หลวงพ่ออุลตร้าแมนฮีโร่ก่อน 4.0 ยุคดิจิทัลต้องหลวงพ่อเอไอแล้ว

หลวงพ่ออุลตร้าแมนฮีโร่ก่อน 4.0 ยุคดิจิทัลต้องหลวงพ่อเอไอแล้ว : สำราญ สมพงษ์รายงาน

ช่วงนี้ชาวพุทธตกอยู่ในสภาพจิกกันในเข่ง เพราะภาพวาดพระพุทธรูปอุลตร้าแมนหรือหลวงพ่ออุลตร้าแมน ฝ่ายหนึ่งก็บอกว่าลบลู่ไม่เหมาะสม อีกฝ่ายหนึ่งก็บอกว่าเป็นภาคพุทธศิลป์เป็นผลงานสร้างสรรค์ ทั้งๆ ที่คนวาดก็ออกมาขอขมาแล้วโดยบอกว่าต้องการที่จะสื่อให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นฮีโรเหมือนอุลตร้าแมนไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ แต่ผลของการจิกกันในเข่งนี้ทราบว่ามีการประมูลตัวเลขวิ่งไปที่ 7 หลักแล้ว เพราะผลของทฤษฎีการสื่อสารการตลาดยุคดิจิทัลและทฤษฎีนวัตกรรม

จากกรณีนี้จะไม่วิเคราะห์ตามทฤษฎีทางศาสนา จริยศาสตร์ความถูกผิดเหมาะหรือไม่เหมาะสม สุนทรียศาสตร์ และนิเทศศาสตร์คือสัญญวิทยา แต่จะวิเคราะห์ตามแนวคิดยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ(AI)และขออภัยที่อาจจะทบความรู้สึกต่อความปรารถนาดีของผู้วาด

สารตั้งต้นหรือสาเหตุของปัญหานี้คือ ศิลปะ (สุนทรียศาสตร์) ที่สื่อสาร (นิเทศศาสตร์) ออกมาด้วยภาพวาดที่นำภาพพระพุทธชินราช (ศิลปะบวกศาสนา) และภาพอุลตร้าแมน(สิ่งประดิษฐ์) ผลออกมาเป็นพระุพุทธรูปอุลตร้าแมนในยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ(AI)

สำหรับพระพุทธชินราชและอุลตร้าแมนเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นก่อนยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 โดยพระพุทธชินราชเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยขณะที่อุลตร้าแมนเป็นผลงานที่เกิดขึ้นเชื่อแน่ว่า 50 ปีผ่านมาแล้ว เมื่อนำมาผสมกันเกิดเป็นภาพวาดพระุพุทธรูปอุลตร้าแมน แต่ไม่มีส่วนใดที่เข้าลักษณะของยุคดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ(AI)แต่อย่างใด

ผู้วาดอ้างว่าต้องการที่จะสื่อให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นฮีโรโดยใช้อุลตร้าแมนเป็นตัวสื่อ ก็มีคำถามตามมาว่าอุลตร้าแมนเป็นฮีโร่หรือเป็นไอดอลของคนยุคดิจิทัลหรือ ก็ขอตอบว่าไม่ใช่อย่างแน่นอน และเชื่อแน่ว่าคนอายุ 30 ปีลงไปแทบจะไม่ได้สัมผัสกับอุลตร้าแมนเลย จึงทำให้ึคนยุคดิจิทัลหรือคนรุ่นใหม่ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับภาพพระุพุทธรูปอุลตร้าแมนแต่อย่างใด ดังนั้น จึงทำให้ภาพนี้สามารถสื่อไปถึงคนร่วมรุ่นอุลตร้าแมนด้วยกัน

เมื่ออุลตร้าแมนไม่ใช่ฮีโรของคนยุคใหม่ แล้วอะไรที่จะเป็นไอดอลหรือฮีโรของคนยุคใหม่ยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ(AI)

เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาวัดในพระพุทธศาสนาประเทศจีนได้สร้างหลวงพ่อเอไอขึ้นมาที่หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถเทศน์เหมือนพระทั่วไป ได้สร้างความสนใจให้กับคนรุ่นใหม่จีนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้นำเสนอผลงานดังกล่าวดังไปทั่วยุโรป (https://edition.cnn.com/videos/world/2016/05/17/robot-buddhist-monk-sfc-orig.cnn?fbclid=IwAR0MTdWr607rB_KeeuoXPRo-DvT8DuJNigEOR4Ukqw2PyFu2_o0hKGYOKCYและ https://boingboing.net/2016/05/31/meet-the-robot-buddhist-monk.html?fbclid=IwAR3RbHJvOfwfzBOVEr-5i_bL8cWjxFEyNysHbeqVjZPnj_R7Hd-S0hWDwno)และเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่นได้สร้างหุ่นยนต์อิมมินดาร์ซึ่งจำลองจากเจ้าแม่กวนอิม โดยวัตถุประสงค์ที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่เช่นเดียวกัน

ทีนี้หันมาทางประเทศไทยบ้าง แม้ว่าจะบอกว่าต้องการพัฒนาให้เท่าทันยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ(AI) ในภาคเศรษฐกิจได้ปรับตัวรองรับเอไอไปมาก ภาคการศึกษาเพิ่งจะตื่นตัว ส่วนภาคคณะสงฆ์แม้ว่าจะมีพระเถระที่เข้าใจทันเท่าแต่ก็มีอยู่เป็นจำนวนน้อย ขณะที่ภาคอุบาสกแม้จะมีความคิดแต่ก็ยังไม่เห็นสารตั้งต้น

ภาพของการจิกกันในเข่งคาดว่าไม่นานก็คงจะจางหายไปไม่มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะใช้อะไรเป็นฮีโรหรือไอดอลสำหรับคนรุ่นใหม่ และรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกจะเป็นอย่างไร?

Leave a Reply