ตามไปดู..คำตอบนายกรัฐมนตรี ผ่านราชกิจจา ฯ กรณีเงินทอนวัด รัฐบาล “เลือกปฎิบัติหรือไม่” วันที่ 5 ม.ค.64 ราชกิจจาฯ เผยแพร่ การตอบกระทู้ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จากการที่มีผู้ตั้งกระทู้ถาม มติมหาเถรสมาคมให้พระภิกษุ 5 รูป เข้าข่ายอาบัติปาราชิก จากกรณีเงินทอนวัด เป็นการพิจารณาแบบเลือกปฏิบัติหรือไม่ เนื่องจากพบว่า มีกรณีแบบนี้ในหลายวัดทั่วประเทศ โดยเป็นกระทู้ถามของ นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อชาติ เรื่อง นโยบายการให้เงินอุดหนุนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทำให้เกิดข้อกังขาจากมติมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ มติที่ ๓๑๙/๒๕๖๔ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เข้าใจไปได้ว่า ภิกขุภาวะความเป็นภิกษุย่อมสิ้นสุดลงในขณะที่เซ็น จ่าย ย้าย โอน ทรัพย์เพราะมีไถยจิตคิดยักยอก หรือที่ฝ่ายบ้านเมืองเรียกว่า ฟอกเงินเสร็จสมบูรณ์แล้วจึงเป็นปัญหาในทางปฏิบัติกับทุกวัดที่ได้รับเงินอุดหนุน กระทู้ถามดังกล่าว มีเนื้อหาว่า ตามที่มหาเถรสมาคมได้มีมติครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ มติที่ ๓๑๙/๒๕๖๔ เมื่อคราวประชุมวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ได้ปรากฏถ้อยคำตามมติดังกล่าวนี้ ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงและยังมีลักษณะ ใส่ความกล่าวหา ปรากฏในหน้าที่ ๔ ย่อหน้าที่ ๒ ความว่า “โดยที่พระภิกษุเหล่านี้ได้ร่วมกัน ฟอกเงินยักยอกทรัพย์ที่ผู้อื่นให้มาดำเนินงานตามโครงการฯ ซึ่งถือว่าเป็นเงินของสงฆ์ไม่ใช่ของบุคคล เอาไปใช้ในกิจการอื่น โดยสร้างหลักฐานเท็จ” ซึ่งข้อเท็จจริงจากทางนำสืบพยานและคำพิพากษาของ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ก็ไม่ปรากฏว่า พระเถระวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ทั้ง ๕ รูป ได้นำหลักฐานเท็จเข้าสู่สำนวนการต่อสู้คดีในศาลแต่อย่างใด อีกทั้ง ยังปรากฏถ้อยคำ ที่มีลักษณะกล่าวหาอันเป็นเท็จในหลายส่วน กล่าวคือ พระเถระทั้ง ๕ รูป มิได้กระทำการทุจริตใด ๆ จากเงินอุดหนุนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แม้กระทั่งคดี อท.๒๐๕/๒๕๖๑ คดีหมายเลขดำ ที่ อท.๕๒๐/๒๕๖๓ คดีหมายเลขแดงที่ ๖๙๕๖/๒๕๖๔ ศาลอุทธรณ์ ก็มีคำพิพากษายกฟ้อง ดังนั้น มติมหาเถรสมาคมที่เกี่ยวข้องกับพระเถระทั้ง ๕ รูป จึงเป็นมติที่อาจเข้าองค์ประกอบว่ามีการกระทำ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗ ที่ได้บัญญัติว่า “ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ซึ่งในที่นี้กรรมการมหาเถรสมาคมทุกรูป มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๕ ที่บัญญัติว่า “ให้ถือว่า พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครอง คณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา” และเรื่องนี้เลขาธิการ มหาเถรสมาคม (ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) เป็นผู้นำเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม มหาเถรสมาคม ซึ่งครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการส่อเจตนาที่ไม่ชอบและเป็นการ หมิ่นประมาทพระเถระทั้ง ๕ รูป อีกด้วย มติมหาเถรสมาคมดังกล่าวนี้ ได้ปรากฏความในตอนท้ายของมติว่า “สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณาว่า พระภิกษุทั้ง ๕ รูป เข้าข่ายอาบัติปาราชิก ข้อที่ ๒ ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน (ลักทรัพย์) หรือไม่ “ ข้อความในส่วนนี้ เป็นการใส่ความให้ได้รับความเสียหาย ทั้ง ๆ ที่ความในก่อนหน้านี้เป็นการใส่ความ ที่ค่อนข้างชัดเจน จึงอาจแปลความได้ว่าเป็นการส่อเจตนาพิเศษที่มุ่งร้ายให้เกิดความผิดต่อพระเถระ ทั้ง ๕ รูป บนพื้นฐานแห่งความมีอคติ มติมหาเถรสมาคมดังกล่าวนี้ ได้ปรากฏความในตอนท้ายสุดของมตินี้ว่า “ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติมอบให้เจ้าคณะผู้ปกครองที่เกี่ยวข้องดำเนินการวินิจฉัยอธิกรณ์ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรอง รายงานการประชุม” ถือว่า เป็นการออกมติที่มิได้คำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน ในมาตรา ๒๙ วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่า บุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้” มติมหาเถรสมาคม ที่กล่าวถึงนี้ จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และจะไม่มีสภาพบังคับ ตามบทบัญญัติในมาตรา ๕ วรรคแรก ของรัฐธรรมนูญซึ่งได้บัญญัติว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติ หรือการกระทำนั้น เป็นอันใช้บังคับมิได้” ดังนั้นมติมหาเถรสมาคมในส่วนที่กล่าวถึงนี้ จึงเป็นมติที่ไม่สามารถจะดำเนินการใด ๆ อีกต่อไปได้ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา ๕ อีกทั้ง กรรมการมหาเถรสมาคมและเลขาธิการมหาเถรสมาคมรวมทั้งคณะผู้ปกครอง เจ้าคณะสงฆ์ในระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ล้วนมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จึงไม่สามารถจะกระทำการใด ๆ ที่ขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เพราะหากจะกระทำ เช่นนั้น ก็จะเป็นการกระทำที่เข้าองค์ประกอบความผิด ตามกฎหมายหลายบท หากผู้ที่ได้รับผลกระทบประสงค์ที่จะใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ จากการที่มติมหาเถรสมาคมที่กล่าวถึงนี้ และเสนอโดยเลขาธิการมหาเถรสมาคมระบุไว้ ในความตอนหนึ่งว่า “ภิกขุภาวะความเป็นภิกษุย่อมสิ้นสุดลง ในขณะที่เซ็น จ่าย ย้าย โอน ทรัพย์ เพราะมีไถยจิตคิดยักยอก หรือที่ฝ่ายบ้านเมืองเรียกว่า ฟอกเงินเสร็จสมบูรณ์แล้ว และว่ากล่าวโดยสรุป บุคคลเหล่านี้ขาดจากความเป็นภิกษุก่อนที่ทางฝ่ายบ้านเมืองจะดำเนินการฟ้องและออกหมายจับ ดำเนินคดี” การเขียนมติมหาเถรสมาคมดังกล่าวข้างต้นนี้ มีลักษณะเป็นการกล่าวหาพระเถระทั้ง ๕ รูป ว่าเป็นผู้กระทำความผิด มีจิตใจคิดโกงทรัพย์สินมาเป็นของตน ทั้ง ๆ ที่ ศาลอุทธรณ์ก็มีคำพิพากษา แล้วว่า มิได้มีการ กระทำทุจริตแต่อย่างใด อีกทั้ง ข้อเท็จจริงยังปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนในเอกสาร บันทึกการอนุมัติงบประมาณของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติว่า ได้มีการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ในการจัดการศึกษาตามโครงการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี งบประมาณ ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นเอกสารยืนยันข้อเท็จจริงจากคำให้การของ นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวน บก. ปปป. เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ และต่อมาเมื่อวันที่๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ก็ได้ไปให้การต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ตามบันทึกคำให้การของ บก.ป. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่ามีวัดต่าง ๆ อีกจำนวนหลายวัด ที่มีการจัดสรรงบประมาณเช่นเดียวกันกับวัดสามพระยาวรวิหาร วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร และวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ปรากฏเป็นเอกสารหลักฐานแนบอยู่ในสำนวนของศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบกลาง ตามหมาย จ. ๖ ในคดีหมายเลขดำที่ อท.