“เจ้าคุณต่อศักดิ์” สุดยอดพระนักพัฒนา ผู้จุดประกาย “สำนึกรักษ์บ้านเกิด” “เจ้าคุณต่อศักดิ์” หรือ พระราชมหาเจติยาภิบาล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ประธานสมาคมวัดอรุณสหราชอาณาจักร เมืองนอริช และรักษาการเจ้าอาวาสวัดโบสถ์หลวงปู่เทียน จ.ปทุมธานี ท่านส่งภาพ “โคก หนอง นา” มาให้ชมหลายรอบ ในฐานะ “ผู้เขียน” เป็นคนหนึ่งที่สนใจและติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงที่ “ปลัดเก่ง” คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นั่งเป็นอธิบดี กรมการพัฒนาชุมชน ได้ปูพรม โคก หนอง นา ทั่วประเทศมากกว่า 20,000 แปลง ซ้ำมีภาพปรากฏว่าใน “รั้วในวัง” มีการทำ โครงการโคก หนอง นา ด้วย วงการสงฆ์..ตื่นตัวมากมายทั้งจากปรากฎการณ์ภาพปรากฎดังที่กล่าวว่า บทบาทของ “ปลัดเก่ง” ไม่มีใคร “กล้าปฎิเสธ” ว่า คุณคือ “พระเอก” ตัวจริง ที่ทำให้โคก หนอง นา “จุดกระแสติด” กลายเป็นทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลต้องมี ประจวบเหมาะกับ มีงบประมาณมาอุดหนุนในการขุดสระน้ำ และเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 บางพื้นที่ขาดแคลนอาหาร คนตกงานต้องกลับบ้านเกิดเมืองนอนจำเป็นต้องทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ ซ้ำ “การปลูกผักผสมผสาน” แบบนี้หลายหมู่บ้านทำอยู่แล้ว “เจ้าคุณต่อศักดิ์” น่าจะเป็นพระภิกษุรูปแรก ๆ ที่นำรูปแบบ “โคก หนอง นา” ไปเผยแพร่แนวคิดและทำที่วัดที่ท่านดูแลที่ “ประเทศอังกฤษ” ทำเสร็จแล้วนำผักนั้นไปดูแลแจกจ่ายให้กับ..ประชาชนคนไทยในประเทศอังกฤษ มีการตั้ง “ตู้แบ่งปัน” ประเภทใครมีอะไรเหลือเพื่อเผื่อแผ่ต่อให้ผู้อื่นก็นำมาใส่ตู้นี้ได้ “เจ้าคุณต่อศักดิ์” หลังจากนำแนวคิด “โคก หนอง นา” ไปเผยแพร่ให้กับคนไทยในประเทศอังกฤษแล้ว มีคนไทยหลายครอบครัวนอกจากปลูกผักกินเองในครอบครัว บางคนมีที่ดิน มีญาติอยู่ในประเทศไทย ชวนสามีหรือภรรยาคนอังกฤษกลับมาทำแปลง “โคก หนอง นา” ที่บ้านเกิดเมืองนอนในประเทศไทยด้วย “ผู้เขียน” เคยลงไปดูแปลงโคก หนอง นา ตามคำแนะนำของ เจ้าคุณต่อศักดิ์ ที่จังหวัดชัยภูมิบ้านเกิดของท่าน มีชื่อเต็ม ๆ ว่า “โครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งศรัทธาประเทศอังกฤษ” ณ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป็นแปลงโคก หนอง นา ของหญิงไทยที่แต่งงานกันคนอังกฤษ ทำไว้เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนและในขณะเดียวกันให้คนในชุมชนมีผักปลอดสารพิษได้รับประทาน ที่เหลือก็ให้ “ญาติ” นำไปจำหน่ายตลาดใกล้เคียง “เจ้าคุณต่อศักดิ์” เล่าว่า หลังจากนำรูปแบบโคก หนอง นา ไปทำที่ประเทศอังกฤษ โยมเขาสนใจก็กลับมาทำที่บ้าน ใช้ทุนของเขาทั้งหมด แต่ขอให้เจ้าคุณต่อศักดิ์ ออกแบบและช่วยดูแล “ในตอนแรกนั้นก็ศึกษาจากแนวคิดโคกหนองนาพระราชทาน ประกอบกับภูมิปัญญาเดิมที่ท่านด้วยเรียนรู้จากการเป็นลูกชาวนา รวมทั้งการพูดคุยและเปลี่ยนกับปราชญ์ชาวบ้าน ท่านจึงให้แนวคิด และร่วมลงมือทำไปด้วยสมอง และสองมือ โดยไม่รู้ว่าจะถูกหรือผิด จะสำเร็จหรือล้มเหลว แต่สิ่งที่มั่นใจได้แน่ชัดก็คือท่านมีหัวใจ และความศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยมที่มุ่งมั่นจะทำโครงการโคกหนองนา..” “ปณิธาน มหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง” ขอยืมศัพท์ ของ “อดีตเจ้าคุณเทอด” ในหนังสือ “ทศชาติ” วัดสระเกศ ฯ มาใช้ เพื่อสื่อความไปถึงความตั้งใจของ “เจ้าคุณต่อศักดิ์” พระราชมหาเจติยาภิบาล ว่า แนวคิดการทำ โคก หนอง นา ของท่าน ปัจจุบันแม้จะมองดูว่า “แผ่ว” แต่ความมุ่งมั่นของท่านยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงหรือมาสั่นคลอนความ “ตั้งใจ” ของท่านได้ หลังจากชวนผู้ว่าชัยภูมิไปดู โครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งศรัทธาประเทศอังกฤษ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่ตั้งอยู่ใกล้ “พระธาตุชัยภูมิ” อนุสรณ์แห่งความดี “สำนึกรักษ์บ้านเกิด” ของเจ้าคุณต่อศักดิ์ ที่ท่านมุ่งมั่นสร้างไว้หมดงบประมาณไปเกือบ 500 ล้าน กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำจังหวัดชัยภูมิไปแล้ว ล่าสุดไม่กี่วันที่ผ่านมา “เจ้าคุณต่อศักดิ์” ชวนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ “นายอนันต์ นาคนิยม” โดยมีรองผู้ว่าฯ พัฒนาการจังหวัด โยธาธิการจังหวัด ผู้นำท้องถิ่น ไป ร่วมกันดูพื้นที่ ปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อออกแบบทำแปลง “โคก หนอง นา” ณ วัดพระธาตุชัยภูมิ เพื่อพัฒนา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และศูนย์เรียนรู้ “โคก หนอง นา” แก่ชุมชน และผู้สนใจทั่วไป “เจ้าคุณต่อศักดิ์” ไม่ใช่พระจบประโยค 9 ไม่ได้เป็น “ดร.” แต่ท่านเป็น “พระนักพัฒนา”อยู่ที่ไหน พัฒนาที่นั่น สมัยจำพรรษาวัดอรุณท่านสร้างพระ “สมเด็จ 9 แผ่นดิน” นำเงินพัฒนาวัด นำเงิน ชวนญาติโยมไปพัฒนาบ้านเกิดของท่านโดยมี “พระธาตุชัยภูมิ” เป็นหลักฐานความตั้งใจของท่าน มาอยู่ “วัดโบสถ์” หลวงปู่เทียน จ.ปทุมธานี จาก “วัดแทบรกร้าง รกรุงรัง แออัด “ ปัจจุบันทำเป็น “วัดท่องเที่ยว” ชูพระพุทธรูปของเก่าที่มีอยู่ คือ “พระพุทธจักรพรรดิ์” อายุกว่า 400 ปี มีคนมากราบไว้กันมากมายจนต้องขยายพื้นที่ลานจอดรถ จากจอดได้ประมาณ 100 คัน ปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวจอดได้มากกว่า 1,000 คันทั้งภายในวัดและนอกวัด ย้ายโรงเรียนขนาดเล็ก สร้างให้ใหม่ สร้างงานสร้างรายได้ให้ชุมชนวัดก็มีรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาท เงินที่ได้มาพัฒนาวัด พัฒนาโรงเรียน พัฒนาชุมชน มีแนวคิดอยากจะชูวัดโบสถ์ให้เป็น “ศูนย์กลางมอญ” จังหวัดปทุมธานีอีก ซ้ำอนาคตจะมีการสร้างองค์ “พระพุทธจักรพรรดิ์” จำลองด้วยงบประมาณสูงถึง 150 ล้านบาท อันนี้คือ “เจ้าคุณต่อศักดิ์” พระภิกษุแบบ “เจ้าคุณต่อศักดิ์” นอกจากเป็น “พระนักพัฒนา สำนักรักษ์บ้านเกิด” แล้ว เป็นพระมี “ความกตัญญูกตเวที” รู้คุณคน ไม่ได้สร้างภาพว่ารัก พระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ตอนที่ท่านยังมีชีวิตและมีอำนาจบารมีอยู่เท่านั้น ถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพระสงฆ์ในสังคมไทย ยึดมั่นใจสถาบันหลักของชาติ เป็นพระที่ไม่หยุดอยู่กับที่ คิด สืบสาน รักษา ต่อยอด อยู่ตลอดเวลา.. จำนวนผู้ชม : 7,444 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “มจร” ต้อนรับผู้แทนวัด “Shenzhen Hongfa Temple” หารือความร่วมมือ พุทธศาสนาในทะเลจีนใต้ อุทัย มณี พ.