“วิชา”ยกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างสังคมไทยสันติสุขช่วงโควิดระบาดหนัก สามารถสร้างภูมิคุ้มกันภายในตนและสร้างภูมิคุ้มกันภายนอกทั้งโรควิตกกังวลเป็นโรคประสาท
วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน 2564 ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ ประธานมูลนิธิการต่อต้านการทุจริต และคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต บรรยายภายใต้หัวข้อ “ความยุติธรรมทางสังคมในสังคมไทย: ปัญหาและทางออกที่พึงประสงค์” จัดโดยหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 500 รูปคนผ่าน ZOOM
ศาสตราจารย์พิเศษวิชา กล่าวว่า ยุติธรรมจะเกิดต้องความเท่าเทียมกันโดยมนุษย์ช่วยกันให้เกิดความยุติธรรมในสังคม แท้จริงความยุติธรรมอยู่เหนือกฎหมาย กฎหมายที่ดีย่อมมีคุณค่าแต่มนุษย์จะต้องให้คุณค่า โดยโสเคตีสเคยสะท้อนว่า “สังคมมนุษย์จะถูกทำลายเพราะไม่รู้จักคุณค่าในความดีของตนเอง” โดยยุติธรรมทางสังคมจึงต้องมองสิทธิที่เท่าเทียมกัน โดยทุกคนจะต้องมีความเท่าเทียมกันในเรื่องของรับวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด ประชาชนทุกคนจะต้องสามารถเข้าถึงระบบต่างๆอย่างเท่าเทียมเสมอภาคกันเคารพในสิทธิมนุษยชน
“ยิ่งในระบบทุนนิยมยิ่งต้องระวัง แม้แต่การออกแบบการเลือกตั้งว่า จะจบการศึกษาระดับต่างๆ จึงมีกระบวนการซื้อใบปริญญาเพื่อต้องการรับรองความเท่าเทียมกัน แต่ด้อยโอกาสเรื่องสิทธิของประชาชนภายใต้คำว่า “จ่ายครบจบแน่” จึงพยายามดิ้นรนเพื่อการจบปริญญามาเพื่อยกระดับตนเองแม้จะใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง” ศาสตราจารย์พิเศษวิชา กล่าวและว่า
กฎหมายจะต้องมีความยุติธรรมเท่านั้น โดยการบริหารความยุติธรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งของรัชกาลที่ 9 จะเป็นการแก้ปัญหาได้หลากหลายมิติ จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันภายในตนและสร้างภูมิคุ้มกันภายนอก ยิ่งในสถานการณ์โควิดเรื่องที่จะเกิดคือ โรควิตกกังวลเป็นโรคประสาท ความยุติธรรมทางสังคมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ศาสตราจารย์พิเศษวิชา กล่าวด้วยว่า จึงมีการพัฒนาเป็นหมู่บ้านช่อสะอาดซึ่งพัฒนามาจากการหมู่บ้านศีล 5 โดยมุ่งพัฒนากายสะอาด พัฒนาพฤติกรรมสะอาด พัฒนาจิตใจสะอาด และพัฒนาปัญญาสะอาด เป็นหมู่บ้านสุจริตโดยเริ่มจากชุมชนสันติสุข เริ่มจากพัฒนาเด็กเยาวชนเป็นฐานในฐานรากเพื่อสร้างการตระหนักในชีวิต โดยฐานของการพัฒนามุ่งพัฒนาตามแนวทางของอริยมรรคมีองค์ 8 ในทางพระพุทธศาสนาเป็นฐานการแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงความยุติธรรมในสังคมไทย มุ่งเน้นการพัฒนามนุษย์พัฒนาคนให้นำหูแนบกับแผ่นดินด้วยการไปรับฟังคนในชุมชน ไม่ใช่คิดทำนโยบายแล้วนำไปให้คนในชุมชนซึ่งคนอาจจะไม่ต้องการ จึงต้องคำนึงถึงด้านคุณธรรมบ่มเพาะทางด้านความดีงาม มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรมจึงต้องชอบด้วยกฎหมายมีความถูกต้องไม่ใช่นำถุงดำคลุมหัวจนนำไปสู่การเสียชีวิต ซึ่งกฎหมายไม่มีอารมณ์ ความรู้สึก แต่กฎหมายมีแต่ความเที่ยงตรงบริสุทธิ์ยุติธรรมมีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ยุติธรรมเป็นอาหารจานแรกของมนุษย์
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้บรรยายนำ โดยมีประเด็นสำคัญว่า มีการตั้งคำถามว่าพระพุทธศาสนาไม่สนใจด้านยุติธรรมทางสังคมจริงหรือ กรรมนำไปสู่การกดทับกลุ่มคนที่อ่อนแอทางสังคมจริงหรือ การจัดโครงสร้างทางสังคมรัฐธรรมนูญมีความยุติธรรมจริงหรือ หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาให้ค่ากับคนชนชั้นสูงไม่สนใจคนชั้นรากหญ้าจริงหรือ พระพุทธศาสนาไม่สนใจสิทธิมนุษยชนจริงหรือ เราสนใจคำถามมากกว่าคำตอบ โดยยุติธรรมสามารถแบ่งออก 2 ประการ คือ 1)ยุติธรรมทางทางสังคม 2)ยุติธรรมทางกฎหมาย
