มหาดไทยเปิด 5 จังหวัดนำร่อง “ต้นแบบเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง” ทบงบกว่า 14 ล้านบาท สร้างคนสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน วันที่ 10 ก.ย. 65 ที่กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ พร้อมทั้งพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 14,080,140 บาท สำหรับดำเนินการ 49 โครงการ (ในระยะเริ่มต้น) มีวัตถุประสงค์ครอบคลุมมิติการพัฒนาพื้นที่ ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยได้กำหนดให้ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด ได้แก่ 1.เชียงราย 2.สุโขทัย 3.อุบลราชธานี 4.นครนายก และ 5.จันทบุรี คาดว่ามีประชาชนผู้ได้รับประโยชน์อย่างน้อย 83,899 คน ถือเป็นการ Change for Good ที่เป็นรูปธรรม นำไปสู่การพัฒนาคนและพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ได้แต่งตั้งคณะทำงาน Change for Good กระทรวงมหาดไทย เพื่อทำการขับเคลื่อนโมเดลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sufficiency Economy Development Zones for Sustainable Development Goals (SEDZ for SDGs) ในพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ เชียงราย,สุโขทัย ,อุบลราชธานี ,นครนายก และ จันทบุรี โดยคณะทำงาน Change for Good แต่ละจังหวัดได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เก็บข้อมูลตามสภาพภูมิสังคม พร้อมนำข้อมูลจากระบบ ThaiQM และ TPMAP มาใช้ ประกอบกับบทวิเคราะห์สาเหตุสำคัญของความยากจนในโลกโดยองค์การ Concern Worldwide (Concern Worldwide, 2020) สำหรับ ประเด็นที่ได้วิเคราะห์ และสรุปสาเหตุความยากจนมี 9 ประเด็น ได้แก่ 1.การขาดแคลนน้ำสะอาดและอาหาร 2.การไม่มีงานทำ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอ 3.สงครามและความขัดแย้ง 4.ความไม่เท่าเทียมกัน 5.ขาดการศึกษา 6.Climate Change 7.การขาดโครงสร้างพื้นฐาน 8.ความสามารถที่จำกัดของรัฐบาล และ9.ขาดเงินทุนสำรอง โดยคณะทำงาน Change for Good กระทรวงมหาดไทย ได้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์จริงจากการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้แล้วประสบผลสำเร็จ ทำให้คณะทำงานฯ มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา ซึ่งจะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนที่แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิสังคม นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานไว้ไปประยุกต์ใช้และขยายผลในแต่ละพื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนับเป็นโชคดีของพสนิกรชาวไทยที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการในพระราชดำริทั้งปวง ทั้งยังทรงดำริว่า “สิ่งใดที่ยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ต้องดำเนินการและขับเคลื่อนต่อไป” ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า แผนการพัฒนาพื้นที่และอาชีพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนในพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่องนั้น มีเป้าหมายหลัก 3 ด้าน คือ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มต้น ช่วง 1 – 3 ปี (ระยะเร่งด่วน) จะพุ่งเป้าไปที่ การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร การพัฒนาศักยภาพคุณภาพชีวิตในระดับครัวเรือนของพี่น้องประชาชน และกลุ่มเปราะบาง เพื่อการสร้างงานสร้างรายได้ ด้วยผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการทำธุรกิจบนพื้นฐาน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG Model) ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ป่า อากาศ และทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล นอกจากนั้น ในระยะกลาง ช่วง 4 – 6 ปี จะเน้นที่การสร้างความเข้มแข็งของการรวมกลุ่มทางสังคม และพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีวิถีชีวิตและวิถีธรรมที่เข้มแข็ง สร้างการรวมกลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจ พัฒนาแกนนำกลุ่มอาชีพ รวมทั้งขยายผลการพัฒนา ฟื้นฟู และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และในระยะยาว ช่วง 7 – 9 ปี จะมุ่งเน้นที่การสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ อาทิ การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิต วิถีธรรมที่เป็นรูปธรรม ศูนย์จิตอาสาต้นแบบ การสร้างมาตรฐานสินค้าและบริการ การยกระดับกลุ่มทุนชุมชน การสร้างเครือข่าย การส่งเสริมการตลาดและเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ รวมถึงการสร้างป่าชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน และการกำหนดเขตพื้นที่ป้องกันการรุกป่า นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่อว่า การดำเนินการในระยะเริ่มต้น หรือระยะเร่งด่วน ในพื้นที่จังหวัดนำร่อง 5 จังหวัด จำนวน 49 โครงการ สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การพัฒนาศูนย์เรียนรู้และเครือข่าย สู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 10 โครงการ กลุ่มที่ 2 การส่งเสริมทักษะและศักยภาพประชาชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้ จำนวน 11 โครงการ และกลุ่มที่ 3 การส่งเสริมความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ประชาชนในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ จำนวน 28 โครงการ ซึ่งกลไกในการขับเคลื่อนจะใช้กลไกในระดับภูมิภาคของกระทรวงมหาดไทย มีทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องที่ และผู้นำท้องถิ่น พร้อมกับสานพลัง 3 ระดับ 5 กลไก และ 7 ภาคี หรือ กลไก 3 5 7 ร่วมกับการนำหลัก “บวร บรม ครบ” มาช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในระดับบุคคล ทำให้เกิดการพัฒนากระบวนทัศน์ มุมมอง จนเกิดเป็นวิถีชีวิตความพอเพียง นำไปสู่การขยายผลในระดับที่ใหญ่ขึ้นต่อ ๆ ไป อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวทำให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายชุมชนและขยายผลกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบเสมือนขณะนี้ กระทรวงมหาดไทยกำลังสร้างป่าจากการปลูกกล้าไม้ กล้าไม้เปรียบเสมือนคนแต่ละคน หากเราทำให้กล้าไม้แต่ละกล้าสามารถเติบโตด้วยตนเองได้ เราก็จะได้รับผืนป่าที่มีความแข็งแรง เพียงแต่เราต้องสร้างปัจจัยที่ช่วยให้กล้าไม้เจริญเติบโตได้ ผืนป่านั้นจึงจะอุดมสมบูรณ์ อันหมายถึง จะต้องสร้างคนและพัฒนาพื้นที่ เพื่อนำไปสู่สังคมที่มีความแข็งแรงและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นต้นแบบในการฝ่าวิกฤตปัญหาต่าง ๆ ของโลกใบเดียวของเรา (The Only One Planet) นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 17 เป้าหมาย ขององค์การสหประชาชาติ (UNESCO หรือ UN) อีกด้วย “กระทรวงมหาดไทย มีบทบาทสำคัญในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชนตามแนวทางของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ เนื่องในโอกาสที่กระทรวงมหาดไทย ครบรอบ 130 ปี และกำลังจะก้าวสู่ปีที่ 131 ปีในปีหน้า กระทรวงมหาดไทยมีความมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง หรือ SEDZ ให้เป็นรูปธรรม เชื่อมโยงสอดคล้องกับวาระแห่งชาติเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อนำมาเป็นกรอบและทิศทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย เกิดการรวมกลุ่มและพัฒนาไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาประเทศไทย อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การ Change for Good อย่างแท้จริง” ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวท้าย จำนวนผู้ชม : 430 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author สมเด็จพระวันรัตชี้บาลีจำเป็นต่อชีวิตพระ-เณร อุทัย มณี มิ.ย. 20, 2019 สมเด็จพระวันรัตชี้บาลีจำเป็นต่อชีวิตพระ-เณร ผอ.หลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ… เช็คชื่อ “เจ้าคณะภาคคณะธรรมยุต” ครบทุกภาค อุทัย มณี พ.ค. 12, 2021 วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 หลังจากเว็บไซต์ข่าวศาสนาออนไลน์”… ตั้ง”เจ้าคุณประสาร “คุมวัดพระธาตุดอยสุเทพUSA อุทัย มณี ม.ค. 21, 2020 เช้าวันนี้ (21 ม.ค.63 ) ณ วัดศรีโสดา พระอารามหลวง… พศ.ประชุม Focus Group ทำร่างตัวชี้วัดงบฯปี2563 อุทัย มณี ส.ค. 30, 2019 วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2562 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อนุมัติให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร… สาธุ!พระอาจารย์ชยสาโรเดินธุดงค์ตามรอยบาทพระศาสดา อุทัย มณี ม.ค. 10, 2019 #พระอาจารย์ชยสาโร เดินธุดงค์ตามรอยบาทพระศาสดา มอบอาคารปฏิบัติธรรม… ‘อุทิส ศิริวรรณ’นักวิชาการด้านพุทธศาสนา แนะใช้ ‘AI-IoT’ต่อยอดบาลีพุทธศาสตร์ศึกษาระดับป.เอก อุทัย มณี ก.ย. 18, 2019 วันที่ 18 ก.ย.2562 รศ.ดร.เวทย์ บรรณกรกุล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)… รายงานพิเศษ:ไทม์ไลน์ พ.ร.บ.“การศึกษาพระปริยัติธรรม” กว่าจะถึงวันที่ ครม.อนุมัติงบกลางให้ “346” ล้านบาท อุทัย มณี ก.ย. 28, 2023 ในขณะที่บุคลากรเจ้าหน้าที่การศึกษาพระปริยัติธรรม หรือมีชื่อย่อว่า… สามเณรไทย สวดพระปาฏิโมกข์ท่ามกลางสามเณรนานาชาติ ๑๐๘ รูป อุทัย มณี ธ.ค. 25, 2023 วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ พระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา… โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชปริยัติกวีเป็น “พระเทพวชิรบัณฑิต” อุทัย มณี ม.ค. 27, 2021 วันที่ 27 มกราคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ… Related Articles From the same category ในหลวงโปรดเกล้าสมณศักดิ์ฯ พระภิกษุจำนวน 97 รูป “พระมหาหรรษา” นักวิชาการชื่อดังเลื่อนชั้นเป็น “เจ้าคุณ” วันที่ 29 มิ.ย. 66 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ… โปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะจำนวน 3 รูป มีคำประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 22 กรกฏาคม… จบดอกเตอร์แล้ว! รมช.ศธ.”กนกวรรณ” จากม.สงฆ์ “มจร” เตรียมเข้ารับประทานปริญญาจากสมเด็จพระสังฆราช พร้อมรองนายกฯลาว ปลัดมท.รับปริญญากิตติมศักดิ์ วันที่ 10 ธันวาคม 2565 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… พระเข้าอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ร่วมปลูกต้นไม้ที่เขาค้อตามศาสตร์พระราชา หวังคนไทยพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.09 น. พระโสภณวชิราภรณ์,ดร. อัคคมหาบัณฑิต… “หมอปลา” พ่นพิษ “เวิร์คพอยน์” พักงาน “นักข่าวหญิง” แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกรณี “หลวงปู่แสง” วันที่ 13 พ.ค.65 เพจ ข่าวสารงานพระพุทธศาสนา ได้ลงเอกสารจากสถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยน์…
Leave a Reply