่น และการช่วยเหลือเกื้อกูล ระหว่าง “บวร” หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ โดยในอนาคตพื้นที่แห่งนี้ จะเป็นสถานที่กล่อมเกลาจิตใจและใช้เรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนในชุมชนมีความรักสามัคคี เป็นสังคมแห่งความเกื้อกูล เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร ถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน” ซึ่งเป็นการน้อมนำเอาแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาสืบสาน รักษา ต่อยอด และสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในการพึ่งตนเองและสร้างทางรอดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผมมุ่งหวังให้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” เป็นการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ เป็นการผสมผสานทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งโคก หนอง นา จะช่วยให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมีมนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ โอกาสนี้ ขอกราบขอบพระคุณพระสงฆ์ทุกท่านที่ได้เมตตาสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการฯ รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 (นพค.56) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ทุกคนที่ทำงานอย่างเต็มที่ในวันนี้ เพื่อสืบทอดบวรพุทธศาสนาและร่วมน้อมนำศาสตร์พระราชา และแนวพระราชดำริ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นายวิริยะ กล่าวปิดท้ายด้วยความปลื้มปีติ

Leave a Reply