“ยุติธรรมทางสังคมเป็นการแบ่งสันปันส่วนให้มีการเข้าถึง ทั่วถึง ความยุติธรรม อำนาจในการบริหารจัดการ ซึ่งกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในเครื่องมือการสร้างสันติสุขในสังคม จึงมีการตั้งคำถามว่าความไม่เป็นธรรม ความไม่เสมอภาค ถือว่าเป็นรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความเป็นธรรมทางสังคมเป็นแนวคิดที่ว่าด้วยความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคมมิใช่เพียงแค่มิติทางด้านกฎหมายเท่านั้น ซึ่งความเป็นธรรมทางสังคมในตัวของมันเอง” พระมหาหรรษา กล่าวและว่า
โดยความยุติธรรมในมิติทางพระพุทธศาสนาโดยมองแนวทางของพระพุทธเจ้าทำให้สอดรับกับแนวทาง 3 C ประกอบด้วย 1) Context บริบท พระพุทธเจ้าพระองค์เป็นลูกกษัตริย์พระบิดาพยายามบริหารจัดการให้เป็นกษัตริย์ โดยเฉพาะระบบวรรณะ แต่เจ้าชายสิทธัตถะพยายามเชื่อมฟ้าและเชื่อมดินเข้าหากันตั้งแต่เกิดมาโดยชี้นิ้วว่าเราเป็นผู้เลิศที่สุดในโลก เพราะในหมู่มนุษย์คนที่ฝึกดีแล้วประเสริฐสุด
2)Concept แนวคิด หลังจากตรัสรู้ได้ประกาศมิติเกี่ยวกับศีล เพื่อป้องกันความรุนแรง เพราะการใช้ความรุนแรงเพื่อจัดการความรุนแรงไม่ได้ โดยมีความรุนแรงทางตรงและทางอ้อม มีกระบวนการสองมาตรฐาน หรือ วิ่งเต้นเพื่อได้มาซึ่งตำแหน่ง อย่าเอาชนะความรุนแรงด้วยความรุนแรง โดยประกาศเกี่ยวกับวรรณะว่า คนจะเลวหรือประเสริฐไม่ใช่ชาติกำเนิด แต่คนจะเลวหรือประเสริฐเพราะการกระทำเท่านั้น มิใช่อยู่ที่วรรณะ จึงมองถึงสาราณียธรรม คือ สาธารณโภคี แบ่งปันวัคซีนให้เหมาะสมให้มีความทั่วถึง สีลสามัญญตาและทิฐิสามัญตาด้วยการอย่าดึงบุคคลที่เห็นต่างออกไปแต่จงให้บุคคลเห็นต่างมาคุยมากัน ถึงแม่จะช้าแต่ทัวร์คนสองวัยใจสองดวง จะต้องฟังเด็กเยาวชนอย่างลึกซึ้งเพราะโลกอนาคตเป็นโลกของเด็กเยาวชน ส่วนเด็กเยาวชนต้องฟังผู้ใหญ่ว่าการสร้างบ้านเมืองถึงปัจจุบันมีแนวทางอย่างไรมีความเป็นมาอย่างไร โดยอาศัยการมีพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยอย่างจริงจังลึกซึ้ง
3) Content เนื้อหา โดยพระพุทธเจ้าออกแบบโครงสร้างของสังคมเป็นการออกแบบสังคมใหม่ เป็นการออกแบบสังคมสงฆ์ใหม่เป็นสังคมสันติสุข เป็นการให้คุณค่าต่อมนุษย์และสัตว์รวมถึงสิ่งแวดล้อม กรณีการเข้าคิวให้คุณค่ากับมนาย์ทุกคนแม้เป็นนางโสเภณี โดยพระพุทธเจ้าล้มระบบวรรณะและเลิกทาสด้วยเคารพกันตามอาวุโสให้คุณค่าในความเป็นมนุษย์ เป็นการเลิกทาสนอกและเลิกทาสในอย่างแท้จริง โดยยกพระพุทธเจ้าต้นแบบการพัฒนายุติธรรมทางสังคมต้นแบบอย่างแท้จริง
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ที่ได้เข้าร่วมรับฟังด้วยสรุปว่า ดังนั้น ทำให้ถึงคำว่าระบบที่ดีทำให้คนชั่วทำดีโดยไม่รู้ตัว ประเด็นคือจะสร้างระบบที่ดีอย่างไร แต่สิ่งที่น่าห่วงมากคือ ดีตามยถากรรมแต่เลวอย่างเป็นระบบ โดยมีการตั้งคำถามว่าจะใช้วิธีการกดหัวหรือกฎหมาย รวมถึงมีผู้ตั้งคำถามว่าพระพุทธศาสนาไม่สนใจด้านยุติธรรมทางสังคมจริงหรือ ซึ่งแท้จริงพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญด้านยุติธรรมทางสังคมอย่างมาก เพราะความไม่ยุติธรรมเป็นรุนแรงเชิงโครงสร้างอันจะฝังรากลึกในสังคม ทำให้คำว่าสองมาตรฐานจึงไม่อาจลบออกจากสังคมไทย แม้ระบบสาธารณสุขจะต้องมีความเท่าเทียมและยุติธรรม โดยพระพุทธเจ้าถือว่าเป็นบุคคคต้นแบบยุติธรรมทางสังคมมีการเคารพศักดิ์ศรีแห่งความมนุษย์ ด้วยการออกแบบโครงสร้างของสังคมเป็นการออกแบบสังคมใหม่ จึงมีการเสนอหาพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้ใหญ่กับเด็กเยาวชนได้มีโอกาสเปิดใจรับฟังกันอย่างลึกซึ้ง โดยพยายามอย่ากันบุคคลที่เห็นต่างออกแต่จงดึงเข้ามาเพื่อสร้างการรับฟังอย่างจริงจัง
Leave a Reply