๒๐๕/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ แต่จนถึงปัจจุบันก็มิได้มีการดำเนินคดีกับวัดต่าง ๆ เหล่านั้น แต่อย่างใด ซึ่งได้ปรากฏตามบันทึกคำให้การของนายณรงค์ ทรงอารมณ์ อยู่ในสำนวนของศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบกลาง กล่าวหาวัดต่าง ๆ ว่า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย โดยอธิบายความว่า “ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบจากทะเบียนรายชื่อโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสานาแห่งชาติ แล้วพบว่าวัดสามพระยา วัดสัมพันธวงศาราม และวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร รวมทั้งวัดอื่นตามเอกสารผนวก ๑ – ๔ ที่กล่าวถึงข้างต้น (ยกเว้นวัดตากฟ้า พระอารามหลวง) เป็นวัดที่ไม่มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาสังกัดอยู่ การที่มี การเบิกจ่ายงบเงินอุดหนุดการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาโครงการสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่วัดที่กล่าวข้างต้น จึงเป็นการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ไม่ชอบด้วยวิธีการงบประมาณตามระเบียบ ว่าด้วยการบริหารงบประมาณฯ”หากจะถือตามมติมหาเถรสมาคม ที่ปรากฏความตามมติที่อ้างถึงนี้ว่า “ภิกขุภาวะความเป็นภิกษุย่อมสิ้นสุดลงในขณะที่เซ็น จ่าย ย้าย โอน ทรัพย์ เพราะมีไถยจิต คิดยักยอกหรือที่ฝ่ายบ้านเมืองเรียกว่า ฟอกเงินเสร็จสมบูรณ์แล้ว และว่ากล่าวโดยสรุป บุคคลเหล่านี้ ขาดจากความเป็นภิกษุก่อนที่ทางฝ่ายบ้านเมืองจะดำเนินการฟ้องและออกหมายจับดำเนินคดี” พระภิกษุในวัดต่าง ๆ ที่รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเหล่านั้น ก็ต้องขาด จากความเป็นพระภิกษุหมดทั้งสิ้นโดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ และกรรมการมหาเถรสมาคมหลายรูป ก็เข้าข่ายตามมตินี้ด้วย หากเป็นดังนี้จริง ๆ แล้วเหตุไฉนจึงมิได้มีการดำเนินการเอาผิดกับพระภิกษุ ในวัดเหล่านั้นทั้งหมดรวมทั้งกรรมการมหาเถรสมาคมบางรูป ดังนั้น จึงอาจเป็นไปได้ว่า มีการเลือกปฏิบัติ เอากับพระภิกษุบางวัดเท่านั้นที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏเป็นอย่างนี้ เจ้าหน้าที่รัฐทุกคน ที่เกี่ยวข้องก็อาจจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ตามประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงขอเรียนถามว่า ๑. รัฐบาลมีแนวทางหรือมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาในกรณีที่วัดทั่วประเทศได้รับเงิน อุดหนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ติดต่อกันกว่า ๒๐ ปี และทำไมจึงได้มีการร้องทุกข์ กล่าวโทษกับพระเถระในพระอารามหลวงเพียง ๓ วัดนี้เท่านั้น คือ วัดสามพระยาวรวิหาร วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร และวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร หรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด ๒.กรณีเงินอุดหนุนวัดทั่วประเทศได้มีการดำเนินการติดต่อกันเรื่อยมา และเป็นงบอุดหนุน ลักษณะเดียวกันในแต่ละปี เหตุใดพึ่งจะมีการร้องทุกข์กล่าวโทษกัน ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เพราะหากจะร้องทุกข์กล่าวโทษการรับเงินอุดหนุนในลักษณะเดียวกันนี้ ก็สมควรจะดำเนินการในทุกปีงบประมาณ ได้อยู่แล้ว ขอทราบรายละเอียด ๓. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีลักษณะการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้า องค์ประกอบความผิดในการเลือกปฏิบัติอย่างแจ้งชัด ซึ่งรัฐบาลมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด ๔.รัฐบาลโดยรัฐมนตรีที่กำกับดูแลมีมาตรการในการดำเนินการที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแจ้งเอาไว้กับกองบังคับการปราบปราม ถึง ๓๓ วัด และปรากฏว่ามีพระเถระในวัดต่าง ๆ ดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมเพื่อให้เกิดความเสมอภาคกับทุกวัด ขอทราบรายละเอียด ๕. รัฐบาลโดยรัฐมนตรีที่กำกับดูแลมีการดำเนินการในกรณีมติมหาเถรสมาคมในคราวประชุม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ ประสงค์จะปรับอธิกรณ์ด้วยอาบัติปาราชิกกับพระเถระทั้ง ๓ วัด เหตุใดจึงไม่ปรับ อธิกรณ์ด้วยอาบัติปาราชิกกับพระเถระอีก ๓๓ วัดที่เหลือ เพราะมีการกระทำแบบเดียวกันในการ รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ขอทราบรายละเอียด ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ตอบกระทู้ถามดังกล่าวดังนี้ นายกฯ ขอตอบกระทู้ถาม เรื่อง นโยบาย การให้เงินอุดหนุนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทำให้เกิดข้อกังขาจากมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ มติที่ ๓๑๙/๒๕๖๔ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เข้าใจไปได้ว่า ภิกขุภาวะความเป็นภิกษุย่อมสิ้นสุดลงในขณะที่เซ็น จ่าย ย้าย โอน ทรัพย์เพราะมี ไถยจิตคิดยักยอก หรือที่ฝ่ายบ้านเมืองเรียกว่า ฟอกเงินเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงเป็นปัญหาในทาง ปฏิบัติกับทุกวัดที่ได้รับเงินอุดหนุน ของท่านสมาชิกผู้มีเกียรติตามที่ได้รับรายงานจากสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดังนี้ คำตอบที่ ๑ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ตรวจสอบพบว่า มีการกระทำความผิดในการเบิกจ่าย งบประมาณที่มิชอบด้วยกฎหมาย จึงส่งหลักฐานให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบ ซึ่งต่อมา เมื่อได้มีการสืบสวนสอบสวนพบการกระทำความผิดของวัดใดแล้ว หน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการ ตรวจสอบ จึงประสานให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การกระทำความผิดตามผลการสืบสวนสอบสวนของหน่วยงานดังกล่าว โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มิได้มีการเลือกปฏิบัติกับวัดใดวัดหนึ่ง แต่อย่างใด คำตอบที่ ๒ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีการส่งเรื่องให้หน่วยงานที่ดำเนินการตรวจสอบกรณี การเบิกจ่ายงบประมาณที่อาจเข้าข่ายขัดกับวิธีการงบประมาณหรือมิชอบด้วยกฎหมาย โดยหาก หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบทุกปีพบว่ามีการกระทำความผิดในช่วงใดและได้รับการประสานให้ไป ร้องทุกข์กล่าวโทษ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ก็จะดำเนินการโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ คำตอบที่ ๓ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยมิได้มีการเลือกปฏิบัติ แต่อย่างใด เนื่องจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบได้ทำการสืบสวนสอบสวนและ พบการ กระทำความผิดในการเบิกจ่ายงบประมาณที่มิชอบด้วยกฎหมายและได้ประสานให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติไปร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามผล การสืบสวนของหน่วยงานดังกล่าว คำตอบที่ ๔ เนื่องจากผลการสอบสวนของหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบได้พบการกระทำความผิด ในการเบิกจ่ายงบประมาณที่มิชอบด้วยกฎหมาย จึงได้มีการประสานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ไปร้องทุกข์กล่าวโทษ ซึ่งการกระทำความผิดจะเกี่ยวข้องกับวัดใดบ้างและมากน้อยเพียงใด เป็นเรื่องที่ หน่วยงานตรวจสอบ จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนและขยายผล โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมิได้เข้าไปก้าวล่วงการดำเนินการของหน่วยงานดังกล่าว และมิได้มีการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด โดยการดำเนินการดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายด้วยความเสมอภาค คำตอบที่ ๕ ในการมีมติมหาเถรสมาคม ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ มติที่ ๓๑๙/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เป็นอำนาจในการพิจารณาของกรรมการมหาเถรสมาคม หากมีผลการสืบสวน สอบสวนหรือการดำเนินการทางกฎหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีข้อเท็จจริงลักษณะเดียวกัน มหาเถรสมาคมย่อมมีอำนาจในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมิได้มีการ เลือกปฏิบัติแต่อย่างใด จำนวนผู้ชม : 354 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ปลัดกระทรวงมหาดไทยนำประชาชนจิตอาสาร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาปลูกสมุนไพรและต้นไม้ เฉลิมพระเกียรติ ฯ อุทัย มณี เม.ย. 03, 2022 วันที่ 3 เม.ย. 65 เวลา 09:30 น. ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย… พจ.อุบลฯ พายล “โคก หนอง นา พช. บุญรักษา” แก้ปัญหาประชาชนอย่างยั่งยืน อุทัย มณี ต.ค. 22, 2021 วันที่ 21 ตุลาคม 2564 นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี… วัดป่าวังน้ำเย็น แจง 5 ประเด็น กรณีพระปลัดฉาว “ไม่ได้จำวัดวัดป่าวังน้ำเย็นถาวร -ไม่ได้มีอำนาจเบิกจ่าย” อุทัย มณี พ.ย. 06, 2024 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 เพจพระอาจารย์สุริยัน โฆสปญฺโญ วัดป่าวังน้ำเย็น… ครบรอบ 40 ปีวัดพุทธานุสรณ์ อายุวัฒนมงคลประธานสมัชชาสงฆ์ในสหรัฐอเมริกา อุทัย มณี ก.ค. 03, 2023 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566ได้มีการทำบุญอายุวัฒนมงคล พระราชธรรมวิเทศ… “บิ๊กตู่”ชมเชิญชวนร่วมเทศกาล”มาฆะรักษ์โลก” อุทัย มณี ก.พ. 04, 2020 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา… ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มช.เปิดรับสมัคนนศ.ปรัชญาป.โท รอบ 2 !!! อุทัย มณี ก.ค. 13, 2019 เมื่อวันที่ 13 ก.ค.2562 ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่… เอาแล้ว!! สคบ. จ่อออกกฎหมายคุมการโฆษณา “เครื่องราง ของขลัง” ใช้ข้อความที่ยากต่อการพิสูจน์ อวดอ้างสรรพคุณที่เกินจริง อุทัย มณี ส.ค. 17, 2023 เครื่องราง ของขลัง พระเครื่อง นับเป็นหนึ่งในสิ่งของแทนความอุ่นใจที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยมานาน… พระพรหมเสนาบดี นำคณะกรรมการ “หมู่บ้านรักษาศีล 5” หนกลาง ตรวจเยี่ยม “หมู่บ้านศีล 5 ต้นแบบ” จังหวัดลพบุรี ด้านผู้ว่าฯ เตรียมขยายยกระดับเป็น “หมู่บ้านศีลธรรม -หมู่บ้านยั่งยืน” อุทัย มณี ส.ค. 21, 2023 วันที่ 21 ส.ค. 66 ที่วัดช่องสาริกา ตำบลช่องสาริกา อำเภอพัฒนานิคม… “มหาเถรสมาคม”ต้องกอบกู้วิกฤติศรัทธา อุทัย มณี พ.ค. 10, 2021 โดย..“เปรียญสิบ” หลายวันมานี่นั่งคิด นอนคิด อยู่ในสวนต่างหวัด… Related Articles From the same category ผอ.พศ.ลำปาง เดินหน้าโครงการ “ทำวัดร้าง ให้เป็นวัดรุ่ง” เร่งออกโฉนดที่ดินวัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ วันอังคารที่ 9 มกราคม 2567 เวลา 09.30 น. นายคนึงกิจ พรหมนุชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลำปาง… ในหลวง -พระราชินี เสร็จเปิดอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ณ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ 30 มี.ค.65 เมื่อช่วงเย็นวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว… วัดธรรมกาย แถลง ไม่เกี่ยวข้อง “ลัทธิโยเร” ระบุยึดแนวปฏิบัติตามหลัก “ธรรมวินัยสงฆ์เถรวาท” วันที่ 4 มกราคม เฟซบุ๊ก สำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย ได้เผยแพร่เอกสารชี้แจง… สังเวชนียสถานทำไม? ทำไม?ต้องสังเวชนียสถาน พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ… ๑๑๘ ปี ชาตกาล “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร)” ๑๑๘ ปี ชาตกาล "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร)” พระเถระวรุตมสงฆ์ธำรงศาสน์…
Leave a Reply