เสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรม ทอดกฐินสามัคคีทำความดีถวายเป็นพุทธบูชา

เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ย.๖๔ พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มจร ในฐานะผู้ดำเนินรายการ “เสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรม” เปิดเผยว่า ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม ตำบลพญาเย็น อำเภอปางช่อง จังหวัดนครราชสีมา จัดทอดกฐินสามัคคีทำความดีถวายเป็นพุทธบูชา ประจำปี ๒๕๖๔ โดยมี ดร.แม่ชีณัฐญาวรรณ เปรมสกุล ประธานมูลนิธิโพธิวรรณา และคณะ เป็นเจ้าภาพหลัก มีผู้ฟังรายงานเสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรมเข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า ๑๐๐ คน โดยปฏิบัตตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งคัด…กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. ฟังเทศน์เรื่องอานิสงส์กฐิน โดย พระศรีธรรมภาณี,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร เวลา ๑๐.๓๐ น. เจริญพุทธมนต์ฉลององค์กฐิน เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์จำนวน ๑๕ รูป เวลา ๑๓.๓๐ น. พิธีถวายผ้ากฐินสามัคคี เวลา ๑๔.๐๙. พิธีห่มผ้าพระพุทธธรรมวิจิตรศาสดา พระประธานศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม..

ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม จากอดีตสู่ปัจจุบัน มหาจุฬาอาศรมเกิดขึ้นในสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ ถึงปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ โดยการระดมความคิดเห็นและรวบรวมทรัพย์สินจากแรงศรัทธาของประชาชนผู้มาปฏิบัติธรรม ณ สำนักธรรมวิจัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ชื่อเดิมในเวลานั้น) ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์ซื้อที่ดินจำนวน ๗๙ ไร่ ๒ งาน ๓๑ ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ ๓๐๑ หมู่ ๗ ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นสวนมะพร้าวและลำไยของ นางชวนชื่น ศิระวงษ์จัดซื้อในนามของมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ในราคา ๓๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการโอนเปลี่ยนชื่อโฉนดที่ดินจากมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การจัดซื้อที่ดินแปลงนี้
เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิและมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่าเป็นสถานที่สงบร่มรื่นดี มีภูเขา ป่าไม้ ลำธาร และห่างไกลจากความแออัดและสิ่งรบกวนที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ซึ่งนับว่าเป็นสถานที่เหมาะสม และสัปปายะต่อการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง โดยใช้ชื่อสำนักปฏิบัติว่า “มหาจุฬาอาศรม” และได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม “ตามคำสั่งมหาวิทยาลัย ที่ ๔๙๒/๒๕๕๓” ซึ่งประกอบด้วยหน้าที่ ดังนี้ ประกอบด้วย ๑) ดำเนินการเร่งรัดพัฒนาอาคารและสถานที่ให้เป็นไปตามผังแม่บทพัฒนามหาจุฬาอาศรมให้สำเร็จวัตถุประสงค์ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ๒) จัดทำแผนการใช้งานอาคารสถานที่ให้คุ้มค่ากับการลงทุน (๓) จัดหาทรัพยากรเพื่อพัฒนามหาจุฬาอาศรมให้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมที่มีประสิทธิภาพตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและตามประกาศมหาวิทยาลัย” จะเห็นได้ว่า การก่อตั้งมหาจุฬาอาศรม ถึงแม้จะเป็นไปตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแต่เมื่อพิจารณา โดยเนื้อหาหลักของการก่อตั้งแล้ว ถือว่าเป็นไปเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรและผู้ที่สนใจทั่วไป

การบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรม มหาจุฬาอาศรม เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงต้องบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม ให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง ภารกิจ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของส่วนงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๗ ประกอบด้วย “ปฏิบัติงานจัดกิจกรรม ส่งเสริม สนับสนุน บริการฝึกอบรมเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม วิปัสสนากรรมฐาน หรืออื่น ๆ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย” ในปัจจุบันมหาจุฬาอาศรมมีชีวิตมีผู้บริหารมหาจุฬา รวมถึงญาติธรรมกัลยาณมิตรเข้าไปให้การอุปถัมภ์ สนับสนุน ส่งเสริมในด้านกายภาพถือว่ามีความพร้อมอย่างยิ่งเพื่อเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในด้านพฤติภาพ ด้านจิตภาพ และด้านปัญญาภาพสำหรับพระสงฆ์และเด็กเยาวชนรวมถึงบุคคลทั่วไป ยิ่งในภาวะปัจจุบันมีการส่งเสริมพุทธเกษตรรักษาธรรมชาติและส่งแวดล้อม มุ่งสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและสร้างความมั่นคงทางด้านจิตใจเป็นปรับเพื่อให้สามารถอยู่รอดในภาวะปัจจุบัน ยังมีฝายเพื่อชีวิตซึ่งสอดรับกับการพัฒนาร่วมกับชุมชนอย่างสันติสุข ปัจจุบันมีพระครูปลัดอุทัย พลเทโว ดร. ฐานานุกรรมในพระเดชพระคุณพระเทพวัชรบัณฑิต,ศ.ดร.(ปัจจุบันเป็น พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.โร.) รองผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ มจร เป็นผู้บริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม

Leave a Reply