นายกองเอก สุทธิพงษ์ฯ ปลัด มท. เปิดฝึกอบรมวิทยากรผู้ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำถิ่น วันที่ 16 มี.ค. 67 เวลา 08.39 น. ที่หอประชุมกัลปพฤกษ์ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี นายกองเอก สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมวิทยากรเพื่อทำหน้าที่ผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำท้องถิ่น ปี 2567 รุ่นที่ 11 โดยได้รับเกียรติจากนายกองเอก ธารณา คชเสนี (ครูป๊อด) นายหมวดตรี น้ำเพ็ชร คชเสนี สัตยารักษ์ (ครูปั๊ม) ดร.ลักษิกา เจริญศรี (ครูป้ายู) ร่วมเป็นวิทยากร โอกาสนี้ นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย นายสุรศักดิ์ อักษรกุล นายณัฐพงศ์ คำวงศ์ปิน นายณฐพล วิถี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ร้อยตรี สรมงคล มงคละสิริ ผู้อำนวยการสถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย นายไพโรจน์ โสภาพร ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นายสมาน พั่วโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ 20 อำเภอ ผู้เข้ารับการอบรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมกว่า 200 คน ร่วมพิธี นายกองเอก สุทธิพงษ์ฯ กล่าวว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมวิทยากรเพื่อทำหน้าที่ผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำท้องถิ่นทุกท่าน คือ ความหวังของกระทรวงมหาดไทย ความหวังของประเทศชาติ และกล่าวได้ว่าเป็นความหวังของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะทุกท่านมุ่งมั่นเสียสละเวลาและความสุขส่วนตัวมาเข้ารับการฝึกอบรมทำหน้าที่เป็นครูจิตอาสา ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ดังพระปฐมบรมราชโองการ เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป เพราะ “ประวัติศาสตร์” จะทำให้พี่น้องคนไทยมีความรักกัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ครอบครัว ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ญาติพี่น้องที่แยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ถ้าลูกหลานของเราได้รู้จัก ได้รับการแนะนำ ถ่ายทอดให้รู้จักมักคุ้น สายใยแห่งความรัก สายใยแห่งความเป็นพี่น้อง สายใยแห่งความผูกพันที่มีสายโลหิตสายวงศ์ตระกูลเดียวกันก็จะเกิดขึ้น นนำไปสู่ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน คนไทยจึงบอกว่า “เลือดต้องข้นกว่าน้ำ” แต่ถ้าลูกหลานไม่รู้จักปู่ย่าตายาย ลูกพี่ลูกน้อง คุณลุงคุณป้าที่เป็นญาติกัน ก็จะไม่เกิดความรัก ไม่เกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เวลาแยกย้ายไปคนละที่ละทางก็จะไม่รู้จักกัน หรือแม้แต่เวลาทำบุญทำทานก็ไม่สามารถอุทิศบุญกุศลบอกกล่าวชื่อของบรรพบุรุษได้ “ประวัติศาสตร์ของจังหวัด ตำบล หมู่บ้าน ก็เช่นกัน เป็นสิ่งที่จะทำให้เรามีความภาคภูมิใจ มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีคุณูปการต่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ยิ่งประวัติศาสตร์ชาติไทยยิ่งมีความสำคัญ เพราะความเป็นชาติที่มีความหลากหลาย มีความกว้างใหญ่ของพื้นที่ เช่น ประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก จะทำให้คนมีความรัก ความหวงแหนในแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอน และกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ทำให้เรามีประเทศ มีภาษาไทย มีวัฒนธรรมความเป็นไทย เพราะประเทศนี้ยังมั่นคงอยู่ได้เพราะเรารู้สึกว่าเราเป็นคนไทย ไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาใดหรือมีวัฒนธรรมใด ดังนั้น ถ้าเราไม่รู้จักรากเหง้า ไม่รู้จักความดีงามของบรรพบุรุษตนเอง ในท้ายที่สุดก็จะทำให้เกิดความไม่รัก ไม่ผูกพันกับแผ่นดิน หน้าที่ที่สำคัญของพวกเรา คือ ต้องถ่ายทอดทำให้ลูกหลาน