เยือนเมืองดอกบัว “มหานคร” แห่ง โคก หนอง นา “ทีมข่าวพิเศษ” รับรู้เรื่องราวการทำ “โคก หนอง นา” ตั้งแต่ สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนแล้วว่า “จังหวัดอุบลราชธานี” เป็นจังหวัดที่ขับเคลื่อนโครงการ โคก หนอง นา หรือชื่อเต็มว่า “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา” อย่างเข้มข้นและได้ผลมากมีประชาชนให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมมากที่สุดในประเทศไทยถึง 4,044 แปลง แบ่งออกขนาด 15 ไร่จำนวน 71 แปลง ขนาด 1 ไร่จำนวน 3,973 แปลง รวมพื้นที่ 9,474 ไร่ การขับเคลื่อนที่มีผลสัมฤทธิ์แบบนี้ นอกจากมีการบูรณาการภาครัฐที่เข้มแข็งแล้ว ยังมีภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมที่เข้าร่วมทำงานกับภาครัฐอย่างเข้มแข็งด้วย โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานีมีที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นพระภิกษุถึง 2 รูป ทั้งจากคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายและคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย คือ พระปัญญาวชิรโมลี และ พระพิพัฒน์วชิโรภาส ซึ่งทั้ง 2 รูปถือว่าเป็นพระที่ขับเคลื่อนเรื่องเศรษฐกิจฐานรากในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้ประชาชนอยู่ดีกินดี อันตั้งอยู่บนฐานเศรษฐกิจพอเพียงเจริญตามรอยศาสตร์ของพระราชาอย่างได้มรรคได้ผล มีผลสำเร็จเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ ความร่วมมือแบบนี้สมควรให้จังหวัดอื่น ๆ นำเอาไปเป็นแบบอย่างในการขับเคลื่อนการทำงานระหว่างภาครัฐ คณะสงฆ์และประชาชนตามหลัก “บวร” “ดร.ภคิน ศรีวงศ์” นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รับอาสาพาไปดูแปลงพร้อมกับพาไปพบ “เจ้าคุณ”ทั้ง 2 รูปทั้ง พระปัญญาวชิรโมลี และ พระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้เป็นหลักสำคัญของการขับเคลื่อนแปลงโคก หนอง นา ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีพร้อมทั้งจะไปสอบถามแนวคิดและความคืบหน้า ที่จะให้จังหวัดอุบลราชธานีนำร่องจัดตั้ง “เขตเศรษฐกิจพอเพียง” “โคกหนองนาแม่อุดมโมเดล” ของ อุดม ชอบเสียง ชาวตำบลระเว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี คือเป้าหมายแรกที่เราไปสำรวจดูซึ่งที่นี้ “รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์” ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาไทยระบุว่า “น่าจะเป็นแปลงตัวอย่างในการต่อยอดสู่ขั้นก้าวหน้า” ซึ่งหมายถึงนอกจากมีครบ 4 พ. คือ พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น มีไว้แจกจ่ายทำบุญทำทานตามหลักทฤษฎีบันได 9 ขั้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์รัชกาลที่ 9 แล้ว เหลือไว้ สำหรับต่อยอดขั้น “ธุรกิจ” แล้ว “พี่ดม” เล่าว่าเข้าร่วมโครงการโคกหนองนาไว้ขนาด 1 