วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.นิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย อภิปรายญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 152 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมาโดยกล่าวว่า ตนขอตั้งคำถามต่อ พล.อ.ประบุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าตั้งแต่ที่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศและได้ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พส.) ได้สร้างความชอบช้ำและรอยแผลให้กับพุทธศาสนิกชนและวงการพระภิกษุสงฆ์อย่างทั่วถึง แต่ถึงแม้ พล.อ.ประยุทธ์จะบอกตลอดว่านับถือศาสนาพุทธแต่ในตลอด 8 ปีกว่าในฐานะนายกรัฐมนตรีตนอย่างจะตั้งคำถามไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ว่าท่านได้กระทำการอันเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาหรือไม่ ภัยของพระพุทธศาสนาก็มีมาตั้งแต่ครั้งอดีตโบราณกาลประกอบด้วย ภัยภายนอกและภัยภายใน
(คลิปประกอบ https://youtube.com/shorts/fgRlHTIBJOU?feature=share)
ส.ส.ดร.นิยม กล่าวต่อไปว่าภัยศาสนาที่วำคัญคือภัยจากภาครัฐและผู้ปกครองบ้านเมือง ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้นผู้ปกครองต้องมีทศพิธราชธรรม อันประกอบไปด้วย ทาน ศีล บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน ความเที่ยงธรรม รวมถึงคุณธรรมและหลักธรรมาธิปไตยยึกถือประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ หากผู้ปกครองขาดหลักทศพิธราชธรรม มีความกักขฬะ ก้าวร้าว อยุติธรรม แสวงหาผลประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา ทำให้บ้านเมืองลุกเป็นไฟ พระภิกษุสงฆ์เดือนร้อนทุกหย่อมหญ้า
“อยากจะถามนายกรัฐมนตรีว่าการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาหรือไม่ นอกจากนั้นยังรวมถึงการได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมของชาวพุทธในพื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นวัดหรือพระสงฆ์โดยการข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย โดยเฉพาะการฆ่าพระภิกษุสงฆ์นั้นก็คือ พระครูประโยชน์รัตนานุรักษ์ (สว่าง จนฺทวํโส) เจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ อำเภอสุไงปาดี จังหวัดนราธิวาส อย่างโหดเหี่ยมในวัด ซึ่งเป็นพระธรรมทูตอาสาสมัครใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ส.ส.ดร.นิยม กล่าวและ
ตนเองมีเหตุผล 4 ประการที่ต้องถามว่า พล.อ.ประยุมธ์ อยู่ในกระบวนการของการทำลายพระพุทธศาสนาหรือไม่
ประการที่ 1 นายกรัฐมนตรีไม่มีพุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน ไม่มีความจริงใจ ไม่ใส่ใจในงานพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ ที่นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมโดยเฉพาะปัญหาชาวพุทธใน 3 จังหวัดชายภายใต้ มีปัญหาจนพระสงฆ์สึก ถูกฆ่า ถูกทำร้าย เกิดวัดร้างไม่พระอยู่อาศัย
ประเด็นที่ 2 มีข้อสงสัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่เคารพในหลักนิตอรัฐ นิติธรรม ไร้คุณธรรมจริยธรรม ทำให้การบริหารราชแผ่นดิน ล้มเหลว ผิดพลาด บกพร่อง เสียหายอย่างร้ายแรง มีพฤติกรรมปล่อยปละละเลยอย่างเช่นที่ดินสาธารณะสมบัติย่านประตูน้ำ
ประเด็นที่ 3 การใช้ดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการศึกษาของพระสงฆ์นั้นมี พ.ร.บ. ปริยัติธรรม พ.ศ. 2562 กำหนดไว้แต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ เช่น ค่าตอบแทนของผู้สอน