ทำให้พี่น้องในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ได้รับรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง และสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษ เพื่อจะได้เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณและประเทศชาติบ้านเมือง ดังพุทธศาสนสุภาษิต “นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี” นายกองเอก สุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม นายกองเอก สุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำว่า สิ่งที่เป็นเครื่องย้ำเตือนใจพวกเราในการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ได้พระราชทานต่อมหาสมาคม เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ความตอนหนึ่งว่า “เพราะเราจะพูดถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ที่บรรพบุรุษของเราสละชีวิตมาเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินมาด้วยเลือดเนื้อ ด้วยชีวิต แต่เสียดาย …ไม่ให้เรียนประวัติศาสตร์แล้วนะ…ตอนที่ฉันเรียนอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ไม่มีประวัติศาสตร์อะไรเท่าไหร่ แต่เราก็ต้องเรียนประวัติศาสตร์ของสวิส แต่เมืองไทยนี่ บรรพบุรุษเลือดทาแผ่นดิน กว่าจะมาถึงที่ให้พวกเราอยู่ นั่งอยู่กันสบาย มีประเทศชาติ เรากลับไม่ให้เรียนประวัติศาสตร์…อย่างที่อเมริกาถามไปเขาก็สอนประวัติศาสตร์บ้านเมืองเขา ที่ไหนประเทศไหน เขาก็สอน แต่ประเทศไทยไม่มี ไม่ทราบว่าแผ่นดินนี้ รอดไปอยู่จนบัดนี้เพราะใคร หรือว่ายังไงกัน อันนี้น่าตกใจ ชาวต่างประเทศยังไม่ค่อยทราบว่า นักเรียนไทยไม่มีการสอนประวัติศาสตร์ชาติเลย” และพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงขยายความถึงคำว่า “ประวัติศาสตร์” ที่ได้พระราชทานแก่เยาวชนโครงการค่ายผู้นำเยาวชนจิตอาสา หลักสูตรการฝึกปฏิบัติและดูงานเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ รุ่นที่ 1 ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “ประเทศชาติก็คือบ้าน แบ่งเป็นพื้นที่ต่าง ๆ สังคมต่าง ๆ ก็ลงมาอยู่ที่พื้นฐานก็คือครอบครัวและลงมาอยู่ที่ตนเอง บ้านเมืองของเรา ประเทศของเรา หรือบ้านหรือครอบครัวของเราเนี่ย จะมีความสุขปลอดภัย น่าอยู่ สบาย มันก็ขึ้นกับคนรุ่นเราในอนาคต…อนาคตอยู่ที่พวกเรา ประเทศชาติบ้านเมืองมีความสุขความมั่นคงอยู่ที่พวกเรา เพราะฉะนั้นประสบการณ์ที่ดี ประสบการณ์ที่ถูก สำคัญ ถ้าเกิดรู้ อยากรู้ว่าอะไรถูกหรือผิดมันก็มีตัวอย่าง ซึ่งสมัยนี้คนไม่ค่อยชอบเรียนประวัติศาสตร์กัน คนไม่ค่อยคิดอะไรย้อนหลัง ไม่ได้สอนให้เป็นคนสมัยเก่าไดโนเสาร์อะไร แต่ความเป็นมา ความต่อเนื่อง…ชีวิตของเราก็มีความต่อเนื่องความเป็นมา ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์หรือความเป็นมาของชาติบ้านเมือง ทั้งที่ดี ทั้งที่ไม่ดี เราก็จะรู้ว่าอะไรมันดี อะไรเป็นประโยชน์ อะไรมันไม่ดี เพราะว่ามันมีของดี มันก็มีของไม่ดี มันมีของถูก มันก็มีของผิด ก็สำคัญที่ว่า จะเปิดใจศึกษาว่าอะไรมันถูก อะไรมันผิด อะไรมันเป็นประโยชน์ อะไรมันไร้ประโยชน์ แต่อย่างที่บอกว่าประวัติศาสตร์มีทั้งของเลวชั่วร้าย และก็มีทั้งของที่ดี…แต่ที่สำคัญเราต้องเอาบทเรียนมาใช้…เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์…ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาให้มาก ว่าสมัยก่อนมันเป็นอย่างนี้ ถ้าทำอย่างนี้มันเป็นอย่างนั้น แล้วปัจจุบันเราจะทำอย่างไรให้เรามีความรู้ มีร่างกายที่แข็งแรง มีจิตใจที่จะรักษาประเทศชาติบ้านเมือง อย่างน้อยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เป็นกำลังใจให้…” อันสะท้อนว่า ประวัติศาสตร์มีความสำคัญที่ช่วยให้เราตระหนักรู้ถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา ทั้งของประเทศชาติ ของครอบครัว และของชีวิต ว่ามีทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ไม่ดี ถ้าเรื่องดีก็เอาเป็นตัวอย่าง ยึดถือปฏิบัติเป็นวัตรปฏิบัติได้ อันสอดคล้องกับพระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานแก่ข้าราชบริพาร ความว่า “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” การแก้ไขในสิ่งผิด คือ การนำสิ่งที่ดีงามกลับมา เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งในอดีตคนไทยมีอะไรก็ช่วยกัน ดังพุทธศาสนสุภาษิต “โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา : เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก” อันสะท้อนความหมายว่า ความรักใคร่สนิทสนม มีความปรารถนาดีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจ ปรารถนาจะให้คนอื่นมีความสุข ไม่เบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน ปลูกมิตรไมตรี แก่บุคคลโดยทั่วไป เหมือนประหนึ่งว่าเป็นญาติกัน เมื่อชาวโลกทั่วไปมีความรักความเมตตาต่อกันอย่างนี้ก็จะเกิดความรักความสามัคคีกัน ไม่มุ่งร้ายต่อกัน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว โดยการเบียดเบียนผู้อื่น การทะเลาะวิวาทบาดหมางก็จะไม่มี สงครามของแต่ละประเทศก็จะไม่เกิด จึงเป็นเครื่องค้ำจุนโลก เพราะถ้าประชาชนไม่มีความสุข ประเทศก็จะไม่มั่นคง พระองค์จึงพระราชทานโครงการจิตอาสาพระราชทาน และโรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน เพื่อทำให้พวกเราคนไทยได้เป็นผู้มีจิตอาสาโดยไม่หวังผลตอบแทน เฉกเช่นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) ที่เป็นจิตอาสาประเภทหนึ่ง ที่มุ่งเน้นดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยด้วยเพราะทหารตำรวจมีจำกัด แต่ถ้าทุกคนไม่นิ่งดูดายช่วยกันเป็นอาสาสมัคร ก็จะทำให้สังคมดีขึ้น “การเรียนรู้ประวัติศาสตร์มีหลายวิธี วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การพูดคุย บอกเล่า หรือในรูปแบบการจัดงานรำลึก โดยพวกเราทุกคนต้องช่วยกันกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้วิธีการต่าง ๆ ซึ่งการจัดฝึกอบรมวิทยากรเพื่อทำหน้าที่ผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำท้องถิ่นเป็นเรื่องใหญ่ที่มีความสำคัญ เพื่อจะหนุนเสริมความคิดและความตั้งใจของพวกเราที่ปรารถนาเป็นจิตอาสาเพื่อสนองแนวพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระราชปณิธานอันแรงกล้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงบอกชัดเจนว่า เราเรียนรู้เรื่องในอดีตเพื่อเป็นบทเรียน เพื่อเป็นประสบการณ์ ซึ่งถ้าเราเรียนประวัติศาสตร์ เราก็จะรู้เรื่องไม่ดีในอดีตว่าเพราะคนในชาติแตกความรัก ความสามัคคี มีไส้ศึก มีคนอยากเป็นใหญ่ จนยอมขายชาติเปิดประตูเมือง ลักลอบส่งข่าวให้ข้าศึก และเราก็รู้เรื่องที่ดีว่า ยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างไร “มีปัจจุบันเพราะมีอดีต และอนาคตจะดีได้ก็เพราะมีปัจจุบันที่ดี ดังนั้น พวกเราจะมาช่วยกันทำให้สิ่งที่หายไปเป็นเวลากว่า 25 ปี ด้วยการเป็นทหารเสือพระราชา ทหารเสือพระพันปีหลวง เป็นพลังของแผ่นดิน ไปทำในสิ่งที่ไม่ได้เป็นภารกิจหลักที่ท่านรับผิดชอบ ด้วยการไปทำในสิ่งที่สังคมขาดหาย คือ “การเป็นครูจิตอาสาที่เข้มแข็ง” ออกไปทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำถิ่นในชุมชน ในจังหวัด ในโรงเรียน ในเรือนจำ ในที่ประชุม ในที่ประชาคมต่าง ๆ ไปถ่ายทอดความรู้ สร้างครู ข ครู ค เพื่อเพิ่มพูนคนทำดีให้กับประเทศชาติบ้านเมืองของเรา เพื่อทำให้ประเทศนี้ไม่ลืมบรรพบุรุษ และช่วยกันทะนุถนอม ครองตน ดำรงชีวิต เพื่อให้ประเทศชาติ พระศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์มีความมั่นคง ประชาชนก็จะมีความสุขอย่างยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ กระทรวงมหาดไทยและทุกกระทรวง โดยกระทรวงมหาดไทยจะมอบบัตรประจำตัวจิตอาสาผู้ถ่ายทอดความรู้ประวัติศาสตร์ฯ และวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมทุกคน” นายกองเอก สุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงท้าย จำนวนผู้ชม : 10,637 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ฝากการบ้านพรรคเพื่อไทย ด้าน“พระพุทธศาสนา” อุทัย มณี ก.ย. 04, 2023 ตอนนี้หลายคนตั้งคำถามว่า “พรรคเพื่อไทย” มีนโยบายด้านศาสนาหรือพระพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง… “เจ้าคุณประสาร”นำคณะวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด”มจร” มอบสิ่งของรพ.สนามวัดโพธิการามร่วมสู้ภัยโควิด อุทัย มณี ก.ค. 16, 2021 วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2564 พระเมธีธรรมาจารย์หรือเจ้าคุณประสาร… กองปราบบุกค้น 3 จุด จับกุมคนย้อมแมวชุดสังฆทาน-ไตรจีวรเก่า ขายในราคาแพงเกินจริง อุทัย มณี เม.ย. 08, 2021 วันนี้ (8 เม.ย. 64) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค… สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรมเนื่องในโอกาสวันครบรอบ 238 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ อุทัย มณี เม.ย. 21, 2020 วันนี้ (21 เม.ย.2563) เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช… “สมเด็จธงชัย” เปิดประชุมสงฆ์ภาค 14 กำชับ การปกครองคณะสงฆ์จะเรียบร้อยดีต้องปฎิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและพระธรรมวินัย อุทัย มณี พ.ค. 31, 2024 วันที่ 31พฤษภาคม 2567 เวลา 08.30 น ที่ วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ตตกยกกระบัตร… ปลัดกฤษศญพงษ์ : ที่ผมรู้จัก อุทัย มณี ก.ย. 29, 2020 โดย..เปรียญสิบ คุณกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม… “สมเด็จพระสังฆราช” ทรงแต่งตั้ง “พระพรหมบัณฑิต” เป็นประธานกก.เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ อุทัย มณี ก.พ. 17, 2022 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 คติธรรม วาทะธรรม พระพรหมบัณฑิต… “ก.เกษตร”สั่งจัดการเด็ดขาด ขบวนการนำเข้าทุเรียนเวียดนาม สวมสิทธิ์ทุเรียนไทยส่งออกจีน อุทัย มณี มิ.ย. 22, 2021 วันที่ 22 มิ.ย. 64 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์… ทัวร์แม่แจ่ม : ฟังเสียงสะท้อนชาวบ้านโคก หนอง นา อุทัย มณี ก.ย. 01, 2021 ในขณะที่เขียนต้นฉบับอยู่นี้ เปรียญสิบ กำลังอยู่ในห้องพักภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาสงฆ์จังหวัดลำพูนชื่ออาคารว่า “อาคันตุกะภิรมย์สุข” มีห้องพัก… Related Articles From the same category กระทรวงมหาดไทย จัดพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ “กรมสมเด็จพระเทพฯ” วันที่ 2 เม.ย. 67 เวลา 06.30 น. ที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร… พศ.จัดสรรงบอุดหนุน”เพื่อความมั่นคงพระพุทธศาสนาชายแดนภาคใต้” วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมชั้น ๓ อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำหลังที่… วธ.ร่วมกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนจัดงานประเพณีปอยส่างลองบรรพสามเณรปอยส่างลอง เฉลิมพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ วันที่ 24 เมษายน 2566 วานนี้ เวลา 10.30 น. พระสุมณฑ์ศาสนกิตติ์ เจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน … “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร” มอบทุนการศึกษา แก่ นิสิต มจร “สาขาบาลีสันสกฤต” วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 พระครูสมุทรวชิรานุวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหาร… ‘เกรซ-สิริมา’เปิดตัว!ลงสมัครส.ส.’แผ่นดินธรรม’ 'เกรซ-สิริมา'เปิดตัว!ลงสมัครส.ส.'แผ่นดินธรรม' เหตุถูกใจอุดมการณ์ที่ชู…
Leave a Reply