ไร่ แต่ในความจริงทำแนวเศรษฐกิจพอเพียงปลูกพืชแบบผสมผสานไว้ประมาณ 5 ไร่ ต้นไม้ป่าอยู่มุมนึง มีพริกที่ได้ผลผลิตเยอะ ทำกับสามี ตลาดมันเยอะ ทุกวันนี้มีกล้วยที่มีตลาดให้ความต้องการตลอดเลย เราเอาไปขายเองดีกว่าให้มารับที่สวน เพราะบางอย่างที่เรามี เขาก็ไม่ต้องการ ส่วนใหญ่ขายที่ตลาดชุมชน หน้าอำเภอเฉพาะวันจันทร์และวันศุกร์ ตลาดแถวบ้านมีทุกวัน แต่เราไปวันเว้นวัน จะมีกล้วย พริก และต้นพริก เมื่อเราถามว่าชุมชนแถวนี้ส่วนใหญ่คือเกษตรกรแล้วอะไรคือจุดเด่นของเรา พี่ดมว่า “ความคิดค่ะ คนแถวนี้เขาไม่คิดแบบเรา เราคิดว่าเราจะมีทุกอย่างแบบผสมผสาน ขายได้ทุกอย่าง อะไรที่ชุมชนเราชอบกิน เราก็ปลูก รายได้เฉพาะของในสวน เดือนนึงมีรายได้ประมาณ 20,000 บาท ขายออนไลน์ก็มี เมล็ดผักกาด เมล็ดผักชี เมล็ดข้าวโพด การขายเมล็ดทำให้มีรายได้เยอะ ขายเพาะกล้าด้วย ลูกค้าออนไลน์ก็มีมา เรื่อย ๆ มีเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์มารับถึงสวน ทำให้มีรายได้ 2 ทาง เดือนนึงมีรายได้ประมาณ 30,000-40,000 บาท ช่วงหน้าแล้งยังขายหญ้าได้อีก 2,000 บาท ที่นี้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้วย ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานก็จะมี กศน. กลุ่มแม่บ้าน รายได้จากการมีคนมาดูงาน ครั้งละ 1,000 กว่าบาท โครงการโคก หนองนา นี้มีประโยชน์ต่อชุมชนมาก คนในชุมชนก็มีการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่คนที่ทำตรงนี้บางคนเขาคนที่ถอย เพราะใจเขาไม่เอาแล้ว อาจจะปลูกแล้วขายไม่เป็น ก็เลยคิดว่าซื้อกินดีกว่า ในหมู่บ้านคนที่ปลูกพืชผักขายมีอยู่แค่ 3 คน นอกนั้นซื้อกินหมด โดยเฉพาะหน้าฝนยิ่งไม่มีคนปลูก ทำให้เราขายดี..” เป้าหมายต่อไปคือ สวน “ฮักแพง ฮ่องย่า นาหนองไผ่” ของ แก้วกล้า บัวศรี ขนาด 15 ไร่ ตั้งอยู่ใน ต.โนนกุง อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี อดีตนักบวชเก่าจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นผู้มีศิลป์ในการแกะสลักเทียนเข้าพรรษา ช่วงที่ทีมงานไปถึง “ทิดจ่อย” หรือ แก้วกล้า บัวศรี กำลังแกะสลักเทียนเข้าพรรษาอยู่ในวัด ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากแปลงโคก หนอง นา ของเขามากนัก สำหรับเทียนจำพรรษาที่กำลังแกะอยู่นั้นวัดจะส่งเข้าประกวดในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2565 ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 121 แล้ว ภายใต้ชื่องานว่า “121 ปี ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา” เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนเดินทางมาท่องเที่ยวงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น โดยมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-17 กรกฎาคม 2565 นี้ “ทิดจ่อย” เล่าเบื้องหลังชีวิตว่า แต่ก่อนใช้ชีวิตเป็นนักบวชทั้งเณร ทั้งพระ ประมาณ 13 ปี ได้ศึกษาแนวทางการดำเนินชีวิต หลักอิทธิบาท 4 ไปที่ไหนไม่มีอดตาย ศึกษาด้านการทำเกษตรเริ่มแรก น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อมีโอกาสลาจากร่มผ้ากาสาวพัสตร์มาสู่เพศบรรพชิต ลาสิกขามาเมื่อประมาณปี 2549 ก็มีใจรักด้านการเกษตร ยังได้ไปทำงานที่กรุงเทพฯ ลองผิดลองถูกทุกอย่าง อยู่ในเมืองชีวิตมีแต่ความวุ่นวาย มันไม่มีความสุข วนเวียนอยู่ 8 ปี สุดท้ายได้มีโอกาสกลับสู่ชนบท ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อก่อนได้มาศึกษาอยู่ที่ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อลองผิดลองถูกมาสักพักแล้ว ก็อยากจะมีความรู้เรื่องการทำโคก หนอง นา ตอนปี 2558 กลับมาอยู่บ้านแฟนที่อุบลราชธานี เริ่มต้นจากการทำไร่ไถนา ปกติเป็นคนรักธรรมชาติ ชอบความสงบ ลองผิดลองถูก เลี้ยงปลาดีไหม ปลูกต้นไม้ดีไหม แต่เมื่อเราลงทุนลงแรงไปแล้ว ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ก็ลองมาทบทวนว่า เราไม่มีน้ำ เมื่อก่อนตรงนี้แห้งแล้งมาก ไม่มีน้ำเลย ตอนแรกเลี้ยงปลาในบ่อเล็ก ๆ มีการเจาะน้ำบาดาลมาใช้บ้าง แต่ก็ไม่เพียงพอ ต่อมาได้เข้าไปศึกษาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ดูว่ามีแนวคิดอะไรบ้าง ลองผิดลองถูกมาตลอดจนเมื่อมีโครงการโคก หนอง นา เข้ามาจึงมองเห็นว่าแหล่งน้ำมาแล้ว โครงการในฝันของเรามาแล้ว ตอนสมัครไม่มีคู่แข่งเลย มีวันหนึ่งได้ขับรถไปกับกำนัน และมีคนกรมพัฒนาชุมชนโทรมาหากำนัน เพื่อหาผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โคก หนอง นา คนเรานั้นชอบเสียดายที่ดิน จึงสนใจเพราะมันตรงกับใจ และได้ปรึกษากับภรรยา ตอนแรกภรรยาไม่เห็นด้วย ก็ได้พยายามอธิบายทำความเข้าใจกับภรรยา ตอนหลังก็เข้าใจ จนปี 2563 ก็ได้ขุดบ่อ “ตรงนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานภาครัฐ คณะสงฆ์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรแพทย์ภายในตำบล ใช้หลัก “บวร” ในการขับเคลื่อน พระก็มาจากวัดร่องข่า วัดบ้านโคกสว่าง 2 ชุมชนมาช่วยกัน ถึงเวลาผมก็ไปช่วยวัด ช่วยชุมชน ผมทำอะไรเขาก็มาช่วยผม เหมือนการเอามื้อสามัคคี น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เกิดชุมชนสามัคคี ทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ อยากสร้างเป็นแหล่งรายได้ของชุมชนและตนเองด้วย ผมว่าศาสตร์ของพระราชานี้หากขยันก็รวย ไม่ขยันก็มีกิน สุดยอดของเราแล้ว..” สังคมน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งพามีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันแบบนี้เป็นสังคมแห่งน้ำใจเป็นสังคมที่หลายหมู่บ้านและชุมชนอยากฟื้นฟูนำกลับมา ตลอด 2 ปีมานี้หลายชุมชนฟื้นฟูกลับคืนเอามาได้โดยใช้แปลงโคกหนองนาเป็นฐานและต่อยอดจากการ “เอามื้อสามัคคี” ซึ่งสิ่งเหล่านี้นักวิชาการ นักปราชญ์หลายท่านสรุปตรงกันว่ามันคือ “รากเหง้าวัฒนธรรมชุมชนเดิม” ของประเทศไทยอยู่แล้ว แต่ตอนหลัง ๆ วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนไปทำให้วัฒนธรรมชุมชนเหล่านี้จ่างหายไปจากชุมชนหมู่บ้านและสังคมไทยไปด้วย “ดร.