สาวเมืองช้าง “ผลิกชีวิต” ด้วยเดินตามรอย “ศาสตร์แห่งพระราชา” หลังจากเสร็จสิ้นการเยี่ยมชมแปลงโคก หนอง นา ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นเป้าพิกัดตามคำแนะนำของ “ปลัดเก่ง” สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว “ทีมข่าวเฉพาะกิจ” มีข้อมูลอีกแปลงหนึ่ง ซึ่งปลัดเก่งแนะนำมาเช่นกัน ณ “จังหวัดสุรินทร์” การเดินทางจากจังหวัดขอนแก่นไปจังหวัดสุรินทร์ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ยามหน้าฝนตลอดการเดินทางในภาคอีสานร่มรื่น ทุ่งนาเขียวขจี ภูมิศาสตร์ในจังหวัดอีสานตอนล่างไม่ว่าจะเป็นขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ เป็นทุ่งใหญ่ จัดอยู่ใน “ทุ่งกุลาร้องให้” เป็นลานกว้างใหญ่ ไม่มีภูเขาหรือทิวเขายาว ๆ เหมือนในภาคเหนือ หรือเหมือนแถวจังหวัดสกลนคร “จังหวัดสุรินทร์” ภาษากูย เรียกกว่า “เหมืองสุลิน” ส่วนภาษา เขมรถิ่นไทย เรียกว่า “สเร็น” เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีชื่อเสียงด้านการจับช้างเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา มีชาวกูย เป็นชนพื้นเมือง เป็นกลุ่มที่สืบเชื้อสายขอม อาศัยร่วมกับเขมรและลาว คำขวัญประจำจังหวัด “สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม..” เมืองสุรินทร์เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนานมีวัฒนธรรมที่สั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน สิ่งที่ปรากฏหลักฐานบ่งบอกชัดเจน ได้แก่ คูเมือง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอมดังที่จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเรียบเรียง ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการรายงานตรวจราชการมณฑลอีสานและนครราชสีมา ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2469 ดังนี้ “เมืองสุรินทร์เป็นเมืองที่สร้างอย่างมั่นคงในปางก่อน มีคูถึง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพงเมือง น่าจะเป็นเพราะเห็นว่าเป็นเมืองหน้าด่านทั้งทางตะวันออกและทางใต้ซึ่งมีช่องข้ามเขาบรรทัดต่อจังหวัดสุรินทร์อยู่หลายช่อง คือ ช่องปราสาทตาเมิน ช่องเสม็ก ช่องดอนแก้ว เป็นต้น ซึ่งมีทางเดินไปสู่ศรีโสภณและเมืองจงกัน ยังมีคนและเกวียนเดินอยู่ทุกช่อง แต่เป็นทางลำบาก คงสะดวกแต่ช่องตะโก ต่อมาทางตะวันตก ซึ่งกรมทางได้ไปทำงานไว้เรียบร้อยแล้ว บริเวณเมืองสุรินทร์เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมตลอดปี แต่ก็ทำไร่นาได้ เป็นทุ่งใหญ่ บ้านเมืองกำลังจะเจริญขึ้น เพราะเป็นปลายทางรถไฟ มีห้องแถวคึกคักไม่หย่อนกว่าอุบล และกำลังสร้างทำอยู่อีกก็มีมาก พลเมืองแห่งจังหวัดสุรินทร์ส่วนมากเป็นเขมร เช่น บุรีรัมย์ นางรอง มีลาวเจือปนบ้างเป็นส่วนน้อย และชาวกูยที่ผู้ก่อตั้งเมือง และเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม ซึ่งพูดภาษาของตนต่างหาก และเป็นชนชั้นปกครองเมืองนี้ ส่วนเขมรซึ่งเป็นพลเมืองกลุ่มใหญ่ของเมืองสุรินทร์ที่อพยพขึ้นมาอาศัย ยังคงพูดภาษาเขมร อยู่ทั่วไปและที่กล่าวว่าไม่รู้ภาษาไทยก็มีต้องใช้ล่ามเนือง ๆ ผู้ปกครองท้องถิ่น เห็นว่าเป็นการดิ้นรน แสร้งทำเป็นพูดไทยไม่ได้ก็มีอยู่มาก ชาวเขมรเข้ามาในแถบเมืองสุรินทร์มากในปี พ.ศ. 2324 ซึ่งทางฝ่ายเขมรต่ำเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังจากเมืองกูย เช่น ขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวาย และเสียมราฐ ในอดีตการไปมาถึงกันกับพวกเขมรต่ำในการปกครองฝรั่งเศสนั้น สอบสวนได้ความว่ายังมีอยู่เสมอแต่มีข้างฝ่ายคนเรื่องเขมรต่ำอพยพเข้ามาอยู่ทางเราเสียมากกว่า ปีหนึ่ง เข้าประมาณ 50 – 100 คน โดยมากเป็นเรื่องหนีส่วยอากรที่ทางฝ่ายโน้นเก็บแรงกว่าทางนี้..” ปัจจุบันจังหวัดสุรินทร์แบ่งการปกครองออกเป็น 17 อำเภอ แบ่งย่อยลงไปอีกเป็น 159 ตำบล และ 2,011 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรประมาณ 1,368,569 คน “ทีมข่าวเฉพาะกิจ” เดินทางมาจังหวัดสุรินทร์เพื่อมาร่วมพูดคุยกับเจ้าของแปลงโคก หนอง นา นี่มิใช่ครั้งแรก นับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว เริ่มต้นจากครั้งแรกไปดูแปลงโคก หนอง นา ต้นแบบ ของ “พระอาจารย์สังคม ธนปัญโญ” ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง (โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย) และผู้ก่อตั้งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสุรินทร์ บ้านหนองบอน ต.หนองบัวบาน อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ “ครั้งที่สอง” ลงไปร่วมพูดคุยการดำเนินงาน“อำเภอนำร่อง”โครงการอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของกระทรวงมหาดไทย พร้อมกับไปเยี่ยมชมร่วมพูดคุยกับชาวบ้านไปทำแปลงโคก หนอง นา และ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกิน” ซึ่งเป็นแปลงที่ชาวบ้านรวมกลุ่มแล้วปลูกบนพื้นที่ดินของวัด ณ อำเภอศรีขรภูมิ “ครั้งที่สาม” เป้าหมายตามคำแนะนำของ “ปลัดเก่ง” คือ แปลง โคก หนอง นา ของ “พัทจารี แก้วมี” ณ บ้านกลองตุง ต.สะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ระหว่างทางก่อนจะถึงแปลงโคก หนอง นา ของพัทจารี ผ่านแปลงโคก หนอง นา หลายแปลง ทั้งเป็นแปลงที่สนับสนุนโดยกรมการพัฒนาชุมชน และแปลงที่สนับสนุนโดย กองบัญชาการทหารพัฒนา ฉะนั้นเวลา “ทีมข่าวเฉพาะกิจ” ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับชาวบ้านบริบท พออยู่ พอกิน พอใช้ จนถึง “ขั้นจำหน่าย” คนภาคอีสาน ภาคใต้ จะแตกต่างจากภาคเหนือและภาคกลาง ผลตอบรับและเป้าหมายในการทำแปลง “โคก หนอง นา” ก็มีเป้าหมายต่างกัน บางครัวเรือนทำเพื่อให้มีอาหารเลี้ยงดูครอบครัวและรับประทานปลอดสารพิษ บางครัวเรือนมีเป้าหมายเพื่อ “สร้างรายได้” เลี้ยงครอบครัว หรือ “บางครัวเรือน” มีเป้าหมายเพียงเพื่อทำเป็นสถานที่พักผ่อน และบางครัวเรือน “ต่อยอด” พัฒนาเป็น “แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร” ก่อนที่จะเข้ามาทำโคกหนองนาก็ประกอบอาชีพก่อสร้างอยู่ที่จังหวัดระยองทำอยู่หลายปีแต่วันหนึ่งสามีได้ประสบอุบัติเหตุตกนั่งร้าน จึงได้กลับมาอยู่บ้าน จึงทำให้ไม่มีรายได้และเข้าสู่ระบบการเป็นหนี้ กู้หนี้ ธกส. ที่นำมาใช้จ่ายและรักษาตัว เมื่อเงินเริ่มหมดก็ได้เริ่มพูดคุยและปรึกษากัน เริ่มจากการไปขายไส้กรอกย่างที่ตลาดนัด ขายไม่ดีจึงทำให้รู้สึกท้อ ตอนนั่งอยู่ที่ตลาดก็มองไปเห็นยายที่ขายผัก เห็นยายนั่งนับตังค์ ตอนเย็นก่อนกลับบ้านรู้สึกว่ายายดูมีความสุข จึงเข้าไปถามยายว่านำผักจากไหนมาขาย ยายบอกว่ายายปลูกเองและขายดีมาก ผักที่ปลูกก็ปลอดสารพิษ ขายได้ 700-800 บาทต่อวัน ซึ่งยายกับตาปลูกผักกันเองสองคน จากนั้นจึงได้กลับมาบ้านและพูดคุยกับแฟนว่าเรามาปลูกผักขายกันไหม เห็นตากับยายยังปลูกกันได้แล้วเราซึ่งมีแรงเยอะกว่าก็น่าจะทำได้ “ตอนประกอบอาชีพที่จังหวัดระยองไม่มีเงินเก็บเลย มีแค่พอส่งเงินให้ลูกชายได้เรียน