ย. 07, 2023 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 พระราชวัชรสารบัณฑิต รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… ‘พระศักดา สุนฺทโร’บรรยายธรรมที่รพ.ศิริราช แนะเล่นเก้าอี้แบบมีวินัยหันหน้าเข้าหากัน อุทัย มณี ก.ค. 08, 2019 วันที่ 8 ก.ค.2562 พระศักดา สุนฺทโร หรือพระครูสังฆรักษ์ศักดา วัดไร่ป่าธรรมภิมุก… กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงรับเป็นที่ปรึกษาโครงการจัดทำพระไตรปิฏกฉบับภาษาอังกฤษ อุทัย มณี ส.ค. 23, 2022 วันที่ 23 สิงหาคม 65 พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ (พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส)… สาส์นวันวิสาขบูชา อุทัย มณี เม.ย. 29, 2020 เนื่องด้วยวันที่ 6 พฤษภาคม 2563 ที่จะถึงนี้เป็นวันวิสาขบูชา… พฤศจิกายน 10, 2022 อุทัย มณี พ.ย. 10, 2022 ปลัดมหาดไทย เปิดมหกรรมวันที่อยู่อาศัยโลกประเทศไทย ภาคกลางและภาคตะวันตก… เจ้าคณะเขตเทศน์ธรรมกิจกรรม “นุ่งขาวห่มสไบใส่บาตรหลวงพ่อรอด” อุทัย มณี ม.ค. 12, 2022 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ,… “รัฐบาล” บำเพ็ญพระราชกุศลถวาย “สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง” 5 ศาสนา อุทัย มณี ส.ค. 12, 2022 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พร้อมด้วยภริยา… นักวิจัย”มจร”ขอความชัดเจน คำว่า วารสาร” ที่มีคุณภาพกับเป็นที่ยอมรับ” จาก “กพอ.” ต่อเกณฑ์ตำแหน่งวิชาการใหม่ อุทัย มณี ม.ค. 30, 2021 วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ พระมหาเกรียงศักดิ์… เช็ครายชื่อ!! รองเจ้าคณะภาคหนตะวันออก “เด็กเส้น” พรึบ!! อุทัย มณี มิ.ย. 30, 2021 วันที่ 30 มิ.ย.64 ที่พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร มีการประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม… Related Articles From the same category ‘มหาอานิสงส์’ สร้างพระไตรปิฎกที่สุดแห่งบุญใดๆ’ยุคAI’ 'มหาอานิสงส์' สร้างพระไตรปิฎกที่สุดแห่งบุญใดๆ'ยุคAI' กับ....พระมหาณรงค์ศักดิ์… “เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการ Colors of Buriram และการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 18 มีนาคม 2567 เวลา 13.11 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี… วางหมากโค้งสุดท้าย! ผู้สมัครส.ส.แผ่นดินธรรม ผุดแผน’สาริกาป้อนเหยื่อ’ วันที่ 4 มี.ค.2562 ดร.ณวพงศ์ธร นิติภูวนนท์(มหาเหลา) ผู้สมัคร ส.ส.ชัยนาท… “นิสิตสันติศึกษา มจร” ปันมื้อสามัคคีกับ “โจน จันได” สัมผัสโลกทัศน์วิถีชีวิตใหม่ โคกหนองนาอาสาชาวนามหานคร วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2564 พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ,ดร.… กมธ.การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมสภาฯ ถวายโฉนดที่ดินให้แด่วัดเขาบันไดอิฐ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ที่วัดเขาบันไดอิฐ ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี…
Leave a Reply