ภคิน ศรีวงศ์” ไกด์กิตติมศักดิ์ บอกว่ายังมีอีกแปลงหนึ่ง คนนี้น่าสนใจเพราะดูจาก มีบ้านหลังโตและที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองราคาไร่ละหนึ่งล้านบาทขึ้นไปเป็นคนมีอันจะกิน ภรรยาเป็นพยาบาล แต่สนใจทำโคก หนอง นา ซ้ำที่ดินปลูกต้นไม้เศรษฐกิจเอาไว้หลายไร่ คนนี้เคยทำงานลงเรือน้ำมันแถวตะวันออกกลาง กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เห็นว่าเขาตั้งใจจริง ทำจริง ลงมือจริง จึงให้งบโครงการโคก หนอง นา ไว้ขนาด 1 ไร่ “ไพบูลย์ ยะระเขต” ชาวตำบลขามใหญ่ อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี หน้าตาเหมือนชาวเหนือ บอกว่า กล้าตัดสินใจทำโคก หนอง นา เพราะ หนึ่ง เรามีเวลา สอง มีความตั้งใจจริงที่จะทำ และ สาม ที่ดินของเราก็พัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่ม จากเดิมทำนาอย่างเดียว ไม่มีร่มไม้เลย ที่เห็นอยู่ตรงนี้ใช้เวลาเพียง 2 ปี 2 เดือนเท่านั้นลงมือเองทำคนเดียว ในส่วนของ 5 ไร่ที่เราตั้งใจทำก่อนหน้านี้ ที่ทำอยู่ตอนนี้ทั้งหมด 11 ไร่ ปลูกป่าผสมผสาน เข้าไปอยู่ในกลุ่ม “คนบ้าปลูกต้นไม้” บ้านี้คือบ้าดี ลักษณะของคนกลุ่มนี้คือ ไม่บ้าจริงทำไม่ได้ เพราะมีช่วงหนึ่งที่กฎหมายมาตรา 7 ยังไม่ปลดล็อค พอปลดล็อคแล้วก็สบายเลย คนที่เริ่มต้นก่อนยิ้มเลย อันนนี้คือมูลเหตุว่าทำไมคนถึงไม่กล้า แต่คนบ้าเขากล้าทำ ตอนนี้มีไม้ทั้งหมด 40 กว่าชนิดคือเข้าร่วมโครงการทั้งหมด ปลูกแบบผสมผสาน แต่จะเน้นยางนา เพราะเป็นไม้สูง ราชาแห่งไม้ ที่เดิมตรงนี้เป็นดินทรายมันเหมาะ ก่อนที่จะปลูกก็ต้องดูภูมิสังคมว่าไม้ดั้งเดิมคือไม้อะไร พอยางนามันปลูกได้ ก็ตามด้วย ประดู่ พะยูง ไม้สักทอง ตะเคียน แล้วก็ไม้ระดับกลาง เช่น มะฮอกกานี อายุ15-16 ปีก็ตัดได้แล้ว ต่อมาไม้กินก็ไล่เลี่ยตามมา แต่ไม่ได้ปลูกเป็นแนว เป็นแถว ปลูกแบบป่าเลย แต่ยางนาก็ปลูกใกล้ๆกันห่าง 3-4 เมตร เผื่อเราตัดอย่างอื่นออกก่อนยางนาก็ผอมมันก็จะได้อวบขึ้น “ระหว่างระยะห่างขอต้นยางนาก็จะปลูกไม้อื่นผสมไปหมด เพราะมองว่าเมื่อยางนาสูงชะรูดขึ้นแล้ว สูงประมาณ3-4 เมตรแล้วช่วงนั้นต้นเล็กๆมันจะเบียดกันหาแสง เมื่อต้นที่สูงได้ระดับมันแล้วเราก็ตัดได้ คือเราควรปลูกอย่าให้เป็นอวกาศ แต่ควรปลูกให้เป็นโอกาส สาเหตุสำคัญที่ทำแบบนี้ เพราะ หนึ่ง เราไม่ได้รับราชการ ไม่มีบำนาญไว้ให้ลูก แล้วอะไรที่จะเป็นมรดกให้ลูกได้ จึงมาคิดว่าต้นไม้ก็เป็นมรดกได้ มันเพิ่มมูลค่าได้ ส่งต่อให้ลูกได้..” “ไพบูลย์ ยะระเขต” พาทีมข่าวเดินชมดูสวนไม้ป่าเศรษฐกิจที่ปลูกไว้อย่างหนาแน่นกว่า 40 กว่าชนิด บางแห่งมีแซม “ผักหวาน”ไว้ด้วย ภายในสวนมีการเลี้ยงไก่ มีบ่อปลา ระหว่างร่องไม้มี “คลองใส้ไก่” ขนาดเล็กที่เขาลงมือทำไว้เลี้ยงพืชให้ชุ่มด้วยน้ำหล่อเลี้ยงให้ดูเขียวขจีอยู่เสมอ พร้อมทั้งพาไปชฤมพืชผัก นาข้าว และกล้าไม้ที่รอแจกและขาย จนเราคิดว่าไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้คนเดียว ซ้ำหน้าตาก็ไม่เหมือนกับเกษตรกรทั่วไป หากจะว่าไปแล้วตลอด2ปีมานี้ทีมข่าวพิเศษลงพื้นที่สำรวจแปลงโคกหนองนาภายใต้การสนับสนุนของ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มาแล้วกว่า 40 จังหวัด ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นการปลูกไม้เศรษฐกิจจำนวนมากแบบแปลงของ ไพบูลย์ ระยะเขต เลย แม้แต่แปลงโคก หนอง นา ของ พระอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ จังหวัดสุรินทร์ ที่ว่าเป็น “ปรมาจารย์แห่งโคกหนองนา” จำนวนต้นไม้และขนาดแปลงเล็กกว่านี้ แปลงของไพบูลย์ ระยะเขต จึงนับว่าเป็นแปลงที่สมบูรณ์ที่สุดที่เราเคยเจอมา ความจริงยังมีอีก 2 แปลงที่ควรค่าแก่การกล่าวถึงและเจ้าของทั้ง 2 แปลงถือว่าเป็นกลไกหนึ่งสำคัญของกระทรวงมหาดไทยในการขับเคลื่อนการทำโคกหนองนา ที่กำลังจะต่อยอดเป็น “เขตเศรษฐกิจพอเพียง” หรือชื่อเต็มว่า “การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy Model) มีเป้าหมายเพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วย และเท่าที่ฟังจากพระคุณเจ้าทั้ง 2 รูป นอกจากเป็นที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทยแล้ว ถือว่าเป็น “มันสมอง” สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในการนำร่องจัดตั้ง “เขตเศรษฐกิจพอเพียง” ในจังหวัดอุบลราชธานี ที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์รัชกาลที่ 9 มิใช่เพื่อตอบโจทย์ในการอยู่ดี กินดี เฉพาะคนไทยหรือนโยบายรัฐบาลเท่านั้น แต่แนวทางเขตเศรษฐกิจพอเพียง หากทำได้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของสหประชาชาติหรือ UN ได้หลายข้อ ที่เรียกร้องให้นานาประเทศร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่ยั่งยืนหรือ SDGs ซึ่งย่อมาจากคำว่า “Sustainable Development Goal” ด้วยกำหนดเป้าหมายไว้ 17 ข้อ เพื่อทำให้โลกดีขึ้นในทุกมิติภายในปี 2030 ด้วย!! ตอนหน้าจะถอดรหัสความคิดจากสองเจ้าคุณที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพอเพียง มันดีอย่างไร ทำไมจึงตั้งใจทำให้ได้..!! จำนวนผู้ชม : 741 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ชาวพุทธโปรดจับตา!! “กรณีที่ธรณีสงฆ์วัดเอี่ยมวรนุช” อุทัย มณี มี.ค. 05, 2021 วันนี้ (5 มี.ค.64) หลังจากเวปไซต์ข่าว "เดอะบุ๊ด" ได้รายงาน "ด่วน!!..วัดดังกลางกรุงโดนเวรที่คืนเจ้าอาวาสช๊อค… “สถาบันการอาชีวศึกษา” แจ้งกำหนดพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตรประจำปี 2565 อุทัย มณี ส.ค. 09, 2023 วันที่ 9 สิงหาคม 2566 ว่าที่ ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา … เจ้าอาวาสประกาศยกวัด!! ให้ทำโรงพยาบาลสนามรักษาโควิด-19 อุทัย มณี ม.