ประเด็นที่ 4 นายกรัฐมนตรีมีพฤติกรรม เจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาต่อคณะสงฆ์หรืออย่างเช่น ตั้งอดีตผอ.สำนักพุทธฯมาดำรงตำแหน่ง “ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีด้านพระพุทธศาสนา” ดำเนินคดีต่อพระสงฆ์ เช่น คดีเงินทอนวัด เมื่อถึงชั้นศาลกลับยกฟ้องหมดทุกคดี แต่นายกรัฐมนตรีกลับไม่ขอขมาในสิ่งที่ตนได้กระทำ เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นตนขอถามว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้
และ ส.ส.ดร.นิยม ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า พล.อ.ประยุทธ์ เคยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระสงฆ์บ้างหรือไม่หรือไม่ในตลอด 8 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะภาพที่ไปกอดไหลกอดคอพระมันเหมาะสมหรือไม่ และขอตั้งคำถามไปยังนายกรัฐมนตรีอีกครั้งว่าท่านเป็นชาวพุทธหรือไม่หรือท่านเป็นคนศาสนาใด ตนขอให้ชาวพุทธและคนไทยทั้งประเทศได้พิจารณาพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีที่ได้เหยียบย่ำและย่ำยีศักดิ์ศรีของชาวพุทธตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ตนอยากจะให้พี่น้องประชาชนใช้บัตรเลือกตั้งเอา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับบ้านไปเลี้ยงหลาน และตนขอฝากธรรมของพระพุทธเจ้าที่ว่า ฐาตุ จีรัง สะตัง ธัมโม ขอให้พระสัทธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจงสถิตย์มั่นชั่วนิรันดร์เทอญ
พร้อมกันนี้เมื่อวันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ดร.นิยม ยังได้อภิปราย มาตรา 15 แห่งร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ …. พ.ศ. …. ว่ากฎหมายร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นกฎหมายใหญ่ เป็นกฎหมายสำคัญของประเทศตนไม่เห็นที่จะให้ตัดมาตรา 15 ออกเพราะมันเกี่ยวเนื่องกับมาตรา 8 อนุมาตรา 1-6 เพราะเนื่องจากว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นหัวใจของการศึกษาซึ่งดูแลมันสมองลูกหลายของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ อีกกฎหมายการศึกษาฉบับเดิมก็ถูกยกเลิกไปแล้ว แม้ว่าจะมีร่างฉบับใหม่เข้ามาแต่ตนก็ไม่เห็นด้วยตั้งแต่เริ่มแรกเริ่มตั้งแต่มาตรา 3 เป็นต้นมาที่นำเอาคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ในมาตรา 15 ทางคณะกรรมาธิการตัดคำที่ว่า “ต้องไม่มุ่งแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน เว้นแต่จะมีให้เป็นไปตามกฎหมายให้กระทำได้ว่าด้วยการนั้น” ส.ส.ดร.นิยม กล่าวว่าเมื่อตัดคำว่า “ไม่มุ่ง” ออก แสดงว่าต่อก็สามารถที่ “มุ่ง” ได้ซึ่งตนเห็นว่าการศึกษาเป็นการลงทุนให้เด็กและเยาวชน ไม่ควรที่จะมาลงทุนเพื่อเอากำไร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน เพราะกำไรของการศึกษาคือเด็กและเยาวชนกลายมาเป็นมันสมองของชาติ ที่ตนคิดเช่นนี้เพราะเมื่อก่อนตนนั้นไม่โอกาสที่จะศึกษาในสถานบันการศึกษาใหญ่ๆที่กฎหมายฉบับนี้กล่าวถึง เพราะว่าตนเรียนการศึกษานอกโรงเรียนทั้งหมด
และตนขอตั้งคำถามไปยังคณะกรรมาธิการว่า ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มิได้กล่าวถึงพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นการศึกษาของสามเณรและพระภิกษุสงฆ์จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร และทางคณะกรรมาธิการจะเพิ่ม พ.ร.บ.ปริยัติธรรม พ.ศ. 2562 ใน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่กำลังพิจารณานี้ด้วยหรือไม่ และตนก็มองว่าไม่ควรเร่งรีบทำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯฉบับนี้เพราะอยากที่จะให้มันสมบูรณ์ที่สุด
Leave a Reply