เมื่อแฟนเกิดอุบัติเหตุก็เลยตัดสินใจกลับบ้าน กลับมาทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีอะไรเลยแม้แต่บ้าน แต่บังเอิญได้ที่ดินตรงพื้นที่คลองสาธารณะอยู่ติดกับที่ของน้องสาว ก็เลยไปขอน้องสาวปลูกผัก จึงทำให้พอมีรายได้ ตอนนั้นยังไม่มีประสบการณ์อะไรเลยกว่าจะปลูกได้สำเร็จก็ล้มเหลวมาหลายครั้ง ด้วยความพยายามอยากที่จะมีรายได้ ขนาดผักที่ไม่สวยก็ยังขายได้ จึงได้ฮึดสู้ ปลูกผักมาเรื่อยๆจนคันคลองนั้นเต็มไปด้วยผัก ส่วนในแปลงของน้องสาวก็จะเป็นพวกแตงกวา ฟักทองในช่วงหน้าแล้ง..” “ตอนนี้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ในแปลงจะปลูกพืชแบบผสมผสาน เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตที่ผ่านมา เมื่ออยู่ในโครงการโคกหนองนา มีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมมากจากหน้ามือเป็นหลังมือ มีทั้งปลา หอย ที่สามารถนำไปขายได้ตอนนี้ผลผลิตที่มีคือผักบุ้งแก้ว ฝรั่งกิมจูและข่าแดง ที่สร้างรายได้เป็นประจำทุกวัน มีตลาดนัดตอนเย็นที่เป็นตลาดประจำ นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่เข้ามาซื้อในสวน มีรายได้เข้าทุกวัน เฉลี่ยแล้ววันละ 300 บาท..” พัทจารี เล่าว่า ตอนนี้มีภาคีเครือข่ายทั้งตำบลมี 16 แปลง รวมกับที่นี่ บางแปลงก็ไปต่อไม่ไหว ทำให้การเอามื้อสามัคคีก็หมดไป ตอนนี้มี พช.จังหวัดที่เข้ามาช่วยบูรณาการเพิ่ม และ อบต. เกษตรอำเภอ เข้ามาช่วยดูแล อยากให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือในเรื่องการตั้งกลุ่ม เพื่อเชื่อมและสานต่อในการปลูกผัก ผลไม้ เพราะมีกลุ่มที่ต้องการผัก ผลไม้จำนวนมาก ทั้งโรงพยาบาล เพราะของเราเป็นผักอินทรีย์ ถ้าเป็นไปได้อยากให้ปลุกระดมแปลงที่เหลือ ให้กลับมาฟื้นฟูที่ดินพวกเขาให้มีรายได้เพิ่ม ชาวบ้านส่วนมากไม่ค่อยปลูก เพราะปลูกแล้วไม่มีที่ขาย ขายไม่เป็น ตอนนี้มีความคิดที่จะตั้งกลุ่มวิสาหกิจในชุมชน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ก่อนกลับพัทจารีและสามี พาสำรวจดูพื้นที่แปลงโคก หนอง นา ขนาด 3 ไร่ ซึ่งเธอเล่าว่า ความจริงของบจากกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยไว้ 1 ไร่ ตอนหลังเห็นว่าส่งผลดีต่อชีวิตและครอบครัวมากจึงทำเพิ่มขึ้นเป็น 3 ไร่ ทั้งบอกว่าตอนนี้สามี “เลิกเหล้า” หันมาอยู่กับครอบครัวแล้ว เพราะมองเห็น “เงิน” อยู่ข้างหน้า มีรายได้เข้าทุกวัน ซ้ำบอกว่าครอบครัวเราทำโคก หนอง นา ช้าไปทำให้อดีตที่ผ่านมาต้องจากบ้านไปอยู่ต่างจังหวัดทำให้ครอบครัวเสียโอกาส สำหรับแปลงโคก หนอง นา ของเธอเป็นแปลงปลูกผักและไม้เศรษฐกิจแบบผสมผสาน เป็นแปลงตัวอย่างของอำเภอ มีผักและผลไม้หลากหลายชนิด ในคลองใส้ไก่ มีการดักปลาซิวปลาสร้อยเพื่อนำมาทำ “ห่อหมก” ก่อนกลับครอบครัว “แก้วมี” ชวนทีมข่าวรับประทานอาหารพร้อมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาการอำเภอสังขะที่มาคอยอำนวยความสะดวกและให้ข้อมูลกับทีมงาน ๆ ปฎิเสธ เนื่องจากต้องเดินทางกลับ บทสรุปของ ภัทจารี แก้วมี และครอบครัว จากคนท้องถิ่นมีที่ทำกิน อยากจะแสวงหาเงินทอง สร้างบ้านเลี้ยงครอบครัวในเมืองที่เจริญ แบบคนชนบททั่วไป รับเหมาก่อสร้างขายแรงงาน วันนี้สามีประสบอุบัติเหตุ ไม่มีเงินเก็บ จำเป็นต้องกลับบ้านเกิด กู้หนี้ลงทุนขายของ แล้ว ขาดทุน จนไร้ทางออก เห็นโอกาสที่ภาครัฐคือ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เปิดโอกาสให้ทำโคก หนอง นา พร้อมแนะนำวิธีปลูกผัก แนะนำ จนวันนี้เธอและครอบครัว ลืมปาก อ้าปากได้ ซึ่งเธอบอกว่าผลสำเร็จที่เธอทำวันนี้คนอื่นอาจมองว่าเล็ก แต่สำหรับเธอจากคนติดลบมายืนอยู่ตรงนี้ได้เพราะเธอมีมีความขยัน ดูแลเอาใจใส่ในแปลงโคก หนอง นา และ รู้จักเก็บออม อยู่เสมอนั่นเอง.. จำนวนผู้ชม : 282 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author โครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ที่มี “พระธรรมวินัยเป็นฐาน” อุทัย มณี ต.ค. 12, 2021 โดย.. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผอ.วิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ… เอาใจคนรักแมว “Cat Hotel สไตล์คาเฟ่แห่งแรกของไทย” อุทัย มณี เม.ย. 16, 2019 เรียกได้ว่าราคาหลักร้อยวิวหลักล้าน ด้วยการควักเงินลงทุนและฉีกแนวของเจ้าของนักธุรกิจรุ่นใหม่… ยูเอ็นไทยปิดสำนักงานฉลองวิสาขบูชาโลก ไฉนไทยพุทธทั้งผองเปิดศึกกันวุ่นวาย อุทัย มณี พ.ค. 14, 2022 วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม 256 พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา… “นิยม” ถาม “อนุชา”ตอบในสภาฯ ปมอดีตพระผู้ใหญ่ถูกตัดสินคดีเงินทอนวัด อุทัย มณี ก.ย. 10, 2020 วันที่ 10 ก.ย.2563 นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี… เหตุเกิด ณ มจร เชียงใหม่ อุทัย มณี ม.ค. 23, 2024 "ช่างใจ" อยู่นานพอสมควรว่าจะเขียนดีหรือไม่ดี กรณีมีอาจารย์ท่านหนึ่งจาก… โคราชทำบุญเมือง 394 ปี ตักบาตรพระ 10,000 รูป อุทิศผู้เสียชีวิตเหตุรุนแรง อุทัย มณี ก.พ. 15, 2020 โคราชทำบุญเมือง 394 ปี ตักบาตรพระ 10,000 รูป ถวายเป็นพุทธบูชา - เป็นพระราชกุศลแด่สมเด็พระนารายณ์มหาราช… “พช.-มจร ขอนแก่น” เอามื้อสามัคคีปลูกต้นไม้แก้จน ที่แปลง”โคก หนองนา พุทธอารยเกษตร” อุทัย มณี ก.ค. 19, 2022 เมื่อวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.30 น. พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ.ดร.… ‘ปธ.คปพ.รองอธิการบดี มจร’ แนะแนวเทศน์ยุค Disruption อุทัย มณี ก.ย. 28, 2019 วันเสาร์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๘.๐๐ น. พระเทพปวรเมธี, รศ.ดร.… มส.แต่งตั้ง..พระสังฆาธิการ…หลายตำแหน่ง อุทัย มณี ต.ค. 21, 2023 วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ วานนี้เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร… Related Articles From the same category นายอำเภอสังขะสุรินทร์นำทีมตรวจน้ำท่วม ถวายภัตตาหารแห้งพระสงฆ์ที่ได้รับผลกระทบ วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565 นายธาตรี สิริรุ่งวนิช นายอำเภอสังขะ… “พึ่งพระ” สธ.เปิดอบรม “หลักสูตรการดูแลพระอาพาธระยะสุดท้าย” "หมอชลน่าน"เปิดอบรม "หลักสูตรการดูแลพระอาพาธระยะท้ายของพระคิลานุปัฏฐาก" … “เจ้าคุณประสาร” เผยมหาจุฬาฯ พร้อมแล้ว งานประสาทปริญญา?? วันที่ 7 ธันวาคม 2566 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร… รองประธาน กมธ.ศาสนา “ชี้” เอาผิดอดีตพระยันตระยาก เนื่องจากอาจไม่เข้าข่ายเป็น “พระภิกษุเถรวาทไทย” วันที่ 24 ต.ค. 64 ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา… “พระอาจารย์ มจร”ทึ่ง! ร.ร.บ้านวังอ้ออุบลฯทำหลักสูตรการเรียนการสอนบูรณาการโคกหนองนา มั่นใจแก้ไขปัญหาช่องว่างทางการศึกษาในอนาคตได้ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2566 พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. หัวหน้าโครงการวิจัยฯ…
Leave a Reply