ค. 17, 2021 วันนี้ (17 ม.ค.64 ) เฟซบุ๊ก พระอธิการทองสุข กิตติญาโณ เจ้าอาวาสวัดกรวด… “พระเลขา” รองเจ้าคณะจังหวัด รมควันฆ่าตัวตายคากุฎิ อุทัย มณี ก.ย. 14, 2023 วันที่ 14 ก.ย. 66 วานนี้ ร.ต.อ.นิรันดร์ ทองปาน รอง สว.สอบสวน สภ.ด่านช้าง… “มจร วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์” สานพลังบวร “โนนดินแดง” สร้าง “5 ร 5 ส” โมเดล เสริมสุขภาพชุมชน อุทัย มณี ก.ย. 15, 2020 คณะสงฆ์โนนดินแดงร่วมกับภาครัฐและสานพลังชุมชน ดำเนินโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพและสร้างสุข… 2 สมเด็จฯพร้อมพระคณาจารย์ไทยจีน ร่วมเททองหล่อพระชัยวัฒน์มหามงคล อุทัย มณี พ.ค. 16, 2022 สมเด็จพระพุฒาจารย์และสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี พร้อมพระคณาจารย์ไทยจีน… ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญพร้อมคณะ เตรียมอาหารช่วยผู้ประสบอุทกภัยอุบลฯ อุทัย มณี ก.ย. 17, 2019 เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2562 ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ แห่งวัดพิชยญาติการาม… ปลัดมหาดไทยเผย “อ.เทพา จ.สงขลา” และ “อ.วังเจ้า จ.ตาก” คว้ารางวัลสุดยอดอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ระดับยอดเยี่ยม ยกเป็นอำเภอต้นแบบ เร่งขยายผลให้ครบ 878 อำเภอทั่วประเทศ อุทัย มณี ม.ค. 18, 2023 วันที่ 18 ม.ค. 66 ณ อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์… วธ.จัดหลักสูตรติวเข้ม เด็กเยาวชน-เครือข่ายวัฒนธรรมกว่า 500 คน เน้น “ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างมืออาชีพ” อุทัย มณี เม.ย. 26, 2022 วันที่ 26 เมษายน 65 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม… Related Articles From the same category เหรียญปาดตาลหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พุทธคุณ’เหนียว’ ขนาดมีดปาดตาลที่คมกริบยังไม่ระคายผิว วัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นประมาณ… สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช… ประชันว่าที่นายกรัฐมนตรี โดย..บุญเลิศ ช้างใหญ่ วันที่ 4 – 8 กุมภาพันธ์นี้ เป็นวันเปิดสมัครรับเลือกตั้งส.ส.… ชาวยุโรปสนใจธรรมะ เตรียมเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทธรรมทายาทนานาชาติ ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565 นาคธรรมทายาทนานาชาติ 10 ท่าน จาก… ปลัดมท. ปิดการฝึกอบรมวิทยากรประวัติศาสตร์ชาติไทย รุ่นที่ 10 เน้นย้ำ ผู้ผ่านการฝึกอบรมทุกคนเป็นทหารเสือของพระราชา “ต้องเป็นครูจิตอาสาจนกว่าชีวิตจะหาไม่” วันนี้ (13 มี.ค. 67) เวลา 07.30 น. ที่หอประชุมสารภี ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา…
Leave a Reply