เปิดจดหมาย “อดีตพระพรหมเมธี” ขอความเป็นธรรม

วันที่ 25 สิงหาคม 2567 มีคลิปเสียงของ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบประจำกระทรวงยุติธรรม ได้ไลฟ์สด เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ณ  เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย รายการ สนทนาภาษาเปรียญธรรม ได้เปิดเผยว่า ตนเองได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมให้กับอดีตพระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร ถึง ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอให้ยกเลิกหมายจับอดีตพระพรหมเมธี เนื่องจากท่านมิได้กระทำความผิดตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในห้วงเวลานั้น แจ้งความร้องทุกข์  พร้อมกับส่งสำเนาคำพิพากษายกฟ้องของศาลอุทธรณ์ระหว่างพระพรหมดิลกกับสำนักงานอัยการสูงสุด สำเนามติมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ขอให้ทบทวนการดำเนินการตามมติมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 และเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เพราะไม่มีเหตุจำเป็นต้องดำเนินการให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณา

จากคลิปเสียงของนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผนวก จากการสอบถาม “แหล่งข่าว” กล่าวตรงกันว่า หนังสือร้องขอความเป็นธรรมให้กับอดีตพระพรหมเมธี ได้ทำขึ้นจริง เมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้บัญชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณา ซึ่งประเด็นหลัก ๆ ในหนังสือขอความเป็นธรรมมีดังนี้

เนื่องด้วยในสถานการณ์ปัจจุบันได้ปรากฎข้อเท็จจริงแล้วว่า สถานการณ์ที่มีการกลั่นแกล้งพระภิกษุในวัดจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินั่นห้วงเวลานั่น มีการยืมพนักงานสอบสวนเป็นเครื่องมือในการกล่าวหาพระเถระ 3 พระอารามหลวง คือ วัดสามพระยา วัดสระเกศ และวัดสัมพันธวงศ์ จนนำไปสู่การจับกุม โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้พ้นจากความเป็นพระภิกษุ ด้วยการยัดเยียดข้อกล่าวหาผ่านพนักงานสอบสวน ไปยังพนักงานอัยการ และนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง

บัดนี้เมื่อสถานการณ์ทุกอย่างได้คลี่คลายจนเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า พระภิกษุสงฆ์เหล่านั่นได้ถูกกลั่นแกล้ง จนพระเถระผู้ใหญ่ 2 รูป คือ พระพรหมดิลก และพระพรหมสิทธิ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ คืน สมณศักดิ์ ให้ดังเหมือนเดิมแล้ว  จากเหตุผลดังกล่าว อดีตพระพรหมเมธี ซึ่งปัจจุบันลี้ภัยอยู่ประเทศเยอรมนี ได้ส่งหนังสือขอความเป็นธรรม สรุปความไว้ 4 ประเด็นดังนี้

1)เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 ตำรวจเข้าไปตรวจค้นและจับกุมท่าน ในขณะที่ท่านปฎิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยทางรถยนต์ ขณะเมื่อถึงจังหวัดพิษณุโลก ได้ทราบข่าวจากสื่อมวลชน ตำรวจจะจับกุมท่านที่วัดสัมพันธวงศ์ ท่านตั้งใจจะเดินทางพบพนักงานสอบสวนเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ แต่ตอนหลังทราบว่า ตำรวจได้จับกุมพระเถระวัดสามพระยาและวัดสระเกศ ด้วย และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว จะต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำ โดยที่ศาลยังไม่ได้พิพากษาคดี ท่านจึงเกิดความหวาดกลังภัยอันตรายจากการถูกจับสึก ซึ่งทางพระถึงว่า เสมือนถูกประหารชีวิต  ท่านจึงตัดสินใจหนีไปเยอรมนี เพื่อตั้งหลักแล้วเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

2) จากความตั้งใจจะตั้งหลักสู้คดี แต่เกิดมีฝ่ายการเมืองส่ง ผบ.ตร.ในขณะนั้น นำหมายจับไปจับกุมท่านที่เยอรมนี ซึ่งเหตุการณ์ลักษณ์นี้ไม่เคยมีมาก่อนในสังฆมณฑล จึงเลิกความตั้งใจเปลี่ยนความคิดที่จะมอบตัว เพราะมองว่าเป็นภัยร้ายแรงตลอดชีวิตของท่านที่บวชมาตั้งแต่เป็นสามเณรจนถึงเป็นพระ มีอายุ 76 ปีแล้ว (ในขณะนั้น) และเมื่อกลับมาจะต้องถูกบังคับให้สละสมณเพศแน่  จึงตัดสินใจยื่นเอกสารขอลี้ภัย ณ ประเทศเยอรมนี ไปพลางก่อน

3) ข้อกล่าวหาของเจ้าพนักงานสอบสวนที่มีต่ออดีตพระพรหมเมธี เป็นการกล่าวหาเกี่ยวกับการ “ฟอกเงิน” เหมือน “พระพรหมดิลก” ทุกประการ  ลักษณะการเบิกจ่ายในการสร้างอาคารภายในวัดสัมพันธวงศ์  ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีการโอนเข้าบัญชีวัดสัมพันธวงศ์ และการเบิกจ่ายให้กับผู้รับเหมาเหมือนเฉกเช่นเดียวกันกับวัดสามพระยา ที่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องไปแล้ว และ

4) ตามที่อดีตพระพรหมเมธี ซึ่งปัจจุบันลี้ภัยอยู่ประเทศเยอรมนี นั้น วิถีชีวิต การเป็นอยู่ และวัตรปฎิบัติของท่าน ยังคงความเป็นพระภิกษุอยู่ในพระพุทธศาสนาทุกประการ ยังนุ่งห่มผ้าไตรจีวรเช่นเดียวกันกับพระสงฆ์ไทย มิได้เปล่งวาจาสึก มิได้ถูกตำรวจหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายดำเนินการให้สลสมณเพศ มิได้มีเจ้าคณะปกครองรูปใดรูปหนึ่งให้สละสมณเพศ จึงยังคงเป็น “พระจำนงค์ ธมฺมจารี” สมบูรณ์ตาม พระธรรมวินัย และกฎหมาย ทุกประการ  จึงชอบด้วยเหตุผลยกเป็นประเด็นเทียบเคียงกับกรณีของพระเถระวัดสระเกศ ทั้ง 5 รูป กลับมาครองผ้าเหลืองเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2564 นั้นไม่สามารถกระทำได้ โดยอ้างถึง ม.30 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 โดยไม่ต้องเปล่งวาจาสึก ตั้งแต่ศาลสั่งกักขัง ต่อมามหาเถรสมาคมได้มีมติเพิ่มอีกกว่าให้เจ้าคณะปกครองตั้งอธิกรณ์ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 11 พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม  ต่อมา มหาเถรสมาคมก็มีมติยกเลิกทั้ง 2 มติดังกล่าว เพราะไม่ปรากฎว่าการตัดสินเป็นไปตามกระบวนการลงนิคหกรรม ไม่มีเหตุที่จะดำเนินการต่อ ไม่เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไป  กรณีของอดีตพระพรหมเมธี  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ท่าน เพื่อให้สมคล้อยกับที่มหาเถรสมาคม ได้มีมติ และลบล้างมติเดิม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ถูกต้องกับทุกฝ่ายอย่างเสมอภาคตามหลักนิติธรรม

จากเหตุผลข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติยกเลิกหมายจับดังกล่าว และเรื่องดังกล่าวแม้แต่ “สมเด็จพระสังฆราช” ก็ทรงมีพระดำริ หลายครั้งว่าขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเร่งรีบคืนความเป็นธรรมให้แก่อดีตพระพรหมเมธี เป็นการด่วน..

Leave a Reply