ผลประเมิน“ความโปร่งใส”ประจำปี’67  “มมร นำ มจร” ดัชนีความโปร่งใสลดจากปีที่แล้วทั้งคู่

วันที่ 30  กรกฏาคม 2567    สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้ประกาศ ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2567

สำหรับผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2567 ประเภทสถาบันอุดมศึกษามีหลายแห่ง ผ่าน และไม่ผ่าน ต้องปรับปรุง และ ต้องปรับปรุงโดยด่วนซึ่งในส่วนของคณะสงฆ์ไทยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย  (มมร)  “ผ่าน” แต่เมื่อเทียบกับคะแนนระหว่างทั้ง 2 สถาบันแล้ว ความโปร่งปีงบประมาณ 2567   มจร ได้ 88.43 ลดลงจากปีที่แล้ว 1.08  ส่วน มมร ได้  92.21 ลดลง 0.92   และเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา มจร ความโปร่งใสลดลง  2 ปีซ้อน ในขณะที่ มมร ปีนี้ลดลงเช่นกัน

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ โดยถือเป็นการประเมินที่ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564 โดยใช้แนวทางและเครื่องมือการประเมินตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนดสำหรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity &Transparency Assessment) แบ่งเป็น 5 ดัชนีดังนี้

1.ความโปร่งใส (Transparency) ประเมินจากความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประสบการณ์ในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ และจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence – Based) บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการดําเนินงานของหน่วยงาน

2.ความพร้อมรับผิด (Accountability) ประเมินจากความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประสบการณ์ในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ

3.คุณธรรมการให้บริการของหน่วยงาน (Integrity in Service Delivery) ประเมินจากการรับรู้และประสบการณ์โดยตรงของประชาชนผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ

4.วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture) ประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐ และจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence – Based) บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการดําเนินงานของหน่วยงาน

5.คุณธรรมการทํางานในหน่วยงาน (Work Integrity) ประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการดําเนินงานของหน่วยงาน